วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ บริหารเวลาด้วยกาลัญญู

DOU ความรู้สากล
เรื่อง : พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ.๙

บริหารเวลาด้วยกาลัญญู

บริหารเวลาด้วยกาลัญญู


      ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ ผ่านไปแล้ว ก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ เราจะพบว่า เวลาชีวิตของเรานั้นผ่านไปอย่างรวดเร็วเพียงไม่นานก็ครบรอบ ๑ ปี และสิ่งนี้จะเป็นวัฏจักรที่เกิดขึ้นทุกปี เราจึงควรบริหารเวลาให้ดี เพื่อให้เวลาผ่านไปอย่างมีคุณค่า เพราะเวลาที่ผ่านไปนั้น นำเอาความแก่ชรามาให้เราพร้อมกับนำวัยอันสดใสและความแข็งแรงไปจากเรา นอกจากนี้เวลายังนำโอกาสดี ๆของชีวิตให้ล่วงเลยผ่านไป และท้ายที่สุดก็นำความตายมาให้

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นคุณค่าของเวลาชีวิต และทรงให้แนวทางแก่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาในการบริหารเวลา ดังนี้

       “ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียรนี้เป็นกาลหลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถามนี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญูแต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู”

      สำหรับฆราวาสผู้ครองเรือน ก็ควรนำหลักกาลัญญูมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยหลักการบริหารเวลาในเบื้องต้นก็คงคล้าย ๆ กับของพระภิกษุ คือ เริ่มจากการมองเห็นคุณค่าของเวลาที่มีอยู่ว่าสำคัญ และต้องใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองให้ได้มากที่สุดที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิต หน่วยงาน หรือองค์กรในระยะยาว เป็นต้น

       ๓. ภารกิจไม่สำคัญแต่เร่งด่วน ได้แก่เรื่องเล็กน้อยทั่ว ๆ ไป เช่น การรับโทรศัพท์ที่กำลังดัง เป็นต้น

   ๔. ภารกิจไม่สำ คัญและไม่เร่งด่วน เช่นการไปเที่ยวเตร่เฮฮาหรือการไปชมภาพยนตร์ที่ไม่ได้มีผลดีต่อตนเอง เป็นต้นในภารกิจเหล่านี้ หากจัดตามลำดับความสำคัญ คนในทางโลกคงให้ความสำคัญกับภารกิจที่ ๒ คือ “สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน”

 

ในภารกิจเหล่านี้ หากจัดตามลำดับความสำคัญ
คนในทางโลกคงให้ความสำคัญกับภารกิจที่ ๒
คือ ‘สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน’ เป็นอันดับแรก
ส่วนภารกิจสำคัญและเร่งด่วน
อยู่ในลำดับรองลงมา


      เมื่อมีแนวคิดอย่างนี้ จะทำให้เวลาที่มีอยู่ถูกนำไปใช้ในเรื่องที่สำคัญที่สุดก่อนเสมอเช่นเดียวกับหลักการบริหารเวลาในทางโลกที่มักจะใช้วิธีแบ่งภารกิจการงานที่ต้องทำ      ออกเป็น ๔ รูปแบบ คือ

       ๑. ภารกิจที่สำคัญและต้องทำเร่งด่วน เช่น ภารกิจฉุกเฉินทั้งหลาย หรืองานเฉพาะหน้างานสำคัญที่จำเป็นต้องรีบทำอย่างเร่งด่วนเป็นต้น

     ๒. ภารกิจที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เช่น งานในด้านการวางแผนหรือกำหนดนโยบายเป็นอันดับแรก ส่วนภารกิจสำคัญและเร่งด่วนอยู่ในลำดับรองลงมา ทั้งนี้เนื่องจากว่า ภารกิจสำคัญที่ไม่เร่งด่วนนั้น แม้จะยังไม่ส่งผลกระทบในระยะสั้นแต่อย่างใด แต่ถ้าหากนิ่งนอนใจไม่เร่งรีบทำไว้ โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนและนโยบาย ก็จะส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อความก้าวหน้าของงาน หรือต่อองค์กรนั้น ๆในอนาคต สำหรับภารกิจสำคัญและเร่งด่วนนั้น แม้จะมีความสำคัญต้องรีบทำก็จริง แต่ก็มักส่งผลในระยะสั้น และนาน ๆ จึงจะมีให้ทำสักครั้งหนึ่ง

 

บริหารเวลาด้วยกาลัญญู
 

    จากเหตุปัจจัยดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แม้หลักการบริหารเวลาในทางโลก ก็ยังให้ทุ่มเวลาไปกับภารกิจสำคัญก่อน ดังนั้นหากจะนำกาลัญญูมาปรับใช้ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของฆราวาส ก็สามารถทำได้ไม่ยาก นอกเหนือจากการทำมาหากินเพื่อแสวงหาปัจจัย ๔ มาเลี้ยงชีวิต ตนเองและครอบครัว แล้วควรบริหารเวลาจากกาลทั้ง ๔ ออกเป็น ๒ ภารกิจด้วย คือ

      ๑. เวลาเพื่อการเรียนและการสอบถาม คือ การศึกษาหาความรู้ในทางธรรม และพบปะสนทนากับผู้รู้ ซึ่งอาจเป็นพระหรือฆราวาสที่มีหลักในการใช้ชีวิต เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตรงตามเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์

       ๒. การประกอบความเพียรและการหลีกออกเร้น คือ การทำทาน รักษาศีล และปฏิบัติธรรม ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างรากฐานการดำเนินชีวิตที่มั่นคง ที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข ไม่มีอุปสรรคเกิดขึ้น หรือหากเกิดขึ้นก็สามารถใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกวิธี

      ในเมื่อฆราวาสก็ต้องบริหารเวลาเพื่อการสร้างบารมี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชีวิตเช่นกัน แต่การจะบรรลุเป้าหมายได้นั้น คงต้องฝึกปฏิบัติด้วยวิธีที่เหมาะกับเพศภาวะของตนซึ่งในที่นี้ก็คือ การฝึกฝนตนเองผ่านการทำทานรักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ดังนั้นจึงต้องฝึกบริหารเวลาไป เพื่อใช้ในการ

- ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทาน ศีล และภาวนา อย่างจริงจัง

- นำมาฝึกปฏิบัติตามที่ได้ศึกษามานั้นและหมั่นตอกย้ำซ้ำเดิมเรื่อยไป

      ด้วยวิธีนี้ผู้เป็นฆราวาสก็ย่อมจะได้รับประโยชน์อันยิ่งใหญ่ คือ การได้นำชีวิตของตนเองให้เข้าใกล้กับเป้าหมายชีวิตอย่างแท้จริง  

    ในช่วงศักราชใหม่ปี ๒๕๕๙ นี้ เป็นปีที่นักสร้างบารมีจะได้สั่งสมบุญใหญ่ตั้งแต่ต้นปีทั้งต้อนรับพุทธบุตรโครงการธรรมยาตราฯบวชสามเณรล้านรูป และอีกหลาย ๆ บุญที่จะได้ทำตลอดทั้งปี ดังนั้นขอให้ทุกท่านบริหารเวลาในชีวิตให้ดี ใช้ช่วงเวลาตลอดปีใหม่นี้เก็บเกี่ยวบุญ ทั้งทาน ศีล และภาวนา เพื่อให้ได้ชื่อว่า เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมีอย่างแท้จริง

 


จากหนังสือ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๕๙ เดือนมกราคม ๒๕๕๙

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล