ฉบับที่ ๒๐๐ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๙)

บทความพิเศษ
เรื่อง : นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI


หลักฐานธรรมกาย
ในคัมภีร์พุทธโบราณ
(ตอนที่ ๔๙)

       บทนมัสการพระธรรมกายในพับสา : กุญแจดอกสำคัญของการสร้างพระพุทธรูปที่น้อมสู่การปฏิบัติธรรมภายใน

        ก่อนอื่นผู้เขียนขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้มีบุญทุก ๆ ท่านที่ได้ร่วมบุญใหญ่ในการเป็นส่วนหนึ่งในการสถาปนาอุโบสถพระไตรปิฎกของวัดพระธรรมกายในวันอาทิตย์ที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ (วันที่ ๗ เดือน ๗) อันถือว่าเป็นอุโบสถพระไตรปิฎกแห่งแรกของโลกที่ได้ยกเรื่องราวของธรรมกายที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทขึ้นมาสร้างไว้เป็นอนุสรณ์ให้พุทธศาสนิกชนทั้งปัจจุบันและอนาคตได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ซึ่งนับเป็นบุญใหญ่อีกบุญหนึ่งที่เราชาวพุทธควรปลื้มปีติใจร่วมกัน

      สำหรับในเดือนนี้ ต้องถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญอีกเดือนหนึ่งของพวกเราผู้เป็นลูกศิษย์หลานศิษย์แห่งวิชชาธรรมกาย เนื่องจากวันที่ ๒๗ สิงหาคม ของทุกปีนั้น เป็นวันคล้ายวันที่ระลึกถึงการก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ขององค์พระผู้สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ซึ่งก็นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดียิ่งที่ในเดือนอันเป็นมงคลนี้ ทางคณะทำงานของสถาบันฯ ก็ได้พบ “หลักฐานธรรมกาย” อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญและสามารถเชื่อมโยงไปถึงประวัติศาสตร์และวิถีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญได้อีกหลาย ๆ มิติ รวมถึงเรื่องของการปฏิบัติด้วย ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยกันอย่างละเอียดลึกซึ้งต่อไป

         จากในฉบับที่แล้ว ผู้เขียนได้ทิ้งท้ายไว้ถึงเรื่องคำอธิบายความอันน่าสนใจจากเอกสารงานวิจัยเรื่อง “ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องพุทธในเอกสารล้านนา” ของอาจารย์บำเพ็ญ ระวิน ซึ่งได้กล่าวถึงความสำคัญของพระรัตนตรัยไว้อย่างละเอียด มีการตีความถึงที่มาและสาระสำคัญของพระรัตนตรัยตามที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกออกมาให้เราเห็น ทั้งยังมีการอธิบายเรื่อง “พุทธภาวะ” ที่อยู่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เพื่อยืนยันถึงการมีอยู่จริงของพระองค์ท่านไว้ด้วยอย่างชัดเจน ซึ่งในจุดนี้เอง ผู้วิจัย (คือท่านอาจารย์บำเพ็ญ ระวิน) ก็ได้ชี้ให้เราเห็นถึงคุณค่าและความสัมพันธ์ระหว่าง “เวลาของการดำรงความเป็นพุทธะ” กับความยั่งยืนถาวรของ “ธรรมกาย” หรือพุทธภาวะอันเป็นนิรันดรว่าเป็นสิ่งที่สอดแทรกอยู่ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนามากมาย โดยเฉพาะในวรรณกรรมล้านนานั้นก็ล้วนปรากฏใหเห็นโดยทั่วไป การศึกษาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในผนื แผ่นดินล้านนานั้นเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เราได้พบองค์ความรู้และความจริงอันลึกซึ้งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพระรัตนตรัยได้อีกมากมายไม่รู้จบ

       ในเวลาหลายปีที่คณะทำงานของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ศึกษาวิจัยเรื่องราวหลักฐานธรรมกายในพื้นที่ภาคเหนือมานั้น คณะทำงานก็ได้มีโอกาสพบปะกับบรรดาครูภูมิปัญญา รวมทั้งนักปราชญ์ท้องถิ่นด้านพระพุทธศาสนาหลายแขนง รวมทั้งครูภูมิปัญญาที่มีความรู้ในด้านจารึก “อักษรตั๋วเมือง” หรืออักษรธรรมล้านนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลที่คณะทำงานของเราได้รับ ทำให้ได้ทราบว่าท่านอาจารย์สิงฆะ วรรณสัย นั้นก็เป็นครูภูมิปัญญาด้านอักษรตั๋วเมืองและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาอีกท่านหนึ่งที่เราควรให้ความเคารพและศึกษาถึงประวัติและการทำงานของท่านให้ละเอียดลึกซึ้งต่อไป

 

อาจารย์สิงฆะ วรรณสัย
ปราชญ์คนสำคัญของจังหวัดลำพูน

(Picture Source : http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/12/17/ประวัติและผลงาน-อาจารย์/)


       ท่านอาจารย์สิงฆะ วรรณสัย นั้น ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในแวดวงการศึกษาวรรณกรรมล้านนาที่มีความเอาใจใส่ต่อการศึกษา ค้นคว้า และอนุรักษ์วรรณกรรมล้านนามาอย่างยาวนาน ท่านเริ่มต้นเส้นทางสายนี้ด้วยการศึกษาพระบาลีในระหว่างบวชเป็นสามเณร โดยไปศึกษาที่วัดพระธาตุหริภุญไชยจนสามารถสอบได้เปรียญธรรมตั้งแต่ประโยค ๑-๔ ตามลำดับ ก่อนที่จะเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ในขณะเดียวกันกับที่ท่านกำลังศึกษาเพิ่มเติมเพื่อสอบเปรียญธรรมประโยค ๕ นั้น ท่านอาจารย์สิงฆะก็ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ของท่านให้เป็นผู้สอนสามเณรรุ่นหลัง ๆ ให้เข้าสอบเปรียญธรรมประโยคต้น ๆ เรื่อยมาจนกระทั่งท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ยังคงสอนอยู่เป็นเวลาอีกหลายปี

      ด้วยอุปนิสัยของการเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนของท่านอาจารย์สิงฆะเองที่ติดตัวท่านมาตั้งแต่เยาว์วัยแม้เมื่อท่านได้ลาสิกขาออกมาเพื่อดูแลบิดามารดาในช่วงเวลาต่อมา แต่ท่านยังมีความวิริยอุตสาหะในการเดินทางไปศึกษาค้นคว้าความรู้ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ในภายหลังเมื่อท่านได้เข้าทำงานเป็นครูประชาบาลจนถึงได้รับตำแหน่งเป็นครูใหญ่ก็ยิ่งเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ท่านได้ไป “ลงพื้นที่”ศึกษาค้นคว้าความรู้ตามโรงเรียนรอบนอก ไปค้นคว้าหาคัมภีร์ตามวัดวาอารามต่าง ๆ โดยทั่วไปอยู่เสมอ จนทำให้ท่านได้พบกับคัมภีร์เก่าแก่ที่สามารถนำมาคัดลอกไว้ หรือหาชาวบ้านที่มีความรู้พออ่านออกเขียนได้มาคัดลอกไว้ได้มากมาย ซึ่งเห็นได้ชัดว่าท่านอาจารย์สิงฆะ วรรณสัย คือ บุคคลที่สั่งสมไว้ซึ่งอุปนิสัยของ นักวิจัยเชิงคุณภาพและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (Ethnography and Qualitative Researcher) อย่างแท้จริงท่านหนึ่ง อีกทั้งเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลในการอนุรักษ์คัมภีร์โบราณมาตั้งแต่ต้นอย่างชัดเจน

    ยิ่งในภายหลังเมื่อท่านอาจารย์สิงฆะได้ลาออกจากการเป็นครูใหญ่แล้วย้ายมาสอนด้านภาษาและวรรณกรรมล้านนาที่คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ยิ่งทำให้ประตูของการส่งเสริมและอนุรักษ์วรรณกรรมล้านนาของท่านยิ่งเปิดกว้างมากขึ้น ในช่วงเวลานั้นท่านอาจารย์สิงฆะไม่เพียงเรียบเรียงตำราวรรณกรรมล้านนาขึ้นเท่านั้น ท่านยังพยายามฟื้นฟูและเผยแพร่ “อักษรตั๋วเมือง” ล้านนาออกไปอย่างแพร่หลายด้วย เพื่อหวังให้คนรุ่นต่อ ๆ มาสามารถอ่านออกเขยี นได้ โดยไม่ให้ถกู จำกัดอยู่แต่เพียงภาษาพูดอย่างเดียว ซึ่งจังหวะก้าวนี้ถือเป็นจังหวะก้าวที่สำคัญที่มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการศึกษาคัมภีร์โบราณล้านนาของนักวิจัยรุ่นต่อ ๆ มาโดยตรง

 

ศาสตราจารย์ฮาราล ฮุนดิอุส
(Prof. Dr. Harald Hindihus)

 

      การดำเนินการศึกษาและอนุรักษ์คัมภีร์โบราณล้านนาของท่านอาจารย์สิงฆะวรรณสัย ทำให้วรรณกรรมล้านนาสามารถก้าวออกไปยังแวดวงนักวิชาการต่างประเทศด้วย โดยศาสตราจารย์ฮาราล ฮุนดิอุส (Harald Hindihus) ชาวเยอรมัน ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งในภายหลังทั้งอาจารย์สิงฆะวรรณสัย และศาสตราจารย์ฮาราล ฮุนดิอุสมีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกันเป็นจำนวนมาก เช่น โครงการสำรวจคัมภีร์ใบลานในเขต ๘ จังหวัดภาคเหนือ ทำให้ได้พบวรรณกรรมล้านนา วรรณกรรมชาดกทั้งในนิบาตและนอกนิบาต พระไตรปิฎก คัมภีร์บทสวดสำคัญ ๆ จำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่า
ต่อการคงไว้ของพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง

 

พระธรรมนันทโสภณ (มนต์ คุณาธาโร ป.ธ.๓)
เจ้าอาวาสวัดช้างค้ำ จ.น่าน (ซ้ายบน)
ศาสตราจารย์ฮาราล ฮุนดิอุส
(Prof. Dr. Harald Hindihus) (ขวาบน)
อาจารย์อุบลพรรณ วรรณสัย (ขวาล่าง)
อาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม (ซ้ายล่าง)

 

อาจารย์อุบลพรรณ วรรณสัย
ผู้เชี่ยวชาญด้านล้านนาคดีศึกษา

 

       แม้ว่าท่านอาจารย์สิงฆะ วรรณสัยจากไปนานแล้ว แต่ทายาทของท่านคืออาจารย์อุบลพรรณ วรรณสัย ก็ยังเป็นผู้สืบสานงานของท่านอาจารย์สิงฆะต่อมา ทั้งในด้านการอนุรักษ์คัมภีร์ (การถ่ายภาพไมโครฟิล์มเก็บไว้เพื่อใช้ในการอ่านและปริวรรต) การอ่านคัมภีร์ตั๋วเมือง ตลอดจนการนำคัมภีร์ที่ถ่ายไมโครฟิล์มไว้มาพัฒนาเป็นการถ่ายในระบบดิจิทัล เป็นต้น ซึ่งได้ช่วยให้เส้นทางของการศึกษาเทียบเคียงความถูกต้องของคัมภีร์ที่พบตามวัดวาอารามต่าง ๆ นั้นมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ที่ในที่สุดแล้วได้ทำให้อาจารย์อุบลพรรณ วรรณสัย ได้พบกับหลักฐานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งก็คือ บทสวดเก่าแก่ในพับสาที่มีชื่อว่า “นมัสการธรรมกาย” นั่นเอง

      อาจารย์อุบลพรรณ วรรณสัย ได้เล่าให้คณะทำงานฟังว่า การพบบทสวดในพับสานี้ถือเป็นเรื่องอัศจรรย์เรื่องหนึ่ง เพราะโดยทั่วไปแล้วเรื่องที่มีการบันทึกไว้ในพับสานั้น “เขาไม่ค่อยจะบันทึกในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะหรือว่าวรรณกรรมมากเท่าไรนัก...เรื่องที่บันทึกไว้ในพับสาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของตัวผู้บันทึกเอง...แต่ในที่สุดก็ทำให้ได้มาพบเรื่องนมัสการธรรมกาย โดยที่หน้าปกเขียนไว้ว่าเป็นเรื่องของการภาวนา...ก็พบว่ามีหลายวิธีการเกี่ยวกับการภาวนาเรื่องกรรมฐานทั้งหลาย จนเปิดมาก็เจอ เราก็เปิดมาในช่วงท้าย ๆ พับสา เราก็เจอ เรื่องนมัสการธรรมกายที่มีระบุคำว่า ธรรมกาย อยู่หลายแห่ง ส่วนข้างบนเป็นภาษาบาลี ข้างล่างก็จะแปล...”1

       อาจารย์อุบลพรรณยังกล่าวอีกว่า บทสวดนมัสการธรรมกายที่พบนั้น มีระบุถึงชื่อเจ้าภาพผู้สนับสนุนการเขียนไว้อย่างเรียบร้อย มีชื่อผู้เขียน วัน-เวลาที่เขียนไว้ครบถ้วน โดยบทนมัสการธรรมกายนี้ ระบุไว้ว่าสามเณรรูปหนึ่งจากสำนักคณะเชียงยัน วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จ.ลำพูน อายุราว ๆ ๑๘-๑๙ ปีเป็นผู้เขียนไว้ อายุของพับสานี้น่าจะมีความเก่าแก่เกิน ๑๒๐ ปีแล้ว เพราะบันทึกไว้ตั้งแต่ปีจุลศักราช ๑๒๖๒ (พุทธศักราช ๒๔๔๓) ซึ่งเนื้อหาที่ปรากฏในบทนมัสการธรรมกายดังกล่าว เป็นการอธิบายถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระวรกายของพระองค์โดยตรง ตั้งแต่พระโมฬี (มุ่นพระเกศา)ลงมาจนถึงปลายพระบาท โดยในส่วนสุดท้ายของคำนมัสการธรรมกายนี้ยังมีกล่าวถึงอานิสงส์ของการสวดภาวนาบทนี้ไว้ด้วยว่า หากว่าใครหมั่นภาวนา หรือปรารถนาพุทธภูมิ พุทธภาวะคือความเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต หรือว่าปรารถนาที่จะเอานิพพานเป็นเป้าหมายก็จะสมความปรารถนา และยังมีอานิสงส์อีกส่วนหนึ่งคือหากผู้ใดหมั่นภาวนา (บทนมัสการธรรมกาย)นี้อย่างต่อเนื่องก็จะส่งผลมิได้ไปตกอบายภูมิ (คือมีแต่สุคติเป็นที่ไปโดยส่วนเดียว) ทั้งนี้เชื่อว่าบทนมัสการธรรมกายนี้น่าจะมีการนำไปคัดลอกและปริวรรตให้เป็นสำนวนที่สอดคล้องไปตามแต่ละพื้นที่ ทางล้านนาก็จะเป็นสำนวนทางล้านนา ทางภาคกลางก็เป็นของภาคกลาง ทางอีสานก็เป็นของอีสาน แต่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญก็น่าจะเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน2 ดังจะได้ยกบางส่วนของบทนมัสการธรรมกายมาเสนอไว้ในที่นี้ ดังนี้

 

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
พระอารามหลวง จ.ลำพูน


      “...พุทฺโธ อันว่าพระพุทธเจ้าตนที่รู้ยัง สัจจธัมม์ทั้ง อติวิโรจติ ก็รุ่งเรืองงามยิ่งนัก อญฺเญสํ เทวมนุสฺสานํ กว่าคนและเท (ว) ดาทล้าฝูงอื่น ยสฺส ตมุตฺตมงฺคาทิญาณํ      อนุสริตพฺพนฺติ อิมํ ธมฺมกายํ อันว่าหมู่ธัมม์ อันนี้ สพฺพญูตาทิกํ อันมีพระยาสัพพญูตญาณเป็นต้น ตํ ญาณํ อันว่า ประยาอันนั้น อุตฺตมงฺคาทิ..องค์อันประเสริฐมีหัวเป็นต้น ยสฺส ตถาคตสฺส อันพระพุทธเจ้าตนไดย อธิคตํ หากได้เถิงแล้ว วรํ นเมตํ โลกนายกํ อหํ อันว่าข้า นเมมวา นมามิ ก็น้อมไหว้ บัดนี้ ตํ พุทฺธํ ยังพระพุทธเจ้าตนนั้น วรํ อันเป็นตนประเสริฐ อุตตมฺมํ โลกนายกํ อันนำยังสตฺตโลก ออกจากสงสาร หื้อได้เข้าสู่นิพพาน อิมํ ธมฺมกายํ ยังพระธัมมกายอันนี้ พุทฺธลกฺขณํ เป็นลักขณแห่งพระพุทธเจ้า โยคาวจรกุลปุตฺเตน อันกุลบุตรตนประกอบด้วยเพียร ติกฺขญาเณน อันมีประยาอันกล้าคม ปตฺเถนฺเตน อันปรารถนา สพฺพญฺญูพุทฺธภาวํ ยังอันเป็น สัพพัญญูพุทธภาวะนั้น อนุสริตพฺพํ เพิงระนึกเถิงตาทิคุณ
แห่งพระพุทธเจ้า ปุนปฺปุนํ ไจ้ย ๆ คือว่าขึ้นปากขึ้นใจได้แล้วเพิงจำเริญ สวาทธิย...ไหว้พระเจ้าชูวันอย่าขาดก็อาจเป็นปรไจย..กวยาตนในภวอันนี้ (แล) อันหน้าพุ้น ได้เถิงมัคคผลนิพพานก็มีด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ธัมมกายมีทั้งฝ่ายนมสกานมีทั้งเคล้าแล้ว...”
3

 

ส่วนหนึ่งของพับสาว่าด้วยเรื่องภาวนา มีปรากฏระบุคำว่า “ธรรมกาย” (ในกรอบสีแดง) อยู่หลายแห่ง อาทิ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ อันมํธมฺมกายํ อิมํ ธมฺมกายํ เป็นต้น

 

     การค้นพบบทสวดนมัสการธรรมกายข้างต้นนี้ นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันถึงวิถีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอันหนึ่งที่น่าสนใจ (ดังที่คณะทำงานของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยได้เคยนำเสนอไว้หลายครั้งก่อนหน้านี้) นั่นก็คือวัฒนธรรมการสวดเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่พระพุทธรูป หรือการสร้างพระพุทธรูป ดังปรากฏในตำราการสร้างพระพุทธรูปเมืองพะเยา ก็ด้วยแนวคิดดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณว่า เมืองพะเยาเป็นเมืองแห่งพระเจ้าตนหลวง (วัดศรีโคมคำ) และเป็นเมืองแห่งสกุลช่างที่แกะสลัก “พระพุทธรูปหินทราย” ที่เรียกว่า “สกุลช่างพะเยา”4 ซึ่งนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา โบราณคดีหลายท่านได้มีการศึกษาและสำรวจตำราการสร้างพระพุทธรูปต่าง ๆ กันไว้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ได้พบเอกสารตำราดังกล่าวฉบับหนึ่งเรียกว่า “ตำนานสร้างพระเจ้า (พระพุทธรูป) ฉบับวัดเชียงหมั้น” ซึ่งตำนานนี้ เป็นเอกสารโบราณเขียนบันทึกไว้ในพับสา เรียกว่า “พับก้อม” เนื้อในบันทึกความรู้หลายเรื่อง นับแต่การแจงลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป สัดส่วนของพระพุทธรูป ตลอดจนพระคุณสมบัติสำคัญเรียกว่า ธรรมกาย การสร้างพระพุทธรูปดังกล่าวนี้ ถือเป็นสื่อให้รำลึกถึงกายธรรมของพระองค์ เมื่อกราบไหว้ ให้สวดคำสรรเสริญพุทธคุณน้อมเข้าในใจของตน เช่นเดียวกับการสร้างส่วนต่าง ๆ ของพระพุทธรูป นับแต่พระโมลีลงมาถึงพระบาท ก็มีบทสรรเสริญพุทธแต่ละอย่างให้เขียนลงในวัสดุต่าง ๆ เช่น แผ่นเงิน แผ่นทองคำ ทองแดง เหียก (ตะกั่ว) เป็นต้นตามแต่หาได้ สิ่งที่จัดหามานี้ได้ใส่พุทธคุณไว้แต่ละบท เรียกว่า “สร้างกายธรรม” แล้วนำไปบรรจุตามส่วนต่าง ๆ ของพระพุทธรูป บอกวิธีสร้างหัวใจพระพุทธรูป กำหนดขนาดของอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น หัวใจ ตับ ปอด ม้าม เอาไว้ชัดเจน และชี้แจงพิธีการสวดพุทธาภิเษกเอาไว้ด้วย ซึ่งก็ตรงกับทัศนะของ “องค์สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย” ที่ท่านได้เคยกล่าวไว้ว่าคุณลักษณะของพระธรรมกายนั้นมิได้เป็นแต่เพียงองค์ธรรมหมวดหมู่คำสอนเท่านั้น แต่เป็นประดุจดั่งพระวรกายที่แท้จริงภายในเลยทีเดียว ซึ่งทางคณะทำงานวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยกำลังศึกษาวิจัยอย่างละเอียดและจะได้นำเสนอต่อไป

 

 


สัมภาษณ์ อาจารย์อุบลพรรณ วรรณสัย บุตรสาวของท่านอาจารย์สิงฆะ วรรณสัย ครูภูมิปัญญาด้านจารึกอักษรตั๋วเมืองล้านนา, เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

สัมภาษณ์ คุณกำพล ฟูคำ ผู้ช่วยเก็บข้อมูลพื้นฐานการอนุรักษ์คัมภีร์โบราณของอาจารย์อุบลพรรณวรรณสัย, เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

คัดจากบางส่วนของบทนมัสการพระธรรมกาย อ่านเป็นภาษาล้านนา

อ้างอิงจากตำราการสร้างพระพุทธรูปจากคัมภีร์โบราณ http://phil-re4you.blogspot.com/2016/03/
blog-post_23.html

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล