นิทานอีสป พร้อมคติสอนใจ

กากับหอยแมลงภู่

นิทานอีสป เรื่อง กากับหอยแมลงภู่
 

นิทานอีสป กากับหอยแมลงภู่ , กากับหอยแมลงภู่ , นิทานอีสป , อีสป , นิทานสอนใจ , นิทานอีสปสอนใจ , นิทาน , aesop fables , aesop , พุทธภาษิต , นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า , พุทธพจน์ , นิทานพื้นบ้าน , นิทานเด็ก , นิทานสอนเด็ก , นิทานการ์ตูน , การ์ตูน , การ์ตูนธรรมะ , การ์ตูนสี่สี , นิทานสี่สี , สัตว์น่ารัก , นิทานสัตว์ , การ์ตูนสัตว์ , กา , Rocks and mussels


      กาตัวหนึ่งออกไปหาอาหารที่ชายทะเล และพบหอยแมลงภู่ตัวหนึ่ง มันจึงพยายามใช้จะงอยปากของมันแงะเปลือกหอยนั้น แต่ก็ไม่มีท่าทีว่าฝาหอยจะเปิดออก กาอีกตัวบินผ่านมาจึงแนะนำว่า "ทำไมเจ้าไม่ลองคาบหอยขึ้นไปสูง ๆ แล้วปล่อยให้มันตกลงมากระแทกกับโขดหินดูล่ะ" เจ้ากาจึงลองทำตามที่กาอีกตัวแนะนำ พอเปลือกหอยแตกออก กาตัวที่ให้คำแนะนำก็รีบบินมากินหอยที่อยู่ในเปลือกทันที ก่อนจะหัวเราะเยาะและบินหนีไป

 

:: นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ::

จงอย่าเชื่อคำพูดของใคร โดยปราศจากการไตร่ตรอง

 

:: พุทธภาษิต ::

อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า 
(๑) ฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว) 
(๒) กระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร) 
(๓) เล่าลือกันอยู่ (อิติกิร) 
(๔) มีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาย) 
(๕) การใช้เหตุผลทางตรรกคาดคะเน (ตกฺกเหตุ) 
(๖) การใช้เหตุผลทางนัยะสันนิษฐาน (นยเหตุ) 
(๗) การตรึกตามอาการ (อาการปริวิตกฺก) 
(๘) ทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ)
(๙) ฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา) 
(๑๐) สมณะผู้พูดเป็นครูของตน (สมโณ โน ครุ)

บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๔๑-๒๔๘/๕๐๕.

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล