กรณีศึกษาที่ 1 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงปฏิบัติการของแพทย์หญิงท่านหนึ่ง

วันที่ 12 มิย. พ.ศ.2557

 

กรณีศึกษาที่ 1 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเชิงปฏิบัติการของแพทย์หญิงท่านหนึ่ง


             เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นเรื่องประวัติการทำหน้าที่กัลยาณมิตรของแพทย์หญิงท่านหนึ่ง ซึ่งท่านได้
เข้าปฏิบัติธรรม ณ วัดพระธรรมกาย ได้ฟังธรรมและปฏิบัติธรรม โดยพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธมฺมชโย)และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกายเป็นครูอาจารย์ แต่ในที่นี้ของสงวนนามท่านไว้ เพราะวัตถุประสงค์ของเรื่องราวที่จะนำเสนอต่อไปนี้นั้น มุ่งจะแสดงให้เห็นวิธีการทำหน้าที่กัลยาณมิตรของท่านเป็นประเด็นสำคัญ อนึ่ง เรื่องราวต่อไปนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาที่อาจจะกล่าวถึงบุคคลและ ส
ถานที่ที่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย ทั้งนี้ ผู้ศึกษาจะต้องทำความเข้าใจและควรที่จะแยกแยะบุคคล ตลอดจน ถานที่ จนสามารถนำไปประยุกต์ในการปฏิบัติได้ทั้งในวัดหรือ สถาบันอื่นๆ เช่น วัดในท้องถิ่น หรือโรงเรียนที่ตนจะไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้

 

               ก. ความเป็นมาก่อนมาทำหน้าที่กัลยาณมิตร


              คุณหมอเข้าวัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 โดยมีกัลยาณมิตร ในการมาวัดครั้งแรกนั้นได้ไปกราบ
พระเดชพระคุณหลวงพ่อและคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง คุณหมอชอบในความ
ะอาดของวัด และประทับใจในศีลาจารวัตรและอัธยาศัยคุณยาย แต่หลังจากนั้นก็ขาดช่วงไปไม่ได้มาวัดจนกระทั่ง พ.ศ. 2534 จึงได้มาวัดอีกครั้ง และมาวัดจนกระทั่งปัจจุบัน


              ข. แรงบันดาลใจในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร


           หลังจากที่ได้ฟังธรรมจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้สัมผัlพระอาจารย์ ตลอดจนการมารู้จักกับน้องๆ ที่ดูแล ทำให้เข้าใจธรรมะและรู้ว่า เราไม่ใช่เกิดมาเพื่อทำมาหากินอย่างเดียว แต่เราเกิดมา   สร้างบารมี ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อบอกว่า ในการสร้างบารมีนั้นต้องทำเป็นหมู่คณะ เราจะดีคนเดียวไม่ได้เพราะถ้าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราไม่ดี เราจะไม่สามารถมีชีวิตที่ปกติสุขในสังคมได้ ยิ่งมีอาชีพเป็นหมอจึงเห็นคนไข้ เห็นความทุกข์ของคนไข้ จึงอยากจะใช้หน้าที่การงานให้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน


              ค. วิธีการในการทำหน้าที่


       ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น แพทย์หญิงท่านนี้ได้กล่าวว่า ต้องเริ่มต้นที่ตัวเราต้องมีความจริงใจมีความปรารถนาดีต่อเขาก่อน แล้วสังเกตแต่ละคนว่าเขาพร้อมที่จะฟังสิ่งที่เราจะพูดไหม ช่วงเวลาไหนที่ควรพูดเรื่องธรรมะ หรือพิจารณาว่าควรจะเล่าแต่เพียงธรรมะ หรือว่าชวนสร้างบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป แต่ถึงแม้จะมีความบริสุทธิ์ใจก็ตามจะต้องใจเย็น ทำหน้าที่กัลยาณมิตรอย่าง ม่ำเสมอ หมั่นโทรศัพท์ไปให้คำแนะนำและข้อคิด เพื่อให้เกิดความมั่นใจและกำลังใจในการดำเนินชีวิต โดยในการทำหน้าที่นั้นเราจะต้องเริ่มต้นที่ใจว่า ต้องมีความเมตตากับทุกคน แล้วเราจะมีใจที่จะไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร

             ง. การวางตัวขณะทำหน้าที่

 

             แพทย์หญิงท่านนี้ได้เล่าถึงการวางตัวในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรว่า ต้องสังเกตสิ่งรอบตัว และกระแสตอบรับว่ามีความพร้อมแค่ไหน ต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ปฏิบัติตัวเราให้น่าเชื่อถือ จนเป็นที่ยอมรับหมั่นตรวจ อบตนเองว่าเราเป็นแบบอย่างของเขาได้ไหม เพราะเขาจะดูว่าเราเข้าวัดแล้วนิสัยเป็นอย่างไรน่าคบไหม ดังนั้นเราต้องพยายามปรับปรุงตัวให้ดีที่สุด แม้จะมีผู้ที่มีอคติต่อเรา เราก็ไม่โกรธ ต้องให้อภัยแล้วเขาจะเข้าใจขึ้น จนกระทั่งเขายอมรับและยอมปฏิบัติตามความปรารถนาดีที่เราแนะนำ


            จ. สู่การสร้างบารมีเป็นหมู่คณะ

         
           กลุ่มเริ่มต้นจากประมาณ 6 คน แล้วค่อยๆ โตขึ้น ปัจจุบันมี มาชิก 100 กว่าคน ซึ่งมีทั้ง มาชิกเก่าและที่เข้ามาใหม่ แต่ละคนมีอัธยาศัยคล้ายๆ กัน เป็นกลุ่มที่เข้ามาหากันด้วยความผูกพันทางใจ ความรักบุญปรารถนาดีต่อกัน

 

            "เหมือนเรามีความรู้สึก เราจะมารวมเป็นหมู่คณะ ชอบอะไรที่เหมือนๆ
กัน ความคิดคล้ายๆ กัน คือ ไม่มีความคิดที่จะแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันว่า จะต้อง
อยากได้หน้า อยากได้ความดี อยากได้ความรัก คือ เราทำความดีเพราะว่าเรา
อยากได้บุญ"


      

           โดยการรวมกลุ่มเริ่มจากหมอ จากหมอมีหมู่คณะที่เข้มแข็ง รักบุญเป็นคนเข้าใจบุญ มีความ
กระตือรือร้นที่จะขยายกลุ่ม ทุกคนจึงช่วยกัน ต่างคนต่างขยายรอบตัว ทำให้วงกว้างออกไป


           ฉ. ข้ออ้างแนะนำในการทำงานเป็นหมู่ 

 

       คณะทุกคนต้องมีความจริงใจต่อกัน ไม่มีผลประโยชน์ เราจะได้บุญไปพร้อมๆ กัน เมื่อมีปัญหาหรือมีความข้องใจ รู้สึกไม่สบายใจขึ้นในกลุ่ม ต้องคุยกันบ่อยๆ โดยโทรศัพท์คุยกัน มาพบกัน นัดทำงานร่วมกันและปฏิบัติธรรมบ่อยๆ ซึ่งจากการสังเกต เมื่อปฏิบัติธรรมร่วมกัน ช่วงนั้นใจจะผ่องใสมีความสุข ทุกคนอยากทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้ยิ่งขึ้น เข้าใจเรื่องบุญมากขึ้น ดังนั้นต้องปฏิบัติธรรมรวมกันระยะยาวประมาณครั้งละ 10 วัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

 

           ช. กำลังใจในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร


      กำลังใจเกิดจากคำแนะนำของพระอาจารย์ ที่ท่านบอกว่า เวลาทำหน้าที่ กัลยาณมิตร ให้ทำอย่าง
เด็กขายพวงมาลัยที่ตั้งใจจะขายพวงมาลัย พอไฟแดงขึ้นเรามีหน้าที่ขาย ขายได้ไม่ได้ไม่ใช่หน้าที่ ไฟแดงขึ้นใหม่ออกไปขายใหม่ เช่นกันเราก็ต้องมีความปรารถนาดีที่จะเผยแผ่ธรรมให้เขา ชวนเขาทำความดีเขาก็ได้บุญ แม้จะรับได้แค่ไหน เราต้องทำใจเฉยๆ แล้วเราจะมีความสุข ได้บุญแล้ว เขาทำหรือไม่ทำ ทุกครั้งที่เราชวนก็ได้บุญแล้ว เราจะไม่หงุดหงิด ไม่ผิดหวัง เราจะมีกำลังใจจะไม่ท้อแท้ท้อถอย

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014825344085693 Mins