ฉบับที่ 61 พฤศจิกายน ปี 2550

ข้อคิดนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา

พระธรรมเทศนา

 

 

 

       คำสอนทั้งสองระดับข้างต้นนี้ จะถือว่าเป็นระดับศีลธรรมด้วยกันก็ได้ ปรากฏว่า แม้ศาสนิกทุกคนในศาสนานั้น ๆ จะตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามคำสอนอย่างเคร่งครัดเพียงใดก็เป็นไปเพียงเพื่อผ่อนคลายความทุกข์ให้น้อยลงบ้างเท่านั้น แต่ไม่สามารถกำจัดทุกข์อันเนื่องมาจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่บีบคั้นทุกๆ ชีวิตให้สิ้นลงไปเลย ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   ๑. มุ่งประกอบสัมมาอาชีวะ คือ สามารถ ทำมาหากินเป็น จนกระทั่งสามารถตั้งหลักฐานมั่นคง ไม่มีใครอดอยากยากจนตลอดจนสุขภาพพลานามัยก็แข็งแรง คือช่วยตัวเองและครอบครัวได้ ไม่มีใครต้องเป็นภาระแก่สังคม

    ๒. หลังจากศาสนิกตั้งฐานะได้แล้ว ก็จะสอนให้รู้จักแสวงหาความสุขทางด้านจิตใจ หรือยกใจ สู่ระดับศีลธรรมต่อไป โดยสอนให้สมาชิกศรัทธา ในเรื่องหลักๆ ต่อไปนี้ คือ

     ๒.๑ ทุกคนยังมีชีวิตหลังความตายต่อไปอีก หากใครประพฤติตนดีย่อมได้ไปสวรรค์ หากประพฤติตนเหลวไหลย่อมต้องถูกลงโทษด้วยการถูกทรมานในนรก ทำให้ต่างคนต่างต้องระมัดระวังตัวเอง ไม่ประพฤติตนนอกลู่นอกทาง

     ๒.๒ เพื่อให้ศาสนิกอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข กรอบความประพฤติเรื่องศีลก็ถูกกำหนดขึ้นมาในระดับใกล้เคียงกันอีก คือต่างก็ห้ามการฆ่าฟัน ห้าม การลักทรัพย์ ห้ามการประพฤติผิดในกาม ห้ามการ พูดเท็จและห้ามการเสพสิ่งเสพติดให้โทษ โดยมุ่งให้ศาสนิกแต่ละคนเข้มงวดกวดขันความประพฤติตนเองยิ่งขึ้นไป นับเป็นการแก้ไขและป้องกันการกระทบกระทั่งรังแกเอาเปรียบกันในสังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

     ๒.๓ เพื่อให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ต่างก็มีคำสอนที่คล้ายคลึงกันอีก คือสอนให้ศาสนิกมีจิตเมตตากรุณาซึ่งกันและกันช่วยเหลือโอบอุ้มกันไปตามสมควรแก่ฐานะ ไม่ยอมทอดทิ้งให้เด็ก คนแก่ ผู้ทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส ต้องตกทุกข์ได้ยาก คือมุ่งส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์นั่นเอง

    ๒.๔ เพื่อป้องกันเหตุเหลือวิสัยใดๆ อันจะ นำความทุกข์ยากมาให้ จึงสนับสนุนศาสนิกของตน ให้มีการศึกษาตามสมควรแก่สติปัญญาของศาสนิกรวมทั้งศึกษาคำสอนในศาสนาให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป อันเป็นประโยชน์สุขต่อตัวของศาสนิกเอง และประโยชน์ในการเผยแผ่ด้วย

        คำสอนทั้งสองระดับข้างต้นนี้ จะถือว่าเป็นระดับศีลธรรมด้วยกันก็ได้ ปรากฏว่าแม้ศาสนิก ทุกคนในศาสนานั้นๆจะตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามคำสอนอย่างเคร่งครัดเพียงใด ก็เป็นไปเพียงเพื่อผ่อนคลายความทุกข์ให้น้อยลงบ้างเท่านั้น แต่ไม่สามารถกำจัดทุกข์อันเนื่องมาจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่บีบคั้นทุกๆ ชีวิตให้สิ้นลงได้เลย ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงสอนธรรมะในระดับที่สูงขึ้นไปอีก ดังที่ชาวพุทธรู้จักกันดีในนามของ โลกุตรธรรมคือธรรมเพื่อการกำจัดกิเลสและทุกข์ให้หมดไปโดยสิ้นเชิงทำให้ผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามประสบสุขอย่างแท้จริงไม่ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดอีกต่อไป ที่เรียกว่า บรรลุนิพพาน

        คำสอนในระดับดับทุกข์ได้เด็ดขาดเช่นนี้ปรากฏว่าไม่เคยมีสอนในศาสนาอื่นเลย มีแต่ของพระพุทธศาสนาเท่านั้น จึงนับว่าคำสอนส่วนนี้ เป็นคำสอนที่โดดเด่นอย่างยิ่ง และควรรีบเผยแผ่ ให้กว้างไกลเร็วที่สุด เพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริงของชาวโลก ที่ผ่านมานั้น นักเผยแผ่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มักจะมุ่งเน้นการเผยแผ่ใน ๒ ระดับแรกเท่านั้นจึงกลายเป็นว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือการเผยแผ่วัฒนธรรมของ ชาวพุทธประเทศนั้นๆ เท่านั้นสำหรับการเผยแผ่พระธรรมคำสอนแท้จริงในระดับพ้นทุกข์ มักถูกปล่อยปละละเลยอย่างน่าเสียดาย ยิ่งกว่านั้นข้อปฏิบัติตน ๖ประการของนักเผยแผ่ที่ดี ซึ่งบูรพาจารย์ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดก็มักจะถูกปล่อยปละละเลยอีกเช่นกัน ข้อปฏิบัติเหล่านั้น คือ

 

 

๑. ต่างต้องไม่ว่าร้าย หรือพูดให้ผู้อื่นเสียหาย

๒. ต่างต้องไม่ทำร้าย ไม่เบียดเบียนให้ใครเดือดร้อน

๓. ต่างต้องสำรวมในศีล และมารยาทอย่างเคร่งครัด

๔. ต่างต้องรู้ประมาณในอาหาร

๕. ต่างต้องเลือกอยู่ในที่สงบ สมกับเป็นนักเผยแผ่

๖. ต่างต้องฝึกสมาธิให้ยิ่งยวด เพื่อขจัดกิเลส และสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง

         ข้อปฏิบัติในการเผยแผ่เหล่านี้ หากแต่ละท่านต่างปฏิบัติชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อการเผยแผ่่พระธรรมในระดับการขจัดทุกข์แล้ว การเผยแผ่ธรรมะย่อมบรรลุวัตถุประสงค์อย่างงดงาม นับว่าเป็น ประโยชน์อย่างแท้จริงทั้งต่อผู้เผยแผ่เองและชาวโลก อย่างมหาศาล และเป็นที่แน่นอนว่าบุญบารมียิ่งใหญ่ ย่อมบังเกิดแก่ทุกๆ ท่าน หัวใจพระโพธิสัตว์ย่อมเบ่งบานด้วยกันทั่วหน้า เกินกว่าที่มนุษย์และเทวดา หรือใครๆ จะคาดถึง และนั่นจึงเป็นการทำหน้าที่กัลยาณมิตรอย่างสมศักดิ์ศรีของยอดนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งยุคโลกาภิวัตน์

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล