นิทานอีสป ตอน มองต่างมุม

ประเพณีที่ควรยกเลิก

นิทานอีสป เรื่อง ประเพณีที่ควรยกเลิก
 

นิทานอีสปภาษาอังกฤษ , นิทานอีสป , อีสป , นิทานสอนใจ , นิทานอีสปสอนใจ , นิทาน , aesop fables , aesop , พุทธภาษิต , นิทานสั้น , นิทานสั้นพร้อมข้อคิด , นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า , พุทธพจน์ , นิทานพื้นบ้าน , นิทานเด็ก , นิทานสอนเด็ก , นิทานการ์ตูน , การ์ตูน , การ์ตูนธรรมะ , การ์ตูนสี่สี , นิทานสี่สี , สัตว์น่ารัก , นิทานสัตว์ , การ์ตูนสัตว์ , การ์ตูนไทย , ธรรมะ , ธรรมะออนไลน์ , พุทธประวัติ , การ์ตูนเด็กดี , ศาสนาพุทธ , พระพุทธศาสนา , สื่อธรรมะ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สื่อสีขาว , Tale , cartoon , กัลยาณมิตร , นิทานธรรมะออนไลน์ , การ์ตูนเด็ก , ภาพการ์ตูนสวย , การ์ตูนคุณธรรม , รักการอ่าน , บันทึกรักการอ่าน , อีสป , นิทานอีสป รวมนิทานอีสปพร้อมภาพประกอบ ข้อคิดสอนใจ , fairy tale , อีสป , อีสบ, ประเพณีที่ควรยกเลิก, สิงโต, ช้าง


             เมื่อครั้งที่ช้างเป็นเจ้าป่านั้น สัตว์ทั้งหลายต้องหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันหาอาหารมาให้มันกินทุกวัน เจ้าป้าจึงมีความสุขสบายไม่ต้องหากินเอง และสัตว์ทั้งหลายก็ต้องยำเกรงคอยรับใช้ใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา

             ต่อมาเมื่อช้างสิ้นอำนาจวาสนา สิงโตก็ได้เป็นเจ้าแห่งสัตว์บำทั้งหลาย มันทำตรงข้ามกับช้างทุกอย่าง ราชาสิงโตสั่งให้บรรดาบริวารเลิกหาอาหารมาให้มันกินและให้เลิกมาคอยรับใช้มัน

             ครั้นมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าการกระทำทั้งสองอย่างนั้นเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาช้านานแต่ครั้งโบราณกาล จึงควรกระทำต่อไป สิงโตก็ให้เหตุผลว่า

             "ประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาลนั้นหาได้เป็นสิ่งดีทุกอย่างเสมอไป เราควรรักษาสิ่งดีไว้และทิ้งสิ่งไม่ดีเสีย ประเพณีปฏิบัติทั้งสองอย่างนั้นเปิดโอกาสให้เจ้าป่าเอาเปรียบบริวารของตนอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เป็นหัวหน้าที่เห็นแก่ตัวและอยู่
อย่างสุขสบายท่ามกลางหยาดเหงื่อแรงงานของบริวาร ประเพณีที่ควรค่าแก่การปฏิบัติควรเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความสุข ก่อให้เกิดความรักความสามัคคี ทำให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็น ไม่เอาเปรียบกัน และพึ่งพาอาศัยกันได้"

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล