ฉบับที่ ๒๐๖ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓

ถึงอย่างไรก็ยังต้องไปช่วยกัน

ดับไฟใต้
เรื่อง : มาตา

 

ถึงอย่างไรก็ยังต้องไปช่วยกัน

          ภาพของ “วิหารบรมพุทโธ” ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาสูงในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากชวนให้คิดถึงความรุ่งโรจน์โชติช่วงของพระพุทธศาสนาในประเทศนี้ เมื่อครั้งอดีตแล้ว ยังก่อให้เกิดความสลดใจในความเสื่อมสลายของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

           ปัจจุบันนี้ วิหารบรมพุทโธซึ่งบรรพชนชาวพุทธทุ่มแรงกายแรงใจร่วมกันสร้างถวายไว้ในพระพุทธศาสนา มีสถานะเป็นเพียงโบราณสถานแห่งหนึ่ง และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกลําดับที่ ๕๙๒ 

    ความเสื่อมสลายของพระพุทธศาสนาแบบที่เกิดกับประเทศอินโดนีเซียนั้น มีโอกาสที่จะเกิดกับประเทศไทยได้เหมือนกัน แบบอย่างในประวัติศาสตร์ก็มีให้เห็นชัดเจนขนาดนี้แล้ว ยิ่งในปัจจุบันพระพุทธศาสนาในประเทศเรากําลังอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง ก็ยิ่งประมาทไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปลายด้ามขวานทองซึ่งวิกฤตมานานแล้ว ดังที่ทราบกันทั่วไปว่า พระภิกษุในพื้นที่มีความยากลําบากเรื่องความเป็นอยู่และการปฏิบัติสมณกิจอย่างยิ่ง อีกทั้งยังต้องเสี่ยงอันตรายจากภัยมืดที่ไม่รู้ว่าจะมาถึงตัวเมื่อไร ดังนั้นการยืนหยัดอยู่ในพื้นที่จึงต้องอาศัยกําลังใจในระดับที่ไม่ธรรมดาเลย

               นี้จึงเป็นเหตุผลที่หลวงพ่อธัมมชโยเมตตาดําริให้มีโครงการถวายกําลังใจ และช่วยเหลือพระภิกษุในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยการจัดพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ ๓๒๓ วัด ๔ จังหวัดภาคใต้ (ปัตตานี ยะลานราธิวาส และสงขลา) เป็นเวลากว่า ๑๕ ปีมาแล้ว

 

               เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา วัดพระธรรมกายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งคณะกัลยาณมิตรจากทั่วโลก ก็จัดพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ ๓๒๓ วัด ๔ จังหวัดภาคใต้ และพิธีอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ในเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๔ จังหวัดภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา) ปีที่ ๑๕ ครั้งที่ ๑๔๙ รวมทั้งพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ ๑๒ ครั้งที่ ๑๑๔ ณ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี โดยมีพระโพธาภิรามมุนี เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส (ธรรมยุต) เป็นประธานสงฆ์ ซึ่งในโอกาสนี้พระภาวนาธรรมวิเทศ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นผู้แทนหมู่คณะวัดพระธรรมกายไปร่วมพิธีและมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ทหาร ตํารวจ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยด้วย

 

             ในฐานะชาวพุทธที่เปี่ยมศรัทธาในพระพุทธศาสนา คงไม่มีใครอยากปล่อยให้พระภิกษุ ผู้หยัดสู้เอาชีวิตเป็นเดิมพันรักษาพระพุทธศาสนาตกอยู่ในสภาพลําบากยากเข็ญ ปล่อยให้ชาวพุทธในพื้นที่ปราศจากขวัญกําลังใจ หรือทิ้งให้วัดวาอารามค่อย ๆ หายสาบสูญไปพร้อม ๆ กับการสูญสิ้นของพระพุทธศาสนาในพื้นที่นี้ จนกระทั่งอนุชนรุ่นหลังแทบนึกภาพไม่ออกว่า ครั้งหนึ่งบริเวณนี้เคยมีพระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก่อน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้คงน่าสลดใจไม่ต่างจากตอนที่เราเห็นบรมพุทโธ

             ดังนั้น เราจึงพยายามช่วยกันอย่างสุดกําลังมาเป็นเวลากว่า ๑๕ ปีแล้ว เพื่อให้สถานการณ์พระพุทธศาสนาดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็พยุงเอาไว้ไม่ให้วิกฤตไปยิ่งกว่านี้

 

แล้วคุณล่ะ ตอนนี้ยังมีส่วนร่วมกับโครงการนี้อยู่หรือเปล่า ?


 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล