นางสาวเมษิณี มังคละศีรี
สู่ชัยชนะของนักกีฬาระดับโลก
"ขึงขัง เคี่ยวกรำ คร่ำเคร่ง" เป็นบุคลิกที่เรามักจะเห็นเสมอในการแข่งขันกีฬา เพราะทางมาแห่งชัยชนะไม่ใช่เรื่องหมูๆ แม้แท่นยืนของตำแหน่งแชมป์ จะไม่สูงเท่าไรนักแต่การขึ้นไปยืนบนนั้นยากเย็นกว่าการปีนสู่ยอดเขาหลายเท่าตัว และอีกไม่นานบุคลิกภาพดังกล่าวอาจจะล้าสมัย เพราะแชมเปี้ยนรุ่นใหม่กำลังจะยิ้มแย้ม "ง่ายๆสบายๆแบบใจเย็น"ให้เราเห็น
...และนี่คือ know-how สู่ ชัยชนะของนักแบดมินตันอันดับที่หนึ่ง ประเภทหญิงคู่ของประเทศ สหรัฐอเมริกา มือวางอันดับที่ ๓๖ ประเภท หญิงคู่ของโลก
น้องเมย์ หรือ นางสาวเมษิณี มังคละคีรี อายุ ๒๔ ปี เธอเป็น นักกีฬา แบดมินตัน ของทีมชาติสหรัฐอเมริกา เกิดและเติบโตที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ชีวิตของเธอตั้งแต่เยาว์วัยนั้นมีทั้งรสชาติของ ชัยชนะและพ่ายแพ้ผ่านเข้ามา ให้ลิ้มลองโดยตลอด เพราะเป็นนักกีฬามาตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี โดยเริ่มเข้าสู่สนามแข่งขันในระดับประเทศด้วยวัยเพียง ๑๘ ปี เท่านั้น ปัจจุบันเธอเป็นอันดับที่หนึ่งในกีฬาแบดมินตันประเภทหญิงคู่ระดับประเทศสหรัฐอเมริกา และในการแข่งขันมหกรรมกีฬา "แพนอเมริกันเกม"ซึ่งเป็นมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในทวีปอเมริกา กว่า ๔๒ ประเทศ มีเกมการแข่งขันทุกอย่างเหมือน กีฬาโอลิมปิกซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบราซิลในปีที่ผ่านมาเธอก็คว้าชัยชนะมาอย่างงดงาม
ความรู้สึกแต่ละขั้นตอนของการนั่ง หนูรู้สึกตัวเบา แล้วตัวก็ค่อยๆ หายไป กลืนไปกับอากาศ หลังจากนั่งสมาธิแล้ว
ความรู้สึกวันนั้นจะมีความสุข มากๆ และใจสงบอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นความสุขที่เกิดจากภายใน โดยที่เราไม่ได้ทำอะไรเลย แค่เอาขนตาชนกันเบาๆ และก็ทำใจเฉยๆ
ชัยชนะเป็นสิ่งหอมหวนก็จริง แต่รูปแบบของการดำเนินชีวิตและเทคนิคสู่ชัยชนะของเธอยวนเย้า ให้น่าติดตามมากกว่า เพราะเทคนิคสู่ชัยชนะที่ว่า ง่ายกว่าเอื้อมมือคว้ามากมายนัก เหรียญทองเหรียญแรกมาจากการแข่งขันประเภทหญิงคู่ ในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยคู่ของเธอสามารถเอาชนะมือวางอันดับหนึ่งของรายการ คือ ชาร์เมน รีด และฟิโอนา แม็คคี จากแคนาดา ไปได้สองเกมรวด คว้าแชมป์แพนอเมริกันเกมประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มาครองได้อย่างน่าภาคภูมิใจ
น้องเมย์ได้เล่าชีวิตพื้นฐานของเธอให้ฟังว่า "สาเหตุที่หนูมีวันนี้ได้ เพราะได้รับการปลูกฝังที่ดีจากคุณพ่ออนุกูล และคุณแม่ศิริพร มังคละคีรีค่ะ คุณพ่อท่านทำงานบริษัท ส่วนคุณแม่เป็นผู้จัดการสนามแบดมินตัน ซึ่งท่านทั้งสองพาหนูไปวัด ตั้งแต่อายุ ๑ ขวบ ต่อมาเมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ก็ได้รู้จัก วัดพระธรรมกาย โดยมีกัลยาณมิตร นิรุตต์ ชื่นคลังได้ชักชวนให้ครอบครัว เข้าวัดพุทธเมย์วูด (ปัจจุบัน คือวัดพระธรรมกายแคลิฟอร์เนีย) หนูได้ไปเรียนภาษาไทยที่นั่น ซึ่งจะมีการทำสมาธิก่อนและหลัง เลิกเรียนเป็นเวลา ๑๕ นาที เมื่อที่บ้านติด DMC พอว่างจากการแข่งขันก็จะนั่งชมรายการ DMC และนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ เวลานั่งสมาธิส่วนมาก จะไม่นึกอะไร หามุมเงียบๆ เพื่อความเป็นส่วนตัว และบางครั้งก็นึกถึงคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งจะทำ ให้เกิดกำลังใจและไม่เหนื่อย แล้วภาวนา "สัมมา อะระหัง" ไปเรื่อยๆ จากนั้นก็เห็นแสงสว่างสีขาวเป็นจุดเล็กๆแล้วก็วางใจนิ่งๆ ไม่นึกอะไร สักพักก็เกิดดวงแก้วผุดขึ้นมาในกลางนั้น ดวงแก้วจะใสๆ มีแต่ความใส เท่านั้นไม่มีสีใดๆ เจือปน
ความรู้สึกแต่ละขั้นตอนของการนั่ง หนูรู้สึกตัวเบา แล้วตัวก็ค่อยๆ หายไป กลืนไปกับอากาศ หลังจากนั่งสมาธิแล้ว ความรู้สึกวันนั้นจะมีความสุข มากๆ และใจสงบอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นความสุขที่เกิดจากภายใน โดยที่เราไม่ได้ทำ อะไรเลย แค่เอาขนตาชนกันเบาๆ และก็ทำใจเฉยๆ แค่นี้เอง และที่สำคัญน้องเมย์ก็ได้นำเทคนิคการทำใจใสๆ อย่างสบายๆ นี้ไปใช้ในการแข่งขันด้วย
เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา การแข่งขันครั้งล่าสุดของ French Open รอบคัดเลือก เพื่อเก็บคะแนนที่กรุงปารีส เธอต้องเจอคู่แข่งสุดหิน เขาเป็นนักแบดมินตันจากประเทศอังกฤษเป็นคู่แข่ง ที่แข็งแกร่งมาก เธอเล่าว่าการแข่งขันในครั้งนี้ เธอเปรียบดั่ง Underdog เป็นคู่แข่งที่ไม่อยู่ในสายตาเท่าไร ถ้าชนะได้ก็เหมือนม้ามืด แต่เธอบอกกับใจ ตัวเองว่า "ถ้าชนะก็ขอชนะแบบม้าสว่าง" ก่อนที่จะลงแข่งขัน เธอหาที่เงียบๆ นั่งนิ่งๆ หยุดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายแล้วนึกถึงดวงแก้วใสๆ ที่กลางท้อง แล้วหลังจากนั้นเธอก็ค้นพบ know-how สู่ชัยชนะ
เธอเปรียบดั่ง Underdog เป็นคู่แข่งที่ไม่อยู่ในสายตาเท่าไร ถ้าชนะได้ก็เหมือนม้ามืด แต่เธอบอกกับใจ ตัวเองว่า
