บั้งไฟพญานาค
บั้งไฟพญานาค พญานาคในลุ่มแม่น้ำโขง จะรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกแล้วเกิดปีติ จึงพ่นดวงไฟ หลากสีขึ้นมาเป็นพุทธบูชา บั้งไฟพญานาค มีเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงเท่านั้น เพราะพญานาคที่ลุ่มแม่น้ำโขงเป็น พวกมีสัมมาทิฏฐิ นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เมื่อถึงวันออกพรรษา พญานาคในลุ่มแม่น้ำ โขง จะรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก แล้วเกิดปีติจึงพ่นดวงไฟหลากสี ขึ้นมาเป็นพุทธบูชา จากดวงใจที่ใสบริสุทธิ์กลั่นมาเป็นดวงไฟที่ สดสวยงดงาม ผ่านสายน้ำขึ้นไปบนท้องฟ้า ขณะที่มนุษย์ทั้งสองฝั่งน้ำโขง ต่างก็จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยไปพร้อมๆ กัน
ส่วนพญานาคใต้แม่น้ำคงคา ใต้แม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งเป็นถิ่นเกิดของพระพุทธศาสนา ในยุคต้นๆ พญานาคเหล่านั้นก็เคยก็พ่นบั้งไฟ มาก่อนเหมือนกัน และพญานาคบางตนในครั้งนั้นยังตั้งความปรารถนาที่จะเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตด้วยแต่ในยุคหลัง พระพุทธศาสนาถูกรุก รานจากศาสนาอื่น มนุษย์ทั้งหลายจึงอพยพ ย้ายถิ่นฐานบ้าง เปลี่ยนศาสนาบ้าง กระแสกรรมต่างๆ จากมนุษย์ล้วนส่งผลถึงนาคอย่างเต็มที่ มนุษย์ที่มีความเคารพบูชาเทพเจ้า มีใจผูกพันในเทพเจ้าต่างๆ หวังจะยึดเอา เทพเจ้าเป็นที่พึ่งของตน แต่เทพเจ้าเหล่านั้น ไม่ได้เป็นเนื้อนาบุญที่แท้จริง ถึงใครจะทุ่มเทสักการะบูชามากมายเพียงใด เขาเหล่านั้นก็ได้ความปีติเพียงเล็กน้อย บุญก็เกิดน้อย เมื่อมนุษย์เหล่านั้นละโลกแล้วจึงได้เกิดเป็น แค่ภุมเทวาในสายต่างๆ ซึ่งเป็นเทวดาชั้นต่ำ ระดับล่างประเภทเดียวกับพระภูมิเจ้าที่ และอาศัยอยู่ในแถบนั้น เมื่อเกิดเป็นภุมเทวาก็ยัง ติดนิสัยมิจฉาทิฏฐิ และความเชื่อแบบเดียวกับเมื่อครั้งที่ตนยังเป็นมนุษย์
บั้งไฟพญานาค พญานาคที่เป็นสัมมาทิฏฐินับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
มาพ่นบั้งไฟบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันออกพรรษา
ดังนั้น ความเป็นอยู่และการปกครองจึง เปลี่ยนแปลงไปตามความเชื่อของตน กลาย เป็นการปกครองประเภทศรัทธาธิปไตย คือ ถือเอาความเชื่อเป็นใหญ่ พวกเทวดาศรัทธา ธิปไตยเหล่านี้ก็พยายามบังคับให้เทวดาตน อื่น ๆ เชื่อตามตน บางพวกก็ตั้งป้อมเป็นศัตรู กับเทวดาที่ไม่ได้นับถือเช่นเดียวกับความเชื่อ ของตนอีกด้วย
เทวดา คือ อดีตมนุษย์ ตอนเป็นมนุษย์หากมีความเชื่ออย่างไร เมื่อตายไปได้เป็น เทวดาก็ยังมีความเชื่อเช่นนั้นอยู่อีก เทวดาที่นับถือเทพเบื้องบนคนละองค์ ก็ทะเลาะเบาะแว้งระรานกัน เพราะต่างมีความเชื่อว่าเทพ ที่ตัวนับถืออยู่สูงศักดิ์กว่า แต่ตัวเองก็ไม่เคย เห็น และไม่เคยเข้าถึง เทพที่ตนเองนับถือก็ ไม่เคยลงมาเยี่ยมทักทาย มันเป็นเพียงความ เชื่อเลื่อนลอยเท่านั้น แต่ความเชื่อเลื่อนลอยนั้น ถูกทึกทัก จากพวกมิจฉาทิฏฐิให้กลายมาเป็นความเชื่อ จริงจัง เทวดารวมถึงพญานาคที่นับถือพระพุทธศาสนา ในถิ่นนั้นก็พลอยถูกระรานไปด้วย เมื่อเป็นมนุษย์พวกที่ต่างความเชื่อก็ระรานกัน ครั้นตายไปเป็นเทวดา พวกที่มีความเชื่อต่างกันก็ระรานกันต่อ เทวดาทั้งหลายที่นับถือพุทธศาสนารวมถึงพญานาคที่เป็นสัมมาทิฏฐิด้วย จึงจำใจต้องย้ายถิ่นอพยพหนีความรำคาญ แต่มิใช่เพราะความกลัว มาอยู่แถบแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นอาณาเขตนับถือพระพุทธศาสนา
บั้งไฟพญานาคา
ปัจจุบันพญานาคซึ่งถือกำเนิดแถบแม่น้ำคงคาและแม่น้ำเนรัญชราต่างมิได้ถือ กำเนิดมาจากถิ่นที่มีชาวพุทธอยู่อาศัยอีกต่อไป จึงไม่ได้พ่นบั้งไฟพญานาคเหมือนสมัยหลังพุทธกาล ยุคต้นๆ เพราะต่างมีความเชื่อในเทพเจ้าที่เลื่อนลอย ไม่สามารถทำให้เกิดปีติ จึงไม่มีพลังพอที่จะกลั่นใจตนเองให้เกิดเป็นดวงไฟ สวยงามหลากสีได้
ปัญหาของเทวดาในเขตแม่น้ำคงคานั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ตนยังเป็นมนุษย์ ถ้าใคร ต้องการจะแก้ไข ก็ต้องเข้าไปช่วยแก้ไขกันตั้ง แต่เขายังเป็นมนุษย์ โดยการบำเพ็ญตนเป็น กัลยาณมิตรนำธรรมะแผ่ขยายไปให้ถึงเขา ให้เขามีสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นก่อน ให้หันมานับถือ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก่อน ตลอดลำแม่น้ำโขงจะมีเมืองเล็กเมืองน้อย เมืองใหญ่ ของเหล่าพญานาคเกิดขึ้น เรื่อยๆ เป็นกลุ่มๆ ขยายจากโพนพิสัยไป อำเภอรัตนวาปี อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งแต่ละกลุ่มล้วนนับถือพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น โดยมีเมืองของโอฆินทรนาคราช เป็นเมืองหลวงเมืองของเจ้าแม่สองนางเป็นเมืองบริวาร ปกครองโดยนางพญานาคี ที่ในอดีตเป็นธิดากษัตริย์ เมื่อฤดูเข้าพรรษามาถึง พญานาคทั้งหลาย มีโอฆินทรนาคราชและสุวรรณมธุรนาคราชเป็นผู้นำ ได้พาบริวารออกจากวิมาน มาจำศีลที่ใต้แม่น้ำโขง บริเวณที่จำศีล บางส่วนก็เป็นโพรงดิน บางส่วนก็เป็นโพรงน้ำ บางส่วนก็เป็นถ้ำใต้น้ำ ต่างก็อยู่รวมๆ กัน และจะสมาทานอุโบสถศีล ในช่วงเข้าพรรษา ถือพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัดไม่ยุ่งเกี่ยวกับกามคุณเลยและที่กล่าวมานี้คือกำเนิดบั้งไฟพญานาค