ในกรณีที่เรามีพินัยกรรมแล้ว แต่ยังต้องมีผู้จัดการมรดก เพราะความแตกต่างของทรัพย์สินมี 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้ครอบครองสิทธิ์ เช่น เงินสด หรือของใช้ที่ไม่มีการระบุชื่อ ซึ่งผู้รัพินัยกรรมสามารถแบ่งทรัพย์สินนั้นๆ กันได้เอง
ประเภทที่ 2 ทรัพย์สินระบุชื่อผู้ครอบครองสิทธิ์ เช่น บัญชีเงินฝากธนาคาร รถยนต์ บ้าน ที่ดิน เป็นต้น ทรัพย์สินเหล่านี้ต้องมีผู้จัดการมรดกเป็นผู้ดำเนินการให้ ซึ่งสำหรับผู้จัดการมรดกจะต้องมีการแต่งตั้งโดยศาล โดยมีการร้องขอที่ศาลให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกนี้
หน้าที่ของผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกทำหน้าที่แบ่งทรัพย์สินให้กับทายาทที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมว่าใครจะได้รับมรดกอย่างไร โดยกฎหมายมีข้อกำหนดว่า ผู้จัดการมรดกต้องเป็นบุคคลที่ผู้ทำพินัยกรรมระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมว่า เป็นผู้จัดการมรดกหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตลง โดยผู้จัดการมรดกสามารถยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอรับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้ในกรณีนี้ผู้จัดการมรดกไม่จำเป็นต้องเป็นญาติพี่น้องเสมอไป อาจจะเป็นทนายความเพื่อนของเจ้าของมรดก หรือบุคคลใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม
ส่วนในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ระบุชื่อผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรม ต้องสรรหาผู้ที่จะมาเป็นผู้จัดการมรดกโดยอาจจะเป็นทายาทหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพินัยกรรมฉบับนั้น สามารถไปร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แต่อย่างไรก็ตามศาลต้องเป็นผู้แต่งตั้งก่อนเสมอ อีกกรณีหนึ่งที่ทายาทอาจจะเป็นเด็ก ผู้ไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริต ในกรณีนี้อัยการสามารถร้องต่อศาลเพื่อขอเป็นผปู้จัดการมรดกได้ ในกรณีที่ผู้ตายมีทรัพย์มรดก แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทายาทเสียชีวิต หรือติดต่อไม่ได้แล้ว หรือเจ้าของมรดกไม่มีทายาท ทรัพย์สมบัติจะตกเป็นของแผ่นดินต่อไป
การทำพินัยกรรมเป็นการมอบทรัพย์สมบัติของเราที่หามาได้ทั้งชีวิตให้กับผู้อื่นหลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้ว ในขณะเดียวกันเราควรจะหันมามองตนเองด้วยว่า เราจะสร้างอะไรให้กับตนเองหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว อย่าลืมว่า สิ่งที่เราสามารถเก็บเกี่ยวไปได้ทุกที่ คือ "บุญ" เท่านั้น เพราะฉะนั้น การสร้างบุญในระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ เปรียบเสมือนการทำพินัยกกรรม เพื่อเราจะได้ใช้บุญของเรา ได้ในอนาคตหรือชีวิตหลังความตายของเรานั่นเองทรัพย์สินที่เราสามารถมอบให้ผู้อื่นได้ มี 2 แบบ คือ โภคทรัพย์ สมบัติซึ่งเป็นวัตถุทั้งหลาย และอริยทรัพย์ ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ เราอาจจะมอบทั้งทรัพย์สินเงินทองให้แก่ลูกหลานหรือทายาทในขณะเดียวกันเราต้องไม่ลืมมอบอริยทรัพย์ ซึ่งก็คือความรู้ทางธรรมให้เขาด้วย
-----------------------------------------------------------------------------------------
" หนังสือ Secret of Love รักลูกอย่างไรไม่ให้เสียน้ำตา "
โดย พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