ฉบับที่ ๑๓๔ เดือนธันวาคม ๒๕๕๖

ร้อยเรียงลาน...สืบสานพุทธธรรม

บทความพิเศษ
เรื่อง : Tipitaka (DTP)

 

ร้อยเรียงลาน...
สืบสานพุทธธรรม

 

บทความพิเศษ

 

      ด้วยความเชื่อที่ว่า พระพุทธศาสนาจะมีอายุยืนยาวถึง ๕,๐๐๐ ปี ปู่ย่าตายายของเราจึงอุตสาหะก่อสร้างถาวรวัตถุ และจารึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนวัสดุต่าง ๆด้วยความรักและหวงแหน โดยหวังสืบต่ออายุพระศาสนาให้ยืนยาวสู่อนุชนรุ่นต่อไป

 

บทความพิเศษ

 

บทความพิเศษ

 

          คัมภีร์ใบลานจัดเป็นเอกสารโบราณประเภทหนึ่งที่ยังคงพบเห็นได้ตามวัดพิพิธภัณฑ์ หรือหอสมุด คัมภีร์ที่ผ่านการสำรวจแล้วจะได้รับการขึ้นทะเบียน มัดจัดเก็บในห่อผ้าไว้เป็นอย่างดี แล้วจะถูกรักษาไว้ในหอไตรบ้าง ในหีบคัมภีร์บ้าง ในตู้กระจกบ้างทั้งนี้เพราะคัมภีร์ที่มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปีนี้ล้วนอยู่ในสภาพที่เปราะบาง ต้องได้รับการดูแลอย่างทะนุถนอมและระมัดระวังอย่างยิ่ง

       การเก็บรักษามัดห่อคัมภีร์ไว้อย่างดีนั้นนับเป็นเรื่องที่ควรส่งเสริมและน่าอนุโมทนา แต่ก็อาจทำให้ผู้สนใจศึกษาเข้าถึงตัวคัมภีร์โดยตรงได้ไม่สะดวกนัก อีกทั้งเมื่อมีวัสดุอื่น ๆเข้ามาแทนที่ เช่น หนังสือกระดาษหรือคอมพิวเตอร์ คนรุ่นหลังจึงไม่ค่อยรู้จักคัมภีร์ใบลาน หลายท่านอาจไม่ทราบเลยว่าสมบัติพระศาสนาอันล้ำค่าภายใต้ผ้าห่อคัมภีร์นั้นมีรูปลักษณ์เช่นไร

 

บทความพิเศษ

 

บทความพิเศษ

                                        หนังสือใบลานจะไม่ใช้ตัวเลขเรียงลำดับหน้า แต่จะใช้อักษรแทน เรียกว่า “อักษรบอกอังกา” จารไว้ที่
                                        ตรงกึ่งกลางริมซ้ายด้านหลังของใบลานแต่ละใบเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

 

      หากเปรียบเทียบคัมภีร์ใบลานกับหนังสือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามีส่วนประกอบหลักที่คล้ายคลึงกัน คือมีปกหน้า ปกหลัง สัญลักษณ์บอกหน้าหนังสือการเรียงลำดับหน้าและการเข้าเล่ม จะต่างกันที่วิธีการ วัสดุที่ใช้ และการเรียกชื่อที่ไม่เหมือนกัน

          หน้าแผ่นคัมภีร์ทำจากใบลานไม่ใช่กระดาษเหมือนทุกวันนี้  การเขียนอักษรลงบนแผ่นใบลานจึงต้องใช้การจารด้วยเหล็กแหลมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  มีเลขบอกลำดับหน้า เรียกว่า “อักษรบอกอังกา” เป็นตัวอักษรตามพยัญชนะภาษาบาลีซึ่งมีอยู่ทั้งหมด๓๓ ตัว โดยจารไว้ริมด้านซ้ายด้านหลังของใบลานแต่ละใบ

 

บทความพิเศษ

                                                                                 ตัวอย่าง คัมภีร์ใบลาน ๑ มัด ประกอบด้วย
                                                                                 ๑๐ ผูก ผูกละ ๒๔ ลาน ยกเว้นผูกสุดท้าย
                                                                                 ที่มีลานมากกว่าปกติ

 

     บทความพิเศษ     บทความพิเศษ     

บทความพิเศษ     บทความพิเศษ

                                                                          วิธีร้อยสายสนอง จะทำห่วงผูกไว้ที่ปลาย
                                                                          ข้างหนึ่ง แล้วเอาปลายอีกข้างหนึ่งร้อยเข้าไป
                                                                          ในห่วง โดยโอบรอบกึ่งใบลานด้านบน

             ใบลานที่จารแล้วจะถูกมัดรวมเป็นผูกโดยทั่วไปจะนับ ๒๔ ลานเป็นเกณฑ์ เมื่อจารครบ ๒๔ ลาน จะมัดรวมกันเรียกว่า“๑ ผูก” หากเนื้อหาที่จารยาวเกินไป ก็จะขึ้นผูกใหม่ คัมภีร์มัดหนึ่งจึงมีจำนวนผูกมากน้อยต่างกัน บางเรื่องอาจจบเพียง ๔ ผูกแต่บางเรื่องอาจยาวถึง ๒๐-๓๐ ผูกก็ได้ ผูกสุดท้ายพิเศษกว่าผูกอื่น ๆ เพราะโดยมากมีความยาวเกิน ๒๔ ลาน ส่วนที่เกินนับเป็นจำนวนลาน เช่น มี ๒๘ ลาน เรียกว่า๑ ผูก ๔ ลาน เป็นต้น

           เมื่อจะมัดใบลานรวมเป็นผูกก็จะใช้“สายสนอง” คือ ไหมหรือด้ายเป็นหูร้อยผูกใบลาน โดยร้อยตามรูที่เจาะเอาไว้ทางริมซ้ายเพียงข้างเดียว เรียกว่า “ร้อยหู” เมื่อจะอ่านคัมภีร์ก็คลายสายสนองออก และดึงเข้าให้แน่นสนิทเมื่ออ่านเสร็จแล้ว

 

บทความพิเศษ

                                                                              การอ่านคัมภีร์ใบลานแต่ละผูกจะต้องคลาย
                                                                              สายสนอง เพื่อให้คลี่หรือพลิกใบลานได้

            หนังสือเรื่องหนึ่งมีหลายผูกรวมกันเป็นคัมภีร์หนึ่งหรือมัดหนึ่ง เพื่อความแข็งแรงและสวยงาม เมื่อจัดเก็บจะมี “ไม้ประกับ” ขนาบ ๒ ข้าง เป็นปกหน้าและปกหลัง ลักษณะเป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่าใบลาน และหนาประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร ส่วนใหญ่ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้จันทน์ อาจมีการตกแต่งให้สวยงาม มีมากมายหลายประเภทเรียกตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ในการตกแต่ง เช่น ไม้ประกับไม้สักธรรมดา ไม้ประกับแกะสลัก ไม้ประกับประดับมุก ไม้ประกับประดับเกล็ดหอย ไม้ประกับประดับงา ไม้ประกับประดับกระจก ไม้ประกับลายทองจีน ไม้ประกับทาสีแดง ไม้ประกับรักทึบหรือทารักดำเป็นต้น

 

บทความพิเศษ

ไม้ประกับลายทองจีน

บทความพิเศษ
ไม้ประกับประดับมุก

บทความพิเศษ
ไม้ประกับขอบบัวลงรักลายไทย

บทความพิเศษ
ไม้ประกับทาสีแดง

บทความพิเศษ
ไม้ประกับทารัก

บทความพิเศษ
ไม้ประกับธรรมดา

 

           องค์ประกอบหลักของคัมภีร์ใบลานไม่ต่างจากหนังสือในปัจจุบันเท่าใดนัก เพียงแต่ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีการพิมพ์ยังไม่เฟื่องฟูนั้น คนโบราณได้สรรหา คัดเลือกวัสดุที่ดีที่สุด เพื่อนำมาใช้เก็บรักษาคำสอนอันทรงคุณค่า ตั้งแต่เลือกใช้ใบของต้นลาน ซึ่งเมื่อผ่านกรรมวิธีแล้วสามารถคงอยู่ได้นานกว่าใบไม้ชนิดอื่นมาจารตัวอักษรลงไป เลือกใช้ด้ายหรือไหมชั้นดีมาร้อยรัดใบลานแต่ละใบให้เป็นผูกเป็นมัด ไม้ประกับที่นำมาแทนปกหน้าและปกหลังก็ตกแต่งประดับประดาด้วยวัสดุที่คงทน สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงภูมิปัญญา และความรักความศรัทธาของบรรพชนที่ตั้งใจเก็บรวบรวม รักษา และสืบทอดคำสอนในพระพุทธศาสนาให้ลูกหลานได้ศึกษา รักษา และสืบทอดต่อไป.

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล