ฉบับที่ ๑๖๘ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗)

บทความพิเศษ
เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ
(ตอนที่ ๑๗)

   เดือนกันยายนที่ผ่านมา เป็นเดือนสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับมหาปูชนียาจารย์ ในฐานะที่พวกเราเป็นศิษยานุศิษย์ต่างก็น้อมระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่และตั้งใจแสดงความกตัญญูบูชาธรรมในวันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย โดยร่วมกันเจริญสมาธิ ๙๙ ชั่วโมง เนื่องในโอกาส ๙๙ ปี แห่งการบรรลุธรรมของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ที่ท่านตั้งใจสละชีวิตนั่งสมาธิในอุโบสถวัดโบสถ์บน บางคูเวียง จ.นนทบุรี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ (ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน) และทุกท่านยังได้ร่วมกันสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตนสูตร ครบ ๒,๐๐๐,๐๐๐ จบ เพื่อบูชาพระมหาธรรมกายเจดีย์ พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ และตั้งใจที่จะร่วมกันสวดให้ได้ ๔,๐๐๐,๐๐๐ จบ ภายในวันลอยกระทง

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

     นอกจากนี้ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายนที่ผ่านมา ก็เป็นวันคล้ายวันละสังขารของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ผู้สืบสานหลักการปฏิบัติหนทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา ตามคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงปู่ จนสืบทอดวิชชาธรรมกายมาถึงพระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) องค์สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย ( DIRI ) อีกด้วย

    ฉบับนี้ ผู้เขียนจะขอพาท่านผู้อ่านย้อนรำลึกประวัติศาสตร์ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่-หัว (รัชกาลที่ ๓) สมัยนั้นมีกลอนเพลงยาวสรรเสริญพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหมื่นพรหมสมพัตสรหรือนายมี มหาดเล็กในรัชกาล ซึ่งบรรยายถึงพระราชหฤทัยเลื่อมใสพระพุทธศาสนาของพระองค์ไว้ดังตอนหนึ่งว่า

                       "ทูลเรื่องอื่นมิได้ชื่นเหมือนเรื่องวัด      เวียนแต่ตรัสถามไถ่ให้ใฝ่ฝัน
                         ถึงวัดนั้นวัดนี้เป็นนิรันดร์                   ถึงเรื่องปั้นเขียนถากสลักกลึง" 

 

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

วัดเทพธิดาราม วรวิหาร สร้างปี พ.ศ. ๒๓๗๙ ภาพจาก www.woodychannel.com

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

วัดราชนัดดาราม วรวิหาร สร้างปี พ.ศ. ๒๓๘๙ ภาพจาก www.rattanakosinontour.weebly.com

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร สร้างปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ภาพจาก http://watthailands.blogspot.com/2013/07/blog-post.html


  นับว่าในรัชสมัยนั้น พระมหากษัตริย์มีพระราชกรณียกิจส่งเสริมทั้งทางด้านถาวรวัตถุ คือ ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ ไว้ถึง ๗๓ วัด โดยมีวัดที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างใหม่ ๓ วัด และทรงสร้างคัมภีร์ต่าง ๆ ทดแทนคัมภีร์ที่สูญหายจากภัยสงครามครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาและในพุทธศักราช ๒๓๘๕ โปรดเกล้าฯ ให้พระเถระผู้ใหญ่ไปสืบทอดพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกาและอัญเชิญพระคัมภีร์ปิฎกจำนวน ๔๐ คัมภีร์มาคัดลอกในสยาม ซึ่งใช้เวลาในการคัดลอกทั้งหมด ๑ ปี แล้วจึงอัญเชิญกลับ นอกจากนี้ยังทรงส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรมในพระอารามหลวง และครั้งที่มีการสอบบาลีสนามหลวง พระองค์มีพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานที่สนามสอบถึง ๒๕ วัน ปรากฏว่าไม่มีภิกษุสามเณรท่านใดสอบผ่านชั้นเปรียญธรรมเอก โท ตรี และจัตวาเลย จึงทรงห่วงใยและทรงอาราธนาพระมหาเถระในยุคนั้นให้ช่วยกันส่งเสริมและกวดขันการศึกษาของพระภิกษุสามเณรอย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะทำให้ทุกรูปเห็นคุณค่าและตั้งใจเล่าเรียนศึกษา แล้วช่วยกันสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยั่งยืนยาวนาน ซึ่งพวกเราต่างรู้สึกซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรของพระองค์ที่ทรงเป็นห่วงและมีคุณูปการต่อพุทธศาสนาในทุก ๆ ด้าน ดังเช่นการที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างคัมภีร์ใบลานหลวงพระไตรปิฎกขึ้นหลายฉบับ โดยเฉพาะฉบับเทพชุมนุมซึ่งมีเพียงชุดเดียว ที่พระราชทานแด่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหารเพื่อให้ภิกษุ-สามเณรเอาไว้ศึกษาสืบไป
 

คัมภีร์ใบลานหลวงที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมีดังนี้

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับเทพชุมนุมหรือฉบับรดนํ้าเทพชุมนุม

    คัมภีร์ใบลานหลวงชุดนี้ สร้างสำหรับพระราชทานวัดพระเชตุพนฯ และต่อมารัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดการสำรวจและลงทะเบียนไว้และมีบันทึกชัดเจนว่า คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับเทพชุมนุมชุดนี้นำมาจากวัดพระเชตุพนฯ ตอมา เมื่อทรงจดการลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ทรงส่งคืนและให้นำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ ดังเดิม เพื่อสนองพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๓ ตราบเท่าทุกวันนี้

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ
ภาพโดยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย DIRI/โดยการเอื้อเฟื้อจากวัดพระเชตุพนฯ

     ลักษณะของ คัมภีร์ฉบับเทพชุมนุม มีใบลานปกหน้าและปกหลังตกแต่งด้วยลายรดนํ้าบนพื้นรักดำ เป็นภาพเทพชุมนุม คือภาพเทวดานั่งพนมหัตถ์ มีพัดรูปพุ่มข้าวบิณฑ์คั่นสับหว่าง มีลายดอกพุดตานใบเทศ ตกแต่งพื้นหลัง ตรงกึ่งกลางปกมีอักษรขอมบอกชื่อคัมภีร์อยู่ภายในกรอบ เป็นเส้นที่ชุบรักดำบนพื้นทองทึบ ภาพทั้งหมดอยู่ภายในกรอบที่ตกแต่งด้วยลายใบไม้เครือเถา อักษรข้อความในใบลานเป็นเส้นจารทั้งหมด ไม้ประกับคัมภีร์ตกแต่งประดับมุกบนพื้นรักดำ ลายช่อดอกไม้คล้ายดอกลำดวน มุกที่ประดับเป็นมุกไฟ มีสีเหลือบแดง สีฟ้า และสีเขียว ลายทั้งหมดอยู่ภายในกรอบ ที่กรอบเขียนลายคล้ายลายฮ่อ ไม้ประกับนี้บางครั้งเรียกว่าไม้ประกับประดับมุก

     คัมภีร์ฉบับเทพชุมนุม ของรัชกาลที่ ๓ นี้ ควรกล่าวได้ว่า เป็นคัมภีร์ที่ปรากฏหลักฐานธรรมกายที่ชัดเจนที่สุด กล่าวคือ “คาถาธรรมกาย” ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ประกอบด้วยคาถาธรรมกายมีความยาว ๒ หน้าลาน รวมกับส่วนที่เป็นบทอรรถาธิบายอีก ๑๔ หน้าลานจารเป็นภาษาบาลี โดยเฉพาะส่วนที่ควรกล่าวถึงคือเรื่องพระพุทธญาณและพระพุทธคุณต่าง ๆว่าเปรียบประดุจดั่งพระธรรมกาย


คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับรดนํ้าเอกหรือฉบับรดนํ้าดำ เอก

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

ภาพโดยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย DIRI/โดยการเอื้อเฟื้อจากสำ นักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ

    คัมภีร์ใบลานหลวง พระไตรปิฎกฉบับรดนํ้าเอกหรือรดนํ้าดำเอกนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสร้างเสร็จแล้วโปรดเกล้าฯ ให้เก็บไว้ในหอพระเจ้าภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งถือว่าเป็นฉบับที่ทรงสร้างอย่างประณีตที่สุดแต่ต่อมาถูกฝนและปลวกกินจนใบลานชำรุดเสียหาย ดังนั้นในรัชกาลต่อมาจึงโปรดเกล้าฯให้เคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ที่หอพระมณเฑียรธรรม


คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับรดนํ้าโท

 คัมภีร์ใบลานหลวงพระไตรปิฎกฉบับนี้มีลักษณะเหมือนฉบับรดนํ้าดำเอกทุกประการแตกต่างกันตรงที่ฝีมือสร้างยังเป็นรองฉบับรดนํ้าดำเอก ลวดลายจึงดูหยาบกว่าและไม่ประณีต อักษรข้อความในใบลานเป็นเส้นจารทั้งหมด ไม้ประกับคัมภีร์ตกแต่งประดับมุกทำเป็นลายช่อดอกไม้คล้ายลายฮ่อ


คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับรดนํ้าแดง
     พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างซ่อมเพิ่มเติมจนสมบูรณ์จาก ฉบับรดนํ้าแดง ในรัชกาลที่ ๒ ลักษณะคัมภีร์ใบลานปกหน้าและปกหลังตกแต่งด้วยลายรดนํ้าบนพื้นรักแดง

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

ภาพจากหนังสือ “คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์” สำ นักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
พิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๔๖


คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับทองน้อย

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

   สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คัมภีร์ใบลานหลวงผูกนี้มีปกหน้าและปกหลังปิดทองทึบตลอดใบลานและพบว่ามีคัมภีร์ช่อพระธัมมกายาทิ อยู่ด้วยคัมภีร์ผูกดังกล่าวมี ๓๒ หน้าใบลาน บริเวณกึ่งกลางปกหน้ามีอักษรขอมบอกชื่อคัมภีร์เป็นอักษรขอม ย่อเส้นชุบหมึกดำ ใบลานที่ ๒ ตรงกึ่งกลางหน้าลานมีอักษรบอกชื่อคัมภีร์เป็นเส้นจารขอบลาน โดยทั้ง ๔ ด้านปิดทองทึบอักษรข้อความเป็นเส้นจารทั้งหมด นับได้ว่าคัมภีร์ใบลานหลวงชุดนี้มีหลักฐานธรรมกายที่ชัดเจนอีกชิ้นหนึ่ง

