ข้อแนะนำในการใช้ทักษะแบบบูรณาการเพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

วันที่ 10 กย. พ.ศ.2557

  ข้อแนะนำในการใช้ทักษะแบบบูรณาการเพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

ข้อแนะนำในการใช้ทักษะแบบบูรณาการเพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร
 

ความหมายของทักษะ

       ทักษะ คือ ความชำนาญของการทำหน้าที่นั้นๆ จนมีประสบการณ์เกิดขึ้นในหน้าที่งานนั้น ผู้ที่มีทักษะอาจมาจากการเรียนรู้ความผิดพลาดก็ได้ แล้วได้เรียนรู้พัฒนาจนมีทักษะในที่สุด มีขั้นตอนการเกิดทักษะ ดังต่อไปนี้

1.การศึกษาเรียนรู้

2.มีความสามารถ

3.ฝึกฝนปรับปรุงพัฒนา

4.เกิดทักษะในหน้าที่ 


บูรณาการที่ดี

1.ทำงานเป็นทีม

2.มีภาวะเป็นผู้นำ

3.มีวิสัยทัศน์

4.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

5.มีวิธีการที่ชัดเจน

6.มีการจัดระเบียบของงาน

7.มีความรับผิดชอบในงาน

8.เป็นแบบอย่างน่าเชื่อถือ
 

    การประยุกต์วิธีการเชิงบูรณาการ เพื่อการทำหน้าที่กัลยามิตรจะมีความสมบูรณ์ ต้องมีการประสานรวมหลายๆ ส่วนย่อย มารวมเป็นองค์ประกอบเดียวกัน ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันเป็นระบบ อย่างมีเหตุมีผล ส่วนย่อยที่มีศักยภาพในตัว มีประสบการณ์ความรู้ทักษะในส่วนย่อยนั้น เมื่อมารวมกันเป็นส่วนประกอบเดียวกัน ก็จะเป็นบูรณาการที่สมบูรณ์ ฉะนั้นจะจำแนกได้พอสังเขป ดังนี้

       1.การจัดระบบความคิด การไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ทบทวนข้อมูลแต่ละอย่าง อย่างละเอียดถี่ถ้วนมีระเบียบของความคิด มีความเข้าใจในข้อมูลอย่างชัดเจน ลำดับความสำคัญก่อนหลังได้ สามารถเชื่อมและประมวลผลข้อมูลให้เป็นระเบียบเป็นระบบอย่างเป็นเหตุเป็นผล

     2.การจัดเก็บข้อมูล จัดเป็นหมวดหมู่เป็นประเภท  ให้เข้าใจง่าย และใช้งานได้ง่าย เชื่อมโยงข้อมูลได้ ค้นหาสะดวก สามารถรู้แหล่งข้อมูล รู้ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรและเพื่อประโยชน์อะไร

    3.การสังเกต รับรู้เห็นถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งใกล้ตัวและไกลตัว สิ่งที่เล็กจนถึงสิ่งที่ใหญ่   รับรู้ถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้น ส่วนประกอบของสิ่งนั้น แต่ละส่วนเป็นอย่างไร เห็นถึงความเหมือนและแตกต่างกัน ทราบถึงจุดเด่นจุดด้อย

        4.นำเสนอ การนำเสนอด้วยวิธีต่าง ๆ ตั้งแต่การสนทนา เอกสารสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย สื่อโสตทัศน์ ตลอดจนนำเสนอ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องเรียนรู้ว่าควรนำเสนอด้วยวิธีใดที่เหมาะสมกับสภาวะ ทั้งเวลาและสถานที่ ส่วนผู้รับข้อมูลเข้าใจได้ง่าย และสนใจที่ได้รับรู้ด้วย

        5.การประสานงาน การติดต่อเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถเชื่อมให้เป็นส่วนเดียวกัน งานนั้นมีการร่วมมือกัน ขับเคลื่อนงานไปไม่ขัดแย้งกัน ไม่กระทบให้เกิดความเสียหายต่อกัน เชื่อมทั้งสิ่งมีอยู่เดิมกับสิ่งที่เพิ่มขึ้นในภายหลัง หนุนให้งานหรือกิจกรรมสมบูรณ์ขึ้นได้ และรวดเร็วขึ้น

      6.การวิเคราะห์   การรวมข้อมูลทั้งหมดไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ  แล้วนำมาแยกแยะได้ ทำความเข้าใจข้อมูลเนื้อหาได้ชัดเจน เปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีแง่มุมแตกต่างกันไป ด้วยเหตุด้วยผลรู้ว่าดีหรือไม่ดีจริง สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน

     7.ติดตามผลสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว มีผลคืบหน้าอย่างไร เป็นไปตามที่คาดหวังไหม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือไม่ ได้ผลเพียงไรบ้าง

         8.ประเมินผลการรวบรวมข้อมูลในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  แล้วนำมาวิเคราะห์  ผลลัพธ์ในทางสถิติ   เป็นข้อสรุปในการ ตัดสินใจของสิ่งนั้น ว่าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ถ้าข้อมูลพร้อมครบถ้วนถูกต้อง จะมีผลให้ การประเมินผลได้ตรงเป้าหมาย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.037912750244141 Mins