คอลัมน์สไมล์เวิลด์ฉบับนี้จะพาท่านผู้อ่าน เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นค่ะ ญี่ปุ่น เป็นดินแดน ที่เริ่มรับแสงอรุณรุ่ง ก่อนประเทศใดในโลก เป็นประเทศหมู่เกาะ ในมหาสมุทร แปซิฟิก ทางฝั่งตะวันออก ของทวีปเอเชีย หมู่เกาะญี่ปุ่น ทอดตัวเป็นรูปโค้ง เหมือนพระ จันทร์ เสี้ยว มีความยาวทั้งสิ้น ๓,๘๐๐ กิโลเมตร ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อย ประมาณ ๖,๘๐๐ เกาะ มีเกาะที่สำคัญใหญ่ๆ ๔ เกาะ คือ ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ และกิวชิว ด้วย ลักษณะทางภูมิประเทศที่เป็นเกาะ ทำให้ญี่ปุ่นต้อง เตรียมพร้อมกับ สถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว และคลื่นลมมรสุม เป็นต้น อย่างไร ก็ตามลักษณะภูมิอากาศของญี่ปุ่นทั้ง ๔ ฤดู ทำให้ญี่ปุ่น เป็นประเทศ ที่น่าอยู่น่า ท่องเที่ยว เป็นอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นเป็นชนชาติ ที่มีขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมอันเป็น เอก ลักษณ์อย่างเด่นชัด และมีประวัติศาสตร์ที่ ยาวนานนับพันๆ ปี โดยชาวญี่ปุ่น ได้รักษาเอก ลักษณ์ เหล่านี้และนำมาผสมผสาน กับเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ประเทศ ญี่ปุ่น เป็นประเทศ ผู้นำในหลายๆ ด้าน ถึงแม้ญี่ปุ่นจะได้รับอารยธรรม และวัฒนธรรม จากต่างประเทศเข้ามา แต่ชาวญี่ปุ่น ก็นำมา ประยุกต์และผสมผสาน จนกลายเป็น วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ดังตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัด ที่สุดคือ ตัวหนังสือ ซึ่งมีถึง ๓ แบบ คือแบบฮิรางานะ ที่เป็นตัวอักษรของญี่ปุ่นเอง แบบตัวคันจิ ซึ่งดัดแปลง มาจากภาษาจีน และตัวอักษร แบบคาตากานะที่ใช้ เพื่อออกเสียง ทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
ภาพลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นดูราวจะขัดแย้งกันเองในตัว คือแม้มีความรีบเร่ง แออัด วุ่นวายสับสน ในแหล่งชุมชนใหญ่ๆ แต่ก็ไม่แย่งไม่แซงกัน เพราะทุกคนมีวินัย ต่อ ตนเอง และหมู่คณะ อีกมุมหนึ่งที่น้อยคน จะได้สัมผัส คือ ความเป็นเจ้าบ้านที่แสนจะน่ารัก เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้มาเยือน ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อทุกคนที่เขาได้รู้จัก ความอดทน ต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา จะเห็นได้จากหลังพ่ายแพ้ใน สงครามโลก ครั้งที่ ๒ ชาวญี่ปุ่นสามารถพลิกพ้นประเทศ จนกลายมาเป็น ผู้นำชาวโลก ได้ในระยะเวลา อันสั้น ด้วยคุณธรรมที่ดีถึง ๓ ประการ ได้แก่ ความมีวินัย เคารพ อดทน ซึ่งคุณธรรม เหล่านี้ถ้าใครทำได้ นอกจากจะเป็นที่รักแล้ว ยังทำให้ชีวิตของตน มีความเจริญ รุ่งเรืองอีกด้วย
การผสมผสานสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างลงตัวมีให้เห็นอยู่ทุกที่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ที่กรุงโตเกียว ซึ่งปัจจุบัน เป็นเมืองหลวงของประเทศ และเป็นเมืองที่มีประชากร หนาแน่นเป็นอันดับ ๒ ของโลก เมืองนี้เป็นประดุจโลกแห่งธุรกิจ การเงิน การธนาคาร ความบันเทิง
และ ณ เมืองหลวงของดินแดนอาทิตย์อุทัย แห่งนี้ ได้มีสถานที่สำหรับการพัฒนา ทางด้านจิตใจ ก่อตั้งขึ้น เป็นสถานที่แห่งการสั่งสมบุญสั่งสมบารมี ให้แก่ผู้ที่แสวงหาความสุข ที่แท้จริงท่ามกลาง กระแสแห่ง ความเจริญรุ่งเรือง ทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีต่างๆ นั่นก็คือ ศูนย์ปฏิบัติธรรมโตเกียว จุดเริ่มต้นของ ศูนย์ปฏิบัติธรรมโตเกียว
จุดเริ่มเมื่อวันวิสาขบูชาที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๓ เมื่อสมเด็จพระพุทธชินวงศ์และตัวแทน คณะสงฆ์จากวัดพระธรรมกาย เดินทางมาที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อ มอบ พระพุทธรูป ปางมารวิชัยให้กับ วัดโคคุไคจิ เมืองฮิโรชิมา เป็นการเชื่อม สัมพันธ ไมตรีระหว่าง พระพุทธศาสนาของไทย และของญี่ปุ่น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔ พระภิกษุ รุ่นบุกเบิก ก็ได้เดินทางมาจำพรรษา ณ ประเทศญี่ปุ่น และได้รวม กลุ่มนิสิต นักศึกษา มาปฏิบัติธรรม กันทุกเดือนที่หอพักนักศึกษา โซชิกายา และในปีต่อๆ มา มีพระภิกษุเดิน ทางม าจำพรรษาเพิ่มเป็น ๕ รูป จึงได้เช่าอาคารแห่งหนึ่งเป็นที่ตั้ง ศูนย์ปฏิบัติธรรมขึ้น เพื่อรองรับผู้ที่มาปฏิบัติธรรม และบำเพ็ญบุญ ซึ่งนับวันมีจำนวน มากขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั่งวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๓ เป็นวันเปิดศูนย์ปฏิบัติธรรมโตเกียว อย่างเป็นทางการ ณ อาคาร ๖ ชั้น นับเป็นศูนย์สาขา แห่งแรกของวัดพระธรรมกายใน ทวีปเอเ ชีย
ศูนย์ปฏิบัติธรรมโตเกียวมุ่งสร้างคนดีให้กับสังคม โดยมุ่งเน้นใน การเผย แผ่และนำหลักธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปปฏิบัติให้เกิดผลขึ้นจริงเพื่อให้ได้พบกับ ความสุขในตัว และเป็นที่พึ่ง ให้กับตนเองได้ กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นล้วนเป็นไป เพื่อเผย แผ่พระสัทธรรม ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กับชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะ เป็น การบูชาข้าวพระ การทอดผ้าป่า ทอดกฐิน และพิธีกรรม ทางศาสนา ทุกกิจกรรม เช่น กิจกรรมเทเหล้า-เผาบุหรี่
นอกจากนี้ ศูนย์ปฏิบัติธรรมโตเกียวยังได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการเผยแผ่วัฒนธรรม อันดีงามของไทย ให้เด็กไทยในญี่ปุ่น ได้เรียนรู้ และยังเป็นสถานที่สำหรับ แลกเปลี่ยน วัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมญี่ปุ่นอีกด้วย ศูนย์ปฏิบัติธรรมโตเกียวแห่งนี้ คือสถานที่ใน การสร้างบารมี อีกแห่งหนึ่งในต่างแดนที่เกิดขึ้น เพื่อเผยแผ่ หลักคำสอนของ องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้แผ่ขยายออกไปอันจะนำไปสู่ สันติสุขภายในที่แท้จริงให้เกิดขึ้น
ที่อยู่ศูนย์ปฏิบัติธรรมโตเกียว
|