     จากฉบับที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจพระมหากษัตริย์ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ คือ รัชกาลที่ ๑ ที่พระองค์มีพระราชศรัทธาจัดให้มีการทำสังคายนาและมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างคัมภีร์ใบลานหลวงหลายฉบับ ดังรายละเอียดที่นำเสนอในฉบับที่แล้ว (เดือนกันยายน ตอนที่ ๑๖) ส่วนในฉบับเดือนตุลาคมนี้ ผู้เขียนจะกล่าวเน้นถึงคัมภีร์ใบลานหลวงของรัชกาลที่ ๓ ที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลายฉบับดังกล่าวข้างต้น และกรณีพิเศษที่พระราชทานแก่พระอารามหลวง คือ ฉบับเทพชุมนุมที่พระราชทานไว้ ณ วัดพระเชตุพนวิมล-มังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

    ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงข้อความที่มีนักวิชาการบันทึกไว้ว่า “การสร้างคัมภีร์มีความถูกต้องและแม่นยำค่อนข้างสูง เพราะมีการตรวจทานกันหลาย ๆ ครั้ง จนสามารถนำไปใช้เป็นต้นฉบับแก่ฉบับอื่น ๆ ได้ และใช้คัดลอกต่อ ๆ กันมา ซึ่งถือเป็นมงคลยิ่งเพราะคัมภีร์ใบลานที่สร้างขึ้นโดยมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์นั้น จัดว่าเป็นหนึ่งในเอกสารโบราณ คือประเภทใบลานที่เรียกว่า “คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง” ดังตารางแสดงผลนี้

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

    ดังนั้น ในปัจจุบันที่มีการกล่าวกันว่าธรรมกายเป็นของใหม่หรือมิได้ปรากฏหลักฐานมาก่อนนั้น แต่ผู้เขียนและคณะนักวิจัยสถาบัน DIRI ได้พบหลักฐานรายละเอียดของธรรมกายในคัมภีร์ใบลานฉบับหลวงตั้งแต่ยุคสมัยเริ่มต้นการสถาปนากรุงเทพฯ ถึง ๒ รัชกาล ดังตารางข้างต้น ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก และเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า หลักฐานธรรมกายนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงมาตั้งแต่ยุคนั้น ขณะเดียวกันหลักฐานที่มีอยู่จริงของคัมภีร์เหล่านั้นก็สามารถเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับหลักฐานอื่น ๆ เช่น คัมภีร์ธรรมกาย อักษรธรรมล้านนา วัดป่าสักน้อย จ.เชียงใหม่และหลักฐานธรรมกายใน คัมภีร์มูลกัมมัฏฐานอักษรล้านนา ที่วัดป่าเหมือด จ. น่าน ตลอดจนหลักฐานธรรมกายที่พบในเอเชียอาคเนย์ตามสถานที่ต่าง ๆ ด้วย และในส่วนของการค้นพบหลักฐานดังกล่าวนี้ ทางผู้เขียนและนักวิจัยของสถาบันฯ DIRI จะตั้งใจศึกษาวิจัยลงรายละเอียดกันอีก โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการศึกษาร่องรอยการเผยแผ่พระพุทธ-ศาสนาของชนกลุ่มต่าง ๆ ทุกภูมิภาคทั่วโลกเพราะยิ่งมีการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดเอาจริงเอาจังมากเพียงใด ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งของมวลมนุษย์มากยิ่งขึ้น

อ้างอิง
   ๑. บทบรรยายสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว “การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา” คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
   ๒. บทความวิชาการ คู่มือการลงทะเบียนบัญชีคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทยของสมาคมอนุรักษ์เอกสารโบราณกรุงเทพฯ ๒๕๕๙

 

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗) , อยู่ในบุญ , วารสาร , อยู่ในบุญตุลาคม , อานิสงส์แห่งบุญ , นิตยสาร , หนังสือธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , พระสุธรรมญาณวิเทศ

หมายเหตุ

   ช่วงวันที่ ๙ กันยายนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปบรรยายเสวนาวิชาการเกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์พระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งได้นำเรื่องราวของการอนุรักษ์จากระบบดั้งเดิมที่ทำการสืบต่อโดยการเขียนหรือจารึกในเอกสารโบราณ เช่น ใบลานหนังสือไทย พับสา (ปั๊บสา) หรือในวัตถุอื่น ๆ เช่น ศิลาจารึก ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนสืบมาจนถึงปัจจุบันด้วยระบบการถ่ายไมโครฟิล์ม และพัฒนาต่อเนื่องมาถึงการถ่ายด้วยระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นวิธีการทำสำเนา หรือ Back up ได้หลาย ๆ ครั้ง ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ได้ยาวนาน และขยายผลการเผยแผ่ได้กว้างไกล

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล