วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓๔)

บทความพิเศษ
เรื่อง : นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI

หลักฐานธรรมกาย
ในคัมภีร์พุทธโบราณ
(ตอนที่ ๓๔)

ร่องรอยธรรมกายในผืนแผ่นดินล้านนา

               ในฉบับที่แล้ว ผู้เขียนและคณะนักวิจัยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้กล่าวถึงการค้นพบร่องรอยหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พระพุทธศาสนาในประเทศจีน ที่พระเกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย กำลังศึกษารวบรวมอยู่อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการทำสมาธิในคัมภีร์จีนยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๐” ซึ่งสามารถชี้ได้ว่า ในการปฏิบัติธรรมแบบพุทธานุสติอย่างโบราณของจีนในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ได้สอนให้ผู้ปฏิบัติเริ่มต้นโดยการวางใจไว้ที่กลางท้อง ซึ่งการเอาใจวางไว้ที่กลางท้องนั้น จะทำให้ผู้ปฏิบัติค่อย ๆ เกิดประสบการณ์ “การเห็นองค์พระผุดซ้อนเป็นชั้น ๆ ได้” ซึ่งตรงกับหลักฐานธรรมกายอื่น ๆ หลาย ๆ ชิ้น ที่กล่าวไว้เกี่ยวกับธรรมกายและช่วยยืนยันได้อีกทางหนึ่งว่า เรื่องราวของหลักฐานธรรมกายนั้นเป็นเรื่องราวที่มีคุณค่า เป็นเรื่องราวที่ให้คำตอบเชื่อมโยงไปสู่ “พระสัพพัญญุตญาณ และพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” และการปฏิบัติ (ธรรม) ทั้งสิ้น ซึ่งไม่แตกต่างวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวงไปจากหลักฐานธรรมกายชิ้นต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทยดังที่เคยกล่าวมาแล้ว

                สำหรับในฉบับนี้ การค้นพบของนักวิจัยและสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยยิ่งเป็นสิ่งที่น่าปีติยินดีมากขึ้นไปอีก ได้แก่ การค้นพบ “คาถาธรรมกาย” เพิ่มขึ้นอีกในผืนแผ่นดินล้านนา


วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง


วัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร พระอารามหลวง
ภาพประกอบ www.108plus.com


วัดภูมินทร์
ภาพประกอบ www.museumthailand.com


วัดป่าเหมือด
ภาพประกอบ www.facebook.com


วัดนาหวาย


               ทั้งนี้ จากการศึกษาค้นคว้ามาอย่างต่อเนื่องของนักวิจัยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยและจากเครือข่ายวิชาการที่สถาบันฯมีอยู่อย่างกว้างขวาง ทำให้เราได้ทราบว่าเป็นเวลานานมาแล้วที่นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจากตะวันตกหลายท่านมีความสนใจศึกษาคัมภีร์โบราณ เช่น ท่าน Francois Bizot และท่าน Donald K. Swearer เป็นต้น


Mr.Francois Bizot
ภาพประกอบ www.gettyimages.com

                โดยท่าน Francois Bizot เป็นผู้ที่มีความสนใจศึกษาคัมภีร์โบราณ และรูปแบบการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธในประเทศกัมพูชาและไทย ท่านมีบทความมากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมแบบโบราณ “การเห็นดวงแก้ว” หรือประเด็นของการเป็น “พระอริยสงฆ์ภายในสมาธิ” เป็นต้น ซึ่งผลงานของท่านถือว่ามีความสำคัญกับวิชาการหลายแขนง เช่น ด้านมานุษยวิทยา (Anthropology) เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน EFFO อันเป็นแหล่งรวบรวมคัมภีร์ใบลานที่สำคัญรวมทั้งคัมภีร์ธรรมกายด้วย


Mr.Donald K. Swearer
ภาพประกอบ www.patheos.com


หนังสือ “Becoming the Buddha”
แต่งโดย Mr.Donald K. Swearer

ภาพประกอบ https://books.google.co.th

              ส่วนท่าน Swearer ก็เช่นกัน ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาในภาคเหนือของประเทศไทย มีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป โดยท่านมีทัศนะว่าพิธีพุทธาภิเษกนี้คือ การ “ทำให้พระพุทธรูปมีชีวิต” และเห็นว่าบทสวดในพิธีพุทธาภิเษกที่พบนั้นมีความสำคัญ โดยได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ “Becoming the Buddha” ภายหลังท่าน Swearer คือผู้หนึ่งที่พบคัมภีร์พระธรรมกายในล้านนาที่ถูกนำมาใช้สวดประกอบพิธีพุทธาภิเษกด้วย


                 ในส่วนของ “คาถาธรรมกาย” ที่นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้พบล่าสุดนี้ พบที่วัดศรีมงคล (ก๋ง) จ.น่าน1  ซึ่งทางวัดโดยพระครูรังษีธรรมานันท์ เจ้าอาวาสเป็นผู้รักษา รับสืบทอด และทรงจำไว้ โดยได้เมตตาสาธยายคุณของคาถาธรรมกายนี้ให้คณะนักวิจัยของสถาบันฯ ที่ได้ไปศึกษาเก็บข้อมูลด้วย นับว่าเป็นที่น่าปลื้มปีติใจอย่างยิ่ง อนึ่ง คาถาธรรมกายนี้ หลวงปู่ก๋ง (พระครูมงคลรังสี) นามเดิม “พรหมา” คณาจารย์ผู้จดจารคาถานี้ ได้เคยอุปเทศไว้ว่า “กุลบุตรใดก็ดี เพียงได้สวดบูชาคาถาธรรมกายได้นมัสการบูชาองค์พระพุทธรูปหรือองค์พระเจดีย์ที่ได้บรรจุคาถาธรรมกายนี้ไว้ หรือได้เขียนพระคาถา (ธรรมกาย) นี้ลงในแผ่นทองบรรจุไว้ในพระพุทธรูปหรือพระเจดีย์แล้วจะมีอานิสงส์ใหญ่ แม้ปรารถนาพุทธภูมิ (ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า) หรือตั้งจิตอธิษฐานสิ่งใดก็ดี ก็จะสมความปรารถนาเพราะการสร้างพระพุทธรูปก็ดีพระเจดีย์ใหญ่ก็ดี ที่ผ่านการพุทธาภิเษกด้วยคาถาธรรมกายนี้ ก็เสมอด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านยังทรงพระชนม์อยู่ทีเดียว และหากวัดใดก็ดี อารามใดก็ดี ที่มีคาถาธรรมกายประดิษฐานอยู่ ก็จะย่อมส่งผลทำให้วัดวาอารามนั้นตั้งมั่นเจริญรุ่งเรือง เพราะคาถาธรรมกายนี้อยู่ในตำราก่อสร้างพระพุทธรูปและพระเจดีย์ใหญ่ตามแบบอย่างโบราณ ต่างได้สืบมาจากแก้วมณีรัตนะมาแลฯ”


               ในที่นี้ เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในบทสวดคาถาธรรมกายดังกล่าวพบว่า คาถาธรรมกายนี้ มีการยกเอาธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระฉัพพรรณรังสี จตุตถฌาน (ฌาน ๔) สมันตจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามารวมไว้ในบทสวดคาถาธรรมกายนี้อย่างครบถ้วน เสมือนเป็นการสาธยายถึง “ความเป็นพุทธะ” คือ พุทธคุณและพุทธานุภาพอันไม่มีประมาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (อาทิ จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลโก) และการตรัสรู้ชอบของพระองค์เอง รวมทั้ง “จารีต” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯลฯ มาจารึกไว้ในบทสวดนี้ด้วยเป็นอาทิ

             สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของคาถาธรรมกายนี้ก็คือ การที่ผู้จารได้สาธยายคุณขององค์ธรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องเป็นคุณเครื่องของการปฏิบัติเอาไว้อย่างลึกซึ้ง เช่น เริ่มตั้งแต่ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ หิริโอตตัปปะ อิทธิบาทธรรม ๔ ประการ จนถึงมรรคมีองค์ ๘ และปฏิจจสมุปบาทธรรม ฯลฯ โดยจดจารึกไว้ด้วยภาษาล้านนาโบราณ แต่สิ่งที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งของคาถานี้ก็คือ การกล่าวถึงเรื่องของ “จารีต” (วิถีหรือข้อปฏิบัติอันยิ่งยวด) ในการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า ซึ่งเท่ากับว่าในคาถาธรรมกายนี้ มีจุดมุ่งหมายสูงสุดที่จะให้ผู้สวดสาธยายได้ตรึกระลึกถึงพระคุณอันไม่มีประมาณในการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยโดยตรง เสมือนกับการน้อมนำ “พระพุทธคุณ ๙ ประการ” เข้ามาไว้ในใจขณะสวดสาธยาย เช่นเดียวกับเวลาที่เราภาวนา “สัมมาอะระหัง” ตามแบบอย่างที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของเราได้สอนไว้ อันเป็นความคล้ายคลึงกันอย่างน่าอัศจรรย์อย่างไรก็ตามในประเด็นที่น่าสนใจนี้ ผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษารวบรวมและจะนำมาเสนอให้ท่านผู้อ่านได้ปลื้มใจและร่วมอนุโมทนากันต่อไป 

 

(โปรดอ่านต่อฉบับหน้า)

 

 


วัดศรีมงคล (ก๋ง) เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ แหล่งเผยแผ่พุทธธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของนครน่าน มีท่านพระครูรังษีธรรมานันท์เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน จุดเด่นของวัดศรีมงคล (ก๋ง) แห่งนี้ นอกจากเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์มงคลธรรมรังสี” (หอคำหลวง) ซึ่งเป็นแหล่งเก็บรวบรวมสิ่งของโบราณที่ทรงคุณค่า แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาของท้องถิ่นแล้วยังเป็นสถานที่อนุรักษ์ตำรายาโบราณ บทสวดคาถาธรรมกายอันล้ำค่า และเป็นพระอารามที่สนับสนุนการปฏิบัติธรรมที่สำคัญด้วย

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๘๕ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล