การบูรณาการความรู้เพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบยั่งยืน

วันที่ 12 มิย. พ.ศ.2557

 

การบูรณาการความรู้เพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบยั่งยืน

 

 

               การบูรณาการความรู้และวิธีการต่างๆ เพื่อการทำหน้าที่แบบยั่งยืน เป็นรูปแบบการทำหน้าที่
กัลยาณมิตรที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ความรู้จากหลายสาขาและเทคนิควิธีการหลายแบบ
มาบูรณาการจนบังเกิดผลเป็นระยะๆ และยังเป็นการวางรากฐานเพื่อให้เกิดผลดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนอกจากจะบังเกิดอย่างยั่งยืนแล้ว ยังสามารถแผ่ขยายไปในวงกว้างได้ ซึ่งตัวอย่างของการบูรณาการการนำความรู้เพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบยั่งยืนนั้น พบว่า โครงการของพระราชภาวนาวิสุทธิ์เพื่อการรณรงค์และกิจกรรมเพื่อการไม่สูบบุหรี่ เป็นโครงการหนึ่งที่มีความชัดเจนในการบูรณาการความรู้ต่างๆเช่น การอบรมศีลธรรม สอนการทำสมาธิ จิตวิทยาสาธารณสุข และเทคโนโลยีการ สื่อสาร เช่น การศึกษาศีลธรรมทางไกลผ่านดาวเทียม ตลอดจนการใช้ สื่ออุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ มาใช้ จนปรากฏผลดีดังพบว่า โครงการนี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก (World Health Organization- WHO) ได้ถวายรางวัลแด่พระราชภาวนาวิสุทธิ์มาแล้วในปี พ.ศ.2547

 

            พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมและรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 34 ปี นับตั้งแต่เริ่มสร้างวัดพระธรรมกาย โดยแทรกสาระเกี่ยวกับโทษของบุหรี่ และจัดกิจกรรมตลอดจนการสร้างเครือข่าย เผยแพร่อย่างกว้างขวางโดยมีกระบวนการดำเนินการ ซึ่งมีผลต่อการไม่สูบบุหรี่สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้


             1. ขั้นการรับรู้ (Awareness)


             2. ขั้นการหล่อหลอมทัศนคติ (Attitude)


             3. ขั้นการยอมรับไปปฏิบัติจริง (Practice)


             4. ขั้นการติดตามและประเมินผล (Evaluation)

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0028630336125692 Mins