ทำบุญกฐินด้วยตัวเอง แต่ไม่อยาก
ชักชวนคนอื่น
โอวาทบทนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุที่มีทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎท่านหนึ่งกราบเรียน หลวงพ่อที่ศาลาดุสิตว่า "เรื่องการทำบุญน่ะ ตั้งใจจะทำบุญกฐินด้วยตัวเอง แต่ไม่อยากชักชวนคนอื่น หลวงพ่อเมตตาให้โอวาสว่าความคิดว่าจะทำบุญด้วยตนเอง
แต่ไม่ชักชวนคนอื่น หลวงพ่อว่ายังเข้าใจไม่ถูกต้อง ต้องทำความเห็นให้ถูกต้องเสียก่อนว่า จะเป็นผู้ไปให้เราจะต้องเป็นมิตร เป็นญาติแท้จริงของเขา หากชีวิตเขาปราศจากการทำทานแล้ว เห็นไหมที่เขาต้องไปตกปลาอยู่ข้างทาง ภพต่อไปเขาจะมีคทรัพย์น้อย และสภาพแวดล้อมยังจะดึงเขาลงต่ำอีกตลอดเวลา
"เช่นต้องผิดศีล 5 เป็นต้นตัวอย่างจริงสมัยก่อนพุทธกาล มีคนตระหนี่มาก สมัยก่อนเขาใช้ดินฉาบอิฐพระปัจเจกพุทธเจ้าก็จะสงเคราะห์ ไปบิณฑบาตร ทั้งที่รู้แต่จะโปรดเขาก็ใส่บาตรลงอย่างเสียไม่ได้ ด้วยก้อนดิน แม้แค่นี้เขาก็ไปเกิดเป็นเศรษฐีแต่มีผิวกายหยาบก็ยังดี ดังนั้นที่เราไปชักชวนชี้ทางสวรรค์ให้เขานั้น เราก็ไปบอกเขาที่เขาทำแม้ด้วยความเกรงใจเราเขาก็จะ ได้บุญติดตามตัว ไปทั้งหมดโดยไม่ตกไม่หล่นที่ไหนเลยแม้แต่น้อยจะติดตามตัวเขาไป เราเดินทางไปหาเขาเพียงก้าวเดียวแต่เราได้
1 .ความอดทน ถึงแม้เราเจอคนที่ไม่เห็นด้วยเราก็ต้องให้อภัยมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปเสีย
2 .ความวิริยะ นี้เราเพียรต่อสู้อุปสรรคทุกอย่างไม่ย่อท้อนี้เราได้
3 .ความเมตตา จะเกิดขึ้นในใจของเราเป็นประดุจพระโพธิสัตว์
4 .การให้ธรรมทาน ก็จะเกิดขึ้นไม่มีขาดทุนเลย มีแต่กำไรทั้งนั้นอย่างน้อยที่สุด ก็ได้ความอดทนได้คุณธรรมเกิดขึ้นหลายๆอย่าง ในคราวเดียวกัน
( หลวงพ่อธัมมชโย)
24 มกราคม พ.ศ. 2525
*********************