"ถ้าชนะก็ขอชนะแบบม้าสว่าง" ก่อนที่จะลงแข่งขัน เธอหาที่เงียบๆ นั่งนิ่งๆ หยุดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายแล้วนึกถึงดวงแก้วใสๆ ที่กลางท้อง แล้วหลังจากนั้นเธอก็ค้นพบ know-how สู่ชัยชนะ
ในเกมนั้น หนูเล่นไปแบบสบายๆเหมือนกำลังจะทำสมาธิ ไม่ได้คิดว่าแพ้หรือชนะ ทำไป ทีละลูกๆ พอเกมจบ เธอเล่าว่า "มันเป็นเทคนิคที่มหัศจรรย์ที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา ปกติการเล่นแบดมินตัน เราจะต้องคิดอะไรมากมาย ต้องตีลูกอย่างนี้ หยอดอย่างนี้ ตีอย่างไรจึงจะลวงคู่ต่อสู้ให้หัวปั่นเดาใจ ไม่ถูก แต่วันนั้นหนูเล่นโดยปราศจากความคิด ด้วย เทคนิคจากการนั่งสมาธิ เล่นโดยไม่คิดอะไร ไม่คิดว่าคนกำลังดู คนกำลังเชียร์ หรือคนกำลังโห่ ไม่คิดว่า แพ้หรือชนะ เล่นไปทีละลูก ใช้เทคนิคศูนย์ต่อศูนย์ คือ ทำใจว่างๆ จรดศูนย์กลางกายนิ่งๆ ตีไปลูกต่อลูก แต้มต่อแต้ม จรดศูนย์กลางกายอย่างเดียว เดี๋ยวแต้ม มันจะวิ่งไปเอง ไม่กังวลอะไรมาก ถ้าเราชนะจะได้ ทีละแต้มๆ ถ้าเราตีเสีย ก็ให้ฝ่ายตรงข้ามได้แต้มบ้าง คิดเพียงแค่นี้ เหมือน Meditation ที่คุณครูไม่ใหญ่ (หลวงพ่อธัมมชโย) ท่านสอน คือ อย่าใช้กำลังใดๆ อย่าไปคาดหวังอะไร ให้ใจนิ่งๆ สว่างๆ ถ้าเราทำถูกวิธีแล้ว เราจะเห็นขึ้นมาเอง แบดมินตันก็เหมือนกันค่ะ
At the End ในที่สุดหนูก็ชนะ เป็นชัยชนะที่สร้างความตื่นตะลึงไปทั้งวงการ ไม่มีใครคาดหวังว่าจะเอาชนะได้ แม้ตัวหนูเอง ก็แปลกใจ ว่า เราชนะไปได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ไม่คิดอะไรเลย ทำให้มั่นใจเลยค่ะว่า ถ้าเรามีสันติสุขภายใน ทุกอย่าง ในโลกก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นการแข่งในระดับไหนก็ตาม หนูจะต้องทำใจให้เป็นสมาธิให้ได้ก่อนเสมอค่ะ
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการใช้ชีวิตที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้เต็มไปด้วยการแข่งขัน และการแข่งขันในเกมชีวิตบางครั้งก็เคร่งเครียดกว่าเกมกีฬาเสียอีก ทั้งแข่งขันกับเวลา แข่งขันกับคู่แข่ง หรือแข่งขันกับตัวเองและเราทุกคนสามารถคว้าชัยชนะของชีวิต ได้ด้วยวิธีการเดียวกันกับที่น้องเมย์ได้ ทำสำเร็จ มาแล้ว คือ "การนั่งสมาธิ" หากเราได้พบจุดแห่งความหยุดนิ่ง และแหล่งแห่งความสบายภายใน เราจะใช้ชีวิตใน เส้นทางแห่งการต่อสู้นี้อย่างมีความสุข แล้วเราจะกุมชัยชนะให้ชีวิตอย่างง่ายๆ สบายๆ ด้วยใจที่สงบเย็น