ฉบับที่ ๑๗๔ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๐

ทำไม...ถึงสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์รูปทรงแบบนี้ ?ผิดไหม ? ใช่รูปจานบินไหม ?

เคลียร์ข่าววัด
เรื่อง : ร.ลิ่วเฉลิมวงศ์
Line ID : natchy1972

 

  ทำไม...ถึงสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์รูปทรงแบบนี้ ?ผิดไหม ? ใช่รูปจานบินไหม ?

 

ทำไม...ถึงสร้างพระมหาธรรมกายเจดีย์,เนื้อนาใน,อยู่ในบุญ

    จริงๆทางวัดไม่ได้สร้างเป็นรูปจานบินแต่สร้างโดยอาศัยหลักพุทธปรัชญา ความรู้จากการปฏิบัติธรรม และสถาปัตยกรรมของพระพุทธศาสนาในสมัยโบราณเป็นต้นแบบ

  ซึ่งหากย้อนยุคไปดูสถูปหรือเจดีย์ทางพระพุทธศาสนายุคแรกของโลกจากหลักฐานที่ค้นพบทางโบราณคดีแล้วจะพบว่า..สถูปหรือเจดีย์ยุคแรกของโลกที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอโศกหาราชนั้นเป็นทรงโอคว่ำ  ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม

   อีกทั้งจากหลักฐานทางโบราณสถานจำนวนมากก็แสดงให้เห็นว่า..สถูปหรือเจดีย์ยุคดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลมหรือทรงโดม ซึ่งพระมหาธรรมกายเจดีย์ก็เช่นกัน ไดสร้างตรงตามรูปแบบและหลักการในยุคดั้งเดิม คือ เป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลมหรือทรงโดม

  วิวัฒนาการของสถูปตั้งแต่ในยุคเริ่มแรก เรียงจากด๑-๔ Early Evolution of the Stupa (1)

 

   มหาสถูปสาญจีทรงโดมเป็นมหาสถูปทางพุทธศาสนายุคแรกที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓-๔
   ภาพจาก : oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2013/06/13/entry-14

 

   พระมหาธรรมกายเจดีย์ ยอดโดมของเจดีย์เป็นรูปทรงตามแบบเจดีย์ดั้งเดิมในอดีตกาล

 

 สถูปหรือเจดีย์ในยุคดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม

    ซากของหมู่สถูปเก่าแก่ในยุคโมริยะ-ศุงคะ-อานธระที่Deur Kothar Stupa ทางตะวันตกของรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔-๕ ซึ่งรูปแบบสถูปที่มีฐานกลมเช่นนี้มีเค้าแบบมาจากสถูปภารหุต-สาญจี (ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓-๔) และที่สำคัญ..สถูปรูปแบบนี้ถูกสร้างขึ้นมากมายหลายแห่งในอินเดียเหนือ คันธาระ และอินเดียใต้ไล่เรื่อยลงมาถึงกลุ่มสถูปในลังกาและในหมู่เกาะมัลดีฟส์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลังกาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖-๗

 

  มหาสถูปจันทวาราม (Chandavaram Stupa) ณเมืองสิงหราโกณฑะ (Singarakonda) อยู่ทางทิศใต้ของเมืองอมราวดี เริ่มสร้างในยุคศุงคะ แล้วมาปฏิสังขรณ์ใหม่ในยุคราชวงศ์ศาตวาหนะช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖-๗

 

  มกุฏพันธนเจดียสถานหรือสถูปรามภา-กา-ดิลา(Rambha ka tila Stupa) เป็นที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระณ เมืองกุสินารา (Kushinagar) รัฐอุตตรประเทศ อินเดียเหนือ อาจสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑-๓แต่มีการก่ออิฐขึ้นใหม่อีกครั้งในพุทธศตวรรษที่ ๕-๘
ภาพจาก : oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2013/06/13/entry-14

 

สถูปหรือเจดีย์ในยุคดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม

  มหาสถูปเชตวัน (Jetavanaramaya) ณเมืองโบราณ อนุราธปุระ สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๘

     สถูปโกลเหา (Kolhua Stupa) เป็นสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่ใกล้กับปาวาลเจดีย์เมืองเวสาลี รัฐพิหาร ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ด้วยอิฐสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖-๗

 

     สถูปวัดฟายาสเทเป เมืองเทอร์เมซประเทศอุซเบกิสถาน เป็นสถูปในพระพุทธศาสนาที่มีอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี
ภาพจาก : wikimapia.org/22350849/Fayaz-Tepe-Monastery-I-III-cc

 

  มหาสถูปเมืองฆัณฏศาลา (Maha StupaGhantasala) ศิลปะยุคศุงคะ-อานธระของราชวงศ์ศาตวาหนะ สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖-๗
 ภาพจาก : oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2013/06/13/entry-14

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องการออกแบบสร้างสถูปหรือเจดีย์ไว้อย่างไร ?

