วิสัยหเศรษฐี
ผู้ให้... ผู้มีชัยเหนือความตระหนี่
เมื่อวันทอดกฐินที่ผ่านมากัลยาณมิตรทุกท่านคงจำ กันได้ถึงเสียงใสๆ จากใจมหาทานบดีว่า "ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน พร้อมด้วยบริวารทั้ง หลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อมรรคผลนิพพาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ"
และเสียงก้องกังวานที่น่าประทับใจจากพระสงฆ์ที่กล่าวรับผ้ากฐินว่า
"ผ้ากฐินทานพร้อมด้วยบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้เป็นของบริสุทธิ์ ประดุจเลื่อนลอยมาจากนภากาศ แล้วตกลงในท่ามกลางสงฆ์ มิได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นของภิกษุรูปใด... เมื่อเห็นสมควร แก่ภิกษุรูปใด จงมอบให้ภิกษุรูปนั้นเทอญ...."
ภาพของสาธุชนที่มาร่วมงานในวันทอดกฐิน เป็นภาพที่น่าประทับใจปลื้มปีติใจเป็นอย่างมาก ลูก ทุกคนได้ทุ่มเท ทั้ง'ทุ่ม' คือมีเท่าไหร่ก็ทุ่มลงไปจนหมดกำลังสติปัญญาความสามารถ ทั้ง 'เท' คือมิทรัพย์ เท่าไหร่ก็เทลงไปฝากฝังสมบัติไว้ในพระพุทธศาสนา เพราะเราต่างก็ตระหนักดีอยู่ว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่ากาลเวลาเป็นสิ่งที่มีความหมาย เราต่างมีชีวิต อยู่ในโลกนี้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ช้าก็จะต้องจากไป แม้ทรัพย์สมบัติภายนอกที่มีอยู่ เราก็ไม่สามารถจะเอาติดตัวไปได้ สิ่งที่จะติดตัวเรา ไปมีแต่บุญกับบาปเท่านั้นเอง ถ้าหากเราสั่งสมบุญ ชีวิตเราก็จะมีคุณค่า เกิดมาแล้วมีชีวิตไม่สูญเปล่า เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เพราะเราได้ใช้วันเวลาอันน้อยนิดที่มีอยู่ในโลกนี้ สร้างบารมีอย่างเต็มที่โดยไม่ประมาทเช่นเดียวกับพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน
"ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก" เมื่อคนอื่นอยากจะได้ แต่นักสร้างบารมี ใจคิดแต่จะให้ เมื่อคิดจะให้ ความเบิกบานใจก็บังเกิดขึ้น ยิ่งได้ให้ก็ยิ่งมีแต่จะได้รับ เมื่อไม่ให้มีแต่จะหลบออกไปจากใจมหาชน เฉกเช่นพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย เมื่อได้ตัดสินใจ เด็ดเดี่ยวสร้างบารมี เพื่อมุ่งบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านได้เปลี่ยนจากการเป็นผู้รับมาเป็นผู้ให้โดยตลอด ให้ได้แม้กระทั่งชีวิต ถึงแม้จะ รักและหวงแหนชีวิตมากเพียงไร แต่ใจท่านรักโพธิญาณมากกว่าจึงยอมสละชีวิตได้ ไม่ว่าจะเกิด มากี่ภพกี่ชาติ เมื่อเห็นว่าวิธีการใดที่จะเป็นไปเพื่อการได้มาซึ่งบุญญาบารมีและความบริสุทธิ์ที่แท้จริงที่เป็นไปเพื่อการหลุดพ้นจากกิเลลอาลวะทั้งหลาย ท่านจะตัดสินใจทำทันทีโดยปราศจากความลังเล ทำให้ท่านมีบารมี เต็มเปี่ยม ดังเรื่องของวิสัยหเศรษฐี
วิสัยหเศรษฐี ความตระหนี่มีค่าแค่ศูนย์
ในอดีตกาล มีเศรษฐีท่านหนึ่งชื่อวิสัยหะ มีใจรักในการให้ทาน ท่านรักการให้ทานเป็นชีวิตจิตใจ เหมือนลมหายใจที่ขาดไม่ได้ ได้บริจาคทรัพย์ทุกวันๆ ละ ๖ แสน ทั้งยังชักชวนทุกคนในครอบครัวให้ทำทานและรักษาศีลอยู่เป็นประจำ ชื่อเสียงที่ดีงามของท่านจึงฟังขจรไปทั่วสารทิศ ใครได้ยินก็มีจิตเลื่อมใส จนได้รับความเคารพยกย่องนับถือไปทั่วชมพูทวีป ประดุจพระจันทร์วันเพ็ญที่รุ่งเรืองกว่าหมู่ดาวทั้งหลาย
เสียงแซ่ช้องสาธุการดังก้องไปถึงสวรรค์ชาวสวรรค์ได้กล่าวขานถึงท่านเศรษฐีเป็นประจำจนเป็นเหตุให้ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปรารถนาจะทดลองใจท่านว่ามีความศรัทธาไม่หวั่นไหวในการให้ทานแค่ไหน จึงดลบันดาลให้สมบัติแม้ทาสและกรรมกรของท่านเศรษฐีหายวับไปหมด แม้จะได้ยินเจ้าหน้าที่แผนกจัดทานมาบอกว่า ขณะนี้ในโรงทานไม่มีอาหารอะไรที่จะบริจาคแล้วจิตใจของท่านเศรษฐีก็ยังแน่วแน่มั่นคงท่านเศรษฐีตระหนักว่า
"ทาน คือชีวิตของเรา ชีวิตที่ปราศจากการให้ เป็นชีวิตที่ไร้ประโยชน์ ถึงอย่างไรเราก็จะไม่หยุดให้ทาน ท่านเศรษฐีได้ปรารภกับศรีภรรยา แล้วบอกให้ไปค้นหาทรัพย์สมบัติให้ทั่วเรือนว่ามีทรัพย์อะไรที่จะพอบริจาคทานได้บ้าง ภรรยาได้ไปค้นหาจนทั่วเรือนแล้ว ไม่พบสิ่งของใดซึ่งพอจะให้ทานได้เลย พบเพียงเคียวเกี่ยวหญ้าด้ามหนึ่ง คานและเชือกมัด หญ้าเท่านั้น ท่านเศรษฐีจึงชวนภรรยาออกไปเกี่ยวหญ้าเพื่อนำไปขาย จากมหาเศรษฐีต้องลดตัวมาเกี่ยวหญ้า ก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับท่านเลย เพราะเมื่อมีจิตคิดจะให้ ก็ไม่มีอะไรมาเป็นอุปสรรค เมื่อได้ทรัพย์มาแล้ว ส่วนหนึ่งท่านได้นำไปซื้ออาหาร อีกส่วนหนึ่งได้แบ่งให้ทาน แต่เมื่อมีผู้อยากได้อาหารนั้น ท่านก็ยังให้อาหารทั้งหมดแก่คนขอทาน
ท่านเศรษฐีได้ทำเช่นนี้ติดต่อกันถึง ๖ วัน พอถึงวันที่ ๗ ในขณะที่ท่านเศรษฐีกำลังหาบหญ้ามานั้น เนื่องจากท่านอดอาหารติดต่อกันมาหลายวัน ท่านจึงเกิดอาการหน้ามืดตาลาย แล้วเป็นลมล้มลงไป พระอินทร์ผู้เฝ้าดูอยู่เห็นอาการของท่านเศรษฐีมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อท่านเศรษฐีได้สติ จึงตรัสถามว่า
"เมื่อก่อนนี้ ท่านมีทรัพย์สมบัติมาก แต่ต้องยากจนลงสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะการให้ทาน ไม่ได้ช่วยอะไรท่านเลย เพราะฉะนั้นต่อจากนี้ไป ท่านไม่ควรให้ทานอีก เมื่อท่านประหยัด ทรัพย์สมบัติก็จะเพิ่มขึ้น ถ้าท่านให้ปฏิญญาแก่ เราว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ท่านจะไม่ให้ทานอีก ท่านก็จักได้เป็นมหาเศรษฐีตามเดิม"
ท่านเศรษฐีค่อยๆ ลืมตาขึ้นดู แล้วถามว่า "ท่านเป็นใคร" พระอินทร์ตอบว่า "เราเป็นท้าวสักกะ" เศรษฐีกล่าว ว่า "ธรรมดาท้าวสักกะย่อมสรรเสริญการให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ และต้องบำเพ็ญวัตตบท ๗ ประการ จึงได้เป็นท้าวสักกะ แต่ไฉนวันนี้ พระองค์จึงทรงห้ามการให้ทานเสียเองเล่า" ท่านเศรษฐีถามกลับไปด้วยความสงสัย
ท้าวสักกะเมื่อเห็นว่าไม่อาจจะห้ามท่านเศรษฐีได้ จึงตรัสถามว่า "ท่านให้ทานเพี่อประโยชน์อะไร" ท่านเศรษฐีกล่าวว่า "ข้าพเจ้าให้ทานเพราะมิได้ปรารถนาจะเป็นอะไรๆ แต่ปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณ" ท้าวสักกะได้สดับแล้ว จึงชื่นชมท่านเศรษฐี และบันดาลให้ทรัพย์สมบัติของท่านเศรษฐีบังเกิดขึ้นมากมาย ใช่ไม่มีวันหมด เมื่อแน่วแน่ในการให้ทาน จากการที่ไม่มีทรัพย์อะไรเลย กลับกลายเป็นมีทรัพย์จนใช้ไม่หมด ตั้งแต่นั้นมาท่านเศรษฐีก็ได้ทุ่มเทในการให้ทาน อย่างสุดกำลัง ทำอยู่อย่างนี้จนตลอดอายุขัย
จะเห็นได้ว่า หัวใจพระโพธิลัตวในกาลก่อนนั้น ไม่ว่าจะถึงคราวขัดสนยากจน ท่านก็ไม่เคยท้อแท้ในการให้ทาน เพราะทานบารมีเป็นบารมีแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์จะต้องสร้างให้เต็มเปี่ยม เพื่อเป็นเครื่องสนับสนุน ในการสร้างบารมีอื่นๆ ได้สะดวกสบาย ดังนั้นทานบารมีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะขาดไม่ได้
ภาพแห่งความปีตินี้ ติดใจท่านมาจนกระทั้งเป็นพระบรมศาสดาของเรา เฉกเช่นกัลยาณมิตรที่ได้ทุ่มเท สร้างมหาทานบารมีไว้เป็นภาพแห่งความปีติเมื่อวันทอดกฐินที่ผ่านมา จะติดอยู่ในใจต่อไปจนถึงภพเบื้องหน้า จะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงใจให้มีความสุข ความอิ่มอกอิ่มใจตลอดเวลา เมื่อถึงคราวประพฤติปฏิบัติธรรม ก็จะเป็นเหตุให้เราได้ รู้แจ้งแทงตลอดในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างง่ายดายเป็นอัศจรรย์