โอวาทปาติโมกข์ คาถาศักดิ์สิทธิ์

วันที่ 04 มีค. พ.ศ.2558

 

 

โอวาทปาติโมกข์ คาถาศักดิ์สิทธิ์

 

พระธรรมวินัย ข้อวัตรปฏิบัติจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ความมีศีลของคนในยุคนั้นๆ แต่โอวาทปาติโมกข์ หลักปฏิบัติในการเผยแผ่ประกาศธรรม พระพุทธเจ้ากี่พระองค์ ตรัสแสดงเหมือนกันหมด.....

 

เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 

การปฎิบัติตามโอวาทปาติโมกข์ เปรียบเสมือน คาถาศักดิ์สิทธิ์ ไว้พิชิตความยากลำบาก ในการเผยแผ่ ที่ต้องผจญกับมานะทิฐิ บนหลากหลายความเชื่อ ของบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่มากมายทุกยุคทุกสมัยแม้พระภิกษุสงฆ์ ผู้เผยแผ่จะเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ตาม ก็ต้องมีหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการ ดังนี้

 

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา : ความอดทนคือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง

 

นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา : พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นเยี่ยม

 

น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี : ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต

 

สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ : ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

 

สพฺพปาปสฺส อกรณํ : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1

 

กุสลสฺสูปสมฺปทา : การบำเพ็ญแต่กุศลให้ถึงพร้อม

 

สจิตฺตปริโยทปนํ : การทำจิตของตนให้ผ่องใส

 

อนูปวาโท อนูปฆาโต : การไม่กล่าวร้าย  การไม่ทำร้าย

 

ปาติโมกฺเข จ สํวโร : ความสำรวมในปาติโมกข์

 

มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ : ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร

 

ปนฺตญฺจ สยนาสนํ : ที่นั่งนอนอันสงัด

 

อธิจิตฺเต จ อาโยโค : มีความเพียรในอธิจิต

 

เมื่อ 45 ปีที่ผ่านมา วัดพระธรรมกาย ถือกำเนิดเกิดขึ้น และได้ยึดหลัก โอวาทปาติโมกข์ ถือปฏิบัติเรื่อยมา...

 

โอวาทปาติโมกข์ เป็นเสมือน คาถาศักดิ์สิทธิ์ ที่ได้รับรองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ประทาน เหมือนกันหมด เมื่อต้องเผยแผ่ประกาศพระศาสนา ให้มั่นคงและเจริญรุ่งเรือง เป็นที่พึ่งของมนุษย์และเทวดา...

 

เมื่อปฏิบัติตาม ปฏิบัติจริง ปฎิบัติตรง ย่อมเป็นทางมา แห่งความเจริญ ทั้ง ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนาบุคคล เหมือนสมัยพุทธกาล ดังที่ปรากฏ...

 

 

4 มีนาคม พุทธศักราช 2558
ธรรมะริมทาง ไปที่สุดแห่งธรรม

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.021553901831309 Mins