การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณี

วันที่ 28 กย. พ.ศ.2557

 
 
การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณี


วัฒนธรรมประเพณีของชาติต่างๆ ไม่เหมือนกัน เพราะความแตกต่างในด้านสถานที่ ภูมิอากาศ หรือแม้ความรู้ความเข้าใจของชุมชนที่แตกต่างกัน 

เมื่อมีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติศาสนาและเผ่าพันธุ์ เราจะต้องศึกษาให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ต่างๆ ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ใดก็ตาม หากได้ศึกษา วัฒนธรรมประเพณีของสถานที่นั้นๆ แล้ว จะทำให้เราอยู่ ในที่นั้นได้อย่างองอาจไม่เก้อเขิน และยังปฏิบัติตนได้ เหมาะสม รู้ว่าสิ่งใดควรประพฤติปฏิบัติ สิ่งใดไม่ควรปฏิบัติ

 
หลักในการพิจารณาคือ ถ้าไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ก็ถือว่าสิ่งนั้น เราประพฤติปฏิบัติได้ ถ้าผิดจากหลักการนี้ก็ให้เว้นเสีย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรามีผู้ใต้บังคับบัญชา เราควรชี้แนะ ให้เขาเข้าใจ แล้วธรรมเนียมประเพณีอันดีงามนี้จะได้ตก ทอดไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต่อๆ กันไป

การจะทำอะไรก็ตาม ย่อมมีที่มาที่ไป อยู่ที่ว่า เรื่องที่เรายึดถือกันมา เป็นเรื่องดีหรือเรื่องร้าย เป็นเรื่องเสียหายหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้อนุโลมตามวัฒนธรรม ตามธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ บางเรื่องไม่ เสียหายสำหรับฆราวาส แต่อาจเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม สำหรับนักบวชก็เป็นได้

เพราะฉะนั้น เมื่อเราไปทำหน้าที่ผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตร ไปเจอธรรมเนียมในที่ต่างๆ ต้องสังเกตพิจารณาให้ดี ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เสียหายไม่ผิดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่ผิดกฎหมาย หรือไม่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงาม ให้เราปฏิบัติตามเขา ต้องทำตัวให้เป็นสัตบุรุษ คือเป็นผู้รู้จักชุมชน ไม่ว่าจะไปที่ไหน เราจะปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสมไม่เก้อเขิน จะเป็นที่รักและเมตตาในสถานที่นั้นๆ

แต่ธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีที่สำคัญสำหรับชีวิตเรา ไม่ว่าจะอยู่ ในสถานะใด เราจะต้องประพฤติปฏิบัติให้สม่ำเสมอ อย่า ได้ขาด สิ่งนั้น คือ การทำทาน รักษาศีล และ การเจริญ ภาวนา

ให้เรารักษาธรรมเนียมนี้ไว้ให้ดี เพื่อให้เป็นมรดกตกทอดแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป


บทคัดย่อ เรื่อง ขอจงเป็นอยู่เถิด จากหนังสือ ธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับสาระธรรม 3
 


พระธรรมเทศนาโดย: พระเทพญาณมหามุนี
นามเดิม พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.01710383494695 Mins