การแสวงหาปัญญาทางธรรมมีหลักง่ายๆว่า "ใจต้องสงบ" เริ่มด้วยการทำกาย ทำวาจาให้สงบเสียก่อน โดยรักษาศีลไว้เป็นปกติจากนั้นจึงฝึกใจด้วยการฝึกสมาธิอย่างถูกวิธี เมื่อใจสงบ ดวงจิตย่อมผ่องใสเยือกเย็น มีกำลัง และเป็นอิสระ สามารถคิดได้ลึกซึ้ง กว้างไกล เป็นระเบียบ คิดได้ต่อเนื่องกัน ปราศจากความเห็นแก่ตัว บันดาลความรู้ความเห็นให้บริสุทธิ์ ตรงตามความเป็นจริง เรียกว่า เกิดปัญญาทางธรรมยิ่งใจสงบได้มากเท่าไร ปัญญายิ่งลึกซึ้งมากเท่านั้น
...อ่านต่อ
การแสวงหาปัญญาทางโลก คือ การเรียนวิชาการต่างๆ ที่เราเรียนอยู่แทบทุกวันวิธีการเรียนนั้นคงมีผู้แนะนำน้องอยู่มากแล้วดังนั้นพี่จะไม่พูดซ้ำอีก แต่จะขอพูดเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งหลายคนมองข้ามไปคือ เรื่องความเคารพครูอาจารย์
...อ่านต่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า "ปัญญา" เป็นสมบัติอันเลิศที่บุคคลควรแสวงหา การรับรองความมีปัญญาทางโลก เช่น ปริญญาสำหรับบัณฑิตนั้นเป็นเพียงหลักฐานรับรองความรู้ เพื่อใช้ประกอบอาชีพตามขีดขั้นของแต่ละคน เท่ากับรับรองว่า พอจะมีปัญญาแสวงหาความสุขจากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และลาภ ยศ สรรเสริญในชีวิตเท่านั้นบัณฑิตที่แท้จริงต้องแสวงหาปัญญาทางธรรมด้วย คือ ปัญญารู้ผิดชอบชั่วดีจำแนกกิจที่ควรทำ และการที่ควรเว้น ความพอเหมาะ ความพอดีแล้วนำปัญญาทางธรรมนี้มาใช้ควบคุมปัญญาทางโลก เพื่อยังประโยชน์ให้เกิดความสุขอันเที่ยงแท้และยั่งยืนถาวรทั้งแก่ตนเองและต่อผู้อื่น
...อ่านต่อ
จะเป็นผู้ไม่ตกต่ำ ไม่ตกนรก เพราะบุคคลที่มีความเคารพเชื่อฟังครูอย่างแท้จริง มักไปเยี่ยมเยียนไปแสดงความเคารพท่านเมื่อมีโอกาสเสมอ เมื่อครูเห็นว่าศิษย์เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน เสมอต้นเสมอปลายท่านก็จะยิ่งเพิ่มความเมตตา กรุณาแก่ศิษย์มากขึ้น สิ่งใดที่เห็นว่าศิษย์จะผิดพลาด ท่านก็จะคอยเตือนไว้ ทำให้ศิษย์ไม่เผลอสติ ทำความชั่ว โอกาสที่ศิษย์จะตกต่ำหรือตกนรกจึงไม่มี
...อ่านต่อ
ความเคารพนั้นเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา ความดีและความเจริญก้าวหน้าของโลกในยุคใดสมัยใด ถ้าบุคคลทั้งหลายเคารพครูแล้ว วิชาความรู้ความเจริญทั้งมวลที่มีอยู่ในยุคนั้นก็จะค่อยเสื่อมสลายไปจนหมดสิ้น
...อ่านต่อ
สิ่งที่ควรจะมีในพิธีไหว้ครู เพื่อให้ได้ความหมายครบถ้วน ตามที่ถือปฏิบัติสืบมาแต่โบราณ คือ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก และข้าวตอก
...อ่านต่อ
ผู้ที่รองรับความดีของครู คือ ศิษย์ ถ้าเปรียบครูเหมือนน้ำ และเปรียบศิษย์เหมือนภาชนะใส่น้ำ ศิษย์ก็คือ ภาชนะที่ไม่รั่ว ไม่แตกก้นปิดสนิท และเปิดปากตั้งเอาไว้คอยรองรับน้ำเมื่อมีน้ำไหลลงสู่ภาชนะนั้นน้ำก็จะถูกบรรจุสะสมไว้จนเต็มภาชนะ  ถ้าเปรียบครูเหมือนแสงสว่าง ศิษย์ก็เปรียบเสมือนผู้มีดวงตาที่สมบูรณ์ ใช้การได้ดี คือศิษย์ก็จะต้องเป็นผู้ที่ลืมตาอยู่เสมอ และพร้อมที่จะใช้สายตามองสิ่งอื่นใด โดยอาศัยแสงสว่างเป็นเครื่องช่วย แสงสว่างนั้นก็ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้มีดวงตาและใช้ดวงตานั้นอยู่
...อ่านต่อ
ครู คือ ผู้จุดดวงประทีปทางปัญญาให้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์พันจากความมืดคือ ความโง่ โดยพยายามอดทน ประคับประคอง ส่งเสริมให้ศิษย์เจริญก้าวหน้าในทุกวิถีทาง ครู คือ ผู้ที่ไม่ยอมแพ้ต่อความเหนื่อยยากความลำบาก ทั้งทางกายและทางใจ ครูยอมทุ่มเทเสียสละได้เต็มที่ทุกอย่าง ด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ขอเพียงให้ศิษย์ได้ดี ครูก็พอใจ แม้ว่าต่อไปในภายหน้า ศิษย์จะเก่งกล้าก้าวหน้าเกินครูอย่างไรก็ตาม น้ำใจของครูนั้นมีแต่จะพลอยยินดีและเป็นสุขใจด้วย ครูไม่เคยมีจิตริษยาคิดจะกดศิษย์ไว้ให้ต่ำกว่าตน หรือคอยเบียดเบียน ทวงบุญทวงคุณเมื่อศิษย์ได้ดี
...อ่านต่อ
โบราณกาล บุคคลที่ครูจะยอมรับไว้เป็นศิษย์ จึงต้องผ่านการคัดเลือกและกลั่นกรองอย่างถี่ถ้วนก่อน เมื่อครูตระหนักว่า บุคคลนี้ไม่ใช่คนพาล และมีคุณสมบัติพอที่จะได้รับการถ่ายทอดวิชาการจากท่านได้ ครูจึงจะรับไว้เป็นศิษย์ บุคคลซึ่งถูกคัดเลือกแล้วนี้ แม้จะยังไม่ทันได้รับการถ่ายทอดความรู้จากครู เขาก็มีความสำนึกในเมตตากรุณาของครูซึ่งจะมีแก่ตนต่อไป จึงได้นำเครื่องสักการะมาบูชาครู เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์และปฏิญานตนต่อหน้าท่านว่าจะเคารพ เชื่อฟัง ทั้งจะประพฤติตน ให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ครูกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดอดทน
...อ่านต่อ
ประเพณีการไหว้ครูนั้นเป็นประเพณีที่เราปฏิบัติต่อๆ กันมาแต่โบราณก่อนที่จะมีการสอนวิทยาการต่างๆ ก็จะจัดพิธีไหว้ครูก่อน โดยศิษย์นำเครื่องของสักการะมามอบให้แก่ครูแล้วกล่าวปฏิญาณตนว่า จะเคารพเชื่อฟังและอยู่ในโอวาทของครู ขอให้ครูรับตนไว้เป็นศิษย์ เช่น เรียนรำละคร เรียนดนตรี เรียนฟันดาบ เรียนต่อยมวย เป็นต้น
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล