พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน

วันที่ 22 กพ. พ.ศ.2547

kampee470222.jpg

โดย พระเทพโสภณ (ประยูร มีฤกษ์), ศาสตราจารย์.

 

.....จากเนื่องในโอกาสการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมคุณภรณ์ (ไพบูลย์ กตปุญโญ ป.ธ.๘) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานี้ ทำให้การเผยแพร่หนังสือดีที่น่าสนใจถูกจัดพิมพ์ขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

.....ภายในหนังสือนี้ ได้กล่าวถึงสิ่งที่ท้าทายและความเหมาะโอกาส ซึ่งกำลังเผชิญอยู่ในโลกสมัยปัจจุบันนี้ กลายเป็นสิ่งที่ยุ่งยากโดยเฉพาะ เมื่อศาสนามีความโน้มเอียงที่แสดงตัวอย่างของประเพณีเก่าในโลกซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเพณีเก่าจะถึงสมัยขาดความจำเป็นไปแล้ว โดยขณะเดียวกัน ความรวดเร็วของความเปลี่ยนแปลงได้ฉุดลากสังคมทั่วโลกให้ไปสู่ความไม่มีระเบียบ ทำให้พลังศาสนาที่มีเสถียรภาพกลายเป็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างขาดไม่ได้อีก

.....สาระเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนด้วยกัน คือในเรื่องแรก กล่าวถึง”พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน” ที่อ้างอิงดูประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธ จนถึงความเป็นไปขององค์กรคณะสงฆ์ อีกทั้งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพระมหากษัตริย์ , การให้บริหารทางสังคมและกิจกรรมด้านการศึกษาด้วยกัน และจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เรียกร้องให้พระสงค์มีการปรับตัวเข้ากันได้อย่างเหมาะสม มุ่งหวังให้พระสงฆ์อาจจะต้องเตรียมตัวให้ดียิ่งขึ้น ในการเผชิญกับสิ่งยั่วยวนที่ทวีเพิ่มขึ้นของโลกยุคสมัยใหม่มากกว่าที่จะเลือกหลบซ่อนตัวอยู่ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว โดยรูปแบบวิธีการสอนพระพุทธศาสนาต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน

.....ในเรื่องที่สองเกี่ยวกับ “การต้อนรับสภาผู้นำศาสนาโลก” ประกอบด้วยผู้แทนจากศาสนา ๑๒ ศาสนาและอีก ๓๙ ประเทศ การประชุมสุดยอดผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลกในสหัสวรรษ กับสิ่งที่ท้ายและต้องเผชิญหน้ากับศาสนาทั่วโลก ที่ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้นำเอาลัทธิประเพณีที่แตกต่างกันเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกันและกันยิ่งขึ้น แต่กลับเป็นสิ่งที่มันจะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันและความรู้สึกเป็นปรปักษ์ต่อกัน ที่หากเป็นสรรพาวุธสมัยใหม่แล้วก็นำไปสู่ความเจ็บปวดรวดร้าวใจอย่างไม่เคยมีมาก่อน

.....เรื่องที่สาม “ภาวะผู้นำทางจิตวิญญาณและการสร้างสันติภาพ” ได้มีสตรีหลายศาสนาจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุมด้วยอันถือว่าเป็นผลตรงของการประชุมสุดยอดครั้งนี้ โดยมีการเรียกร้องให้ยุติการแข่งขันในระหว่างศาสนา เพศ และองค์กร ให้หันมาสามัคคีทำงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดสันติภาพ รวมทั้งพิทักษ์รักษาความอุดมของความหลากหลายไว้ด้วย โดยมีข้อสรุปถึงท่าทีของพระพุทธศาสนาต่อการสร้างสันติภาพ ๓ ขั้นคือ การป้องกันและการสลายความขัดแย้ง และความประนีประนอมกัน. ซึ่งทั้งหมดนี้พิมพ์เผยแพร่ ในนามของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ในการจัดงานที่ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม กาญจนบุรี.


 

สุพัฒนะ.

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0035705804824829 Mins