   จากบันทึกการจาริกของสมณะเสวียนจั้งหรือพระถังซำจั๋ง ในครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆมีบุรุษชื่อตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เข้ามาน้อมถวายสัตตุก้อนสัตตุผงเจือน้ำผึ้ง แล้วฟังธรรม และก่อนจากไปก็ได้ขอวัตถุสิ่งของที่เนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้บูชา ซึ่งพระองค์ก็ได้ประทานพระเกศ (ผม) และพระนขา (เล็บ) ที่ตัดแล้วให้ จากนั้นพวกเขาทั้งสองจึงได้ทูลถามถึงวิธีการสักการบูชาสิ่งที่เนื่องด้วยพระองค์ว่า
จะต้องทำอย่างไร

   ด้วยเหตุนี้..พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงกำหนดรูปแบบสถูปสำหรับบูชาขึ้น โดยนำผ้าสังฆาฏิพับวางเป็นทรงสี่เหลี่ยมไว้ด้านล่างแล้ววางซ้อนด้วยผ้าอุตราสงค์ ทับซ้อนด้วยจีวรตามด้วยบาตร แล้วจึงตั้งธงคทาขึ้นด้านบน

    ดังนั้น..รูปแบบสถูปหรือเจดีย์ทรงบาตรคว่ำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ จึงเป็นต้นแบบของการสร้างเจดีย์นับแต่นั้นมาดังตัวอย่างรูปทรงของสถูปสาญจี ซึ่งเป็นสถูปเก่าแก่ที่สร้างขึ้นราว ๒,๒๐๐ ปีก่อน ซึ่ง
มีรูปครึ่งทรงกลม โดยประยุกต์มาจากรูปทรงบาตรคว่ำ

  พระตถาคตเจ้าทรงนำผ้าสังฆาฏิพับวางเป็นทรงสี่เหลี่ยมไว้ด้านล่าง แล้ววางซ้อนด้วยผ้าอุตราสงค์ทับซ้อนด้วยจีวร ตามด้วยบาตร แล้วจึงตั้งธงคทาขึ้นด้านบน การตั้งขึน้ ตามลำดับเช่นนี้จึงกลายเป็นรูปทรงของพระสถูป

 “บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตกแห่งมหาราชวงศ์ถัง” พระไตรปิฎกจีนฉบับไทโช เล่ม ๕๑ หน้า ๘๗๓ บรรทัด
ที่ ๒-๑๓ [T51n2087_p0873a02(00) - 13(06)]

 

  พระปฐมเจดีย์ยุคแรกสร้างเป็นทรงโอคว่ำ เพราะถอดแบบการสร้างมาจากมหาสถูปสาญจี

       พระปฐมเจดีย์ ถือเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ยืนยันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิครั้งแรกโดยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระสมณทูต๕ องค์มาเผยแผ่ จนพระพุทธศาสนาปักหลักในประเทศไทยมาถึงยุคปัจจุบัน

      พระปฐมเจดีย์ถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๔ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงถวายแด่พระสมณทูตที่มาเผยแผ่ ซึ่งพระปฐมเจดีย์นี้ได้ถอดแบบการสร้างมาจากมหาสถูปสาญจี (มหาสถูปยุคแรกในพระพุทธศาสนา จากหลักฐานทางโบราณคดี) แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป พระปฐมเจดีย์ถูกบูรณะซ่อมแซมในยุคต่อ ๆ มา โดยสร้างองค์เจดีย์ที่มียอดแหลมขึ้นครอบเจดีย์องค์เดิมหลายครั้ง จนทำให้พระปฐมเจดีย์มียอดแหลมสูงขึ้นดังปัจจุบัน ตามประวัติการบูรณะดังนี้ (ข้อมูลจากหนังสือภาพจิตรกรรมฝาผนังพระปฐมเจดีย์ของวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร)

    พญาพาน ทรงสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ครอบเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ โดยมีความสูงระดับนกเขาเหิน

     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์รูประฆังคว่ำครอบเจดีย์ทรงปรางค์

     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประดับกระเบื้องเคลือบที่องค์เจดีย์ และสร้างระเบียงชั้นล่างรอบองค์เจดีย์ทั้ง ๔ ด้าน อีกทั้งเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธียกยอดพระ-
มหามงกุฎพระปฐมเจดีย์

     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ประดับกระเบื้องที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จ และปรับปรุง
 

ภาพจิตรกรรมฝาผนังอธิบายประวัติพระปฐมเจดีย์ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร

   พระโสณะเถระ (พระสมณทูต) ได้ชวนชาวบ้านให้ช่วยกันสร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำซึ่งถอดแบบมาจากมหาสถูปสาญจี

     พญาพานทรงสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ครอบเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ

     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์รูประฆังคว่ำครอบ
เจดีย์ทรงปรางค์

    พระวิหารต่าง ๆ และที่สำคัญทรงให้เขียนภาพจิตรกรรมแสดงความเป็นมาของพระปฐมเจดีย์ที่ตั้งซ้อนกันถึง ๓ องค์

 

 แบบจำลองแสดงการซ้อนกันภายในองค์พระเจดีย์

    ภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพระปฐมเจดีย์ที่ซ้อนกันในวิหารหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้เขียนไว้

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของรัชกาลที่ ๖ บรรจุใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ซึ่งถือเป็นการเสร็จสมบูรณ์

    ดูจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว แม้เจดีย์แห่งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิก็ยังสร้างเป็นทรงโอคว่ำ ซึ่งพระมหาธรรมกายเจดีย์ก็สร้างเป็นทรงโอคว่ำหรือทรงโดมเช่นกัน แล้วจะมากล่าวหาว่า..พระมหาธรรมกายเจดีย์สร้างผิดเพี้ยนจากหลักการได้อย่างไร...

 

พระธาตุพนมในยุคดั้งเดิมสร้างเป็นทรงเตี้ย

     มากไปกว่านั้น..ถ้าเราได้ศึกษาถึงประวัติศาสตร์การสร้างเจดีย์อย่างถ่องแท้จะพบว่าการสร้างเจดีย์ให้มียอดสูงแหลมนั้นเกิดขึ้นในยุคหลัง ๆ ดังวิวัฒนาการของ “พระธาตุพนม” ซึ่งเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ(กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็สร้างเป็นทรงป้อม ๆ เตี้ย ๆ โดยใช้ดินก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมแล้วเผาให้สุกขนาดกว้าง ยาว สูง อย่างละ ๒ วา จากนั้นได้มีการบูรณะจนมียอดแหลมสูงขึ้นเรื่อย ๆในยุคต่อ ๆ มา ดังรูป

สถูปอิฐพระธาตุพนมที่สร้างขึ้นในยุคแรกๆยังไม่ผ่านการบูรณะให้เป็นยอดแหลม

วิวัฒนาการของพระธาตุพนมตั้งแต่ยุคแรกถึงยุคปัจจุบัน เรียงลำดับจาก ๑-๔


   ภาพจาก : www.watpamahachai.net/Document12_2.htm

 

พระธาตุพนมยุคปัจจุบันที่ถูกบูรณะให้มียอดแหลม

 

พระมหาธรรมกายเจดีย์ พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์

 

       มหาสถูปเกสริยาที่สร้างแต่ยุคโบราณกาลมา มีลักษณะคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์มาก

  ภาพจาก : 2016pagoda.blogspot.com/2016/04/blog-post_2.html

  พุทธปฏิมากรจำนวนมากที่รายล้อมมหาสถูปเกสริยา

 ภาพพุทธปฏิมากรระยะใกล้ที่รายล้อมมหาสถูปเกสริยา

 สุดทึ่ง! มหาสถูปเกสริยาคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์มาก

   มหาสถูปเกสริยา มหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งเป็นมหาสถูปที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธเจ้าที่ประทานแก่ชาววัชชี ก็มี      ลักษณะคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์มาก และที่น่าทึ่งไปกว่านั้น..มหาสถูปเกสริยายังมีองค์พระปฏิมากรประดิษฐานอยู่รายล้อมองค์พระเจดีย์ คล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์ที่มีองค์พระปฏิมากรรายล้อมองค์พระเจดีย์อีกด้วย

 สร้างองค์พระปฏิมากรจำนวนมากรายล้อมเจดีย์บุโรพุทโธ

 เจดีย์บุโรพุทโธมีพุทธปฏิมากรรายล้อมคล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์

 อย่างกรณีของ เจดีย์บุโรพุทโธ ในประเทศอินโดนีเซียก็เช่นกัน เป็นเจดีย์ที่มีพุทธปฏิมากรรายล้อมองค์พระเจดีย์คล้ายพระมหาธรรมกายเจดีย์เหมือนกันจากหลักฐานทางโบราณสถานในพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าพระมหาธรรมกายเจดีย์สร้างขึ้นตรงตามหลักการยุคดั้งเดิมในประวัติศาสตร์ใกล้ยุค
พุทธกาลมากที่สุด

   ดังนั้น จะกล่าวหาว่าพระมหาธรรมกายเจดีย์สร้างผิดเพี้ยนได้อย่างไร ในเมื่อสถูปหรือเจดีย์ยุคดั้งเดิมเกือบทั้งหมดสร้างเป็นทรงโอคว่ำ ครึ่งทรงกลม หรือทรงโดม อีกทั้งเจดีย์หลายองค์ก็ยังมีพระปฏิมากรประดิษฐาน
บนเจดีย์อีกด้วย

 

 

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล