ทิศ ๖ คือผู้ลิขิตชีวิตมนุษย์ (ตอนที่ ๒)

วันที่ 11 กพ. พ.ศ.2547

kampee470211.jpg

     ความรู้ความสามารถทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างน้อยที่มารดาบิดาพึงมีก็คือ

๑) การเป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล
๒) การมีหิริโอตตัปปะ
๓) การมีความอดทน
๔) การรู้ลักษณะนิสัยของมิตรเทียมและมิตรแท้
๕) การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดีก่อนแต่งงาน


.....อนึ่ง มีสำนวนไทยโบราณว่า “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น” หมายความว่า ลูกย่อมไม่แตกต่างจากพ่อแม่มากนัก เช่นถ้าพ่อแม่มีคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการครบทั้ง ๔ ประการ ลูกย่อมจะได้รับการปลูกฝังอบรมให้มีคุณสมบัติเหมือนพ่อแม่ด้วย ยกเว้นในกรณีที่พ่อแม่ ปล่อยให้การเลี้ยงดูปลูกฝังอบรมลูกๆ เป็นภาระหน้าที่ของผู้อื่น หรือทิศเบื้องล่าง

.....ในประวัติศาสตร์จีนปรากฏว่า ผู้มีภาระหน้าที่ในการเลี้ยงดูโอรสธิดาขอฮ่องเต้ คือเหล่าขันที ซึ่งถือว่าไม่ใช่คนปกติ เพราะฉะนั้นหน่อเนื้อของฮ่องเต้ก็ย่อมจะได้รับอิทธิพลจากทิศเบื้องล่าง มากกว่าทิศเบื้องหน้า จึงอาจจะมีพฤติกรรมวิปริตไปด้วยบ้าง

.....และที่แน่ๆ ตัวพ่อแม่เองจะต้องมีวินัย นั่นคือจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดี ให้พร้อมตั้งแต่ก่อนแต่งงาน

       หน้าที่รับผิดชอบของบุตร

.....พระพุทธองค์ทรงกำหนดให้เป็นอริยวินัย หรือหน้าที่ของบุตรที่ต้องปฏิบัติเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อมารดาบิดา ให้ดูเป็นตัวอย่าง ๕ ประการ คือ

.....๑. ท่านเลี้ยงเรามาเราจักเลี้ยงท่านตอบ ในข้อนี้ บุตรที่ได้รับการปลูกฝังเรื่องสัมมาทิฏฐิมาดี ย่อมเต็มใจปฏิบัติ และปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

.....๒. ช่วยทำการงานของท่าน บุตรจะทำได้สำเร็จก็ต่อเมื่อมีความอดทน มีความรับผิดชอบ และมีความรู้ความสามารถดีพอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้บุตรต้องได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย

.....๓. ดำรงวงศ์ตระกูล คือ สามารถรักษาทรัพย์สมบัติที่มารดาบิดามอบให้ไว้เป็นอย่างดี

.....๔. ประพฤติตนให้เป็นผู้สมควรรับมรดก หมายถึง เป็นคนดี ไม่เกี่ยวข้องด้วยอบายมุข ๖ เป็นอย่างน้อย

.....๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน เป็นการกระทำของบุตรที่มีสัมมาทิฏฐิ

.....บุตรจะมีความรับผิดชอบ และปฏิบัติหน้าที่ทั้ง ๕ ประการได้สมบูรณ์ ก็เพราะได้รับการปลูกฝังอบรมอริยวินัยจากพ่อแม่มาเป็นอย่างดีเป็นเบื้องต้น

.....บุตรที่ปฏิบัติตนดีมีอริยวินัยครบทั้ง ๕ ประการ ได้ชื่อว่าบุตรปิดป้องทิศเบื้องหน้าดีแล้ว

.....อนึ่งเด็กที่ได้รับการปลูกฝังลักษณะนิสัยมาดีจากทิศเบื้องหน้า ครั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ บังเอิญต้องเข้าไปสู่สังคมของคนไม่ดี เขาย่อมไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของสังคมเลวนั้น ตรงกันข้าม เขากลับจะมีอิทธิพลสามารถปรับปรุงแก้ไขสังคมเลวนั้นให้กลายเป็นสังคมดีได

 

ข้อสังเกต

การปฏิบัติตนของลูกและพ่อแม่ที่มีผลต่อครอบครัว

          ลูก             พ่อแม่                                           ผลที่เกิดขึ้น


            ปฏิบัติผิด       ปฏิบัติถูก              ลูกปฏิบัติหน้าที่ย่อหย่อนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่เลย แสดงว่าลูกๆ นั้นเป็นมิตรเทียม                                                              ลูกนั้นไม่สมควรแก่พ่อแม่จะมีภัยมาถึงลูกแล้วลามไปถึงพ่อแม่
            ปฏิบัติถูก        ปฏิบัติผิด              พ่อแม่นั้นไม่สมควรแก่ลูก ภัยจะมาถึงพ่อแม่แล้วลามไปถึงลูกๆ
            ปฏิบัติผิด        ปฏิบัติผิด              ภัยจะมาถึงทั้งสองฝ่ายอย่างแน่นอน วงศ์ตระกูลจะวินาศ
            ปฏิบัติถูก        ปฏิบัติถูก              เมื่อปฏิบัติถูก เป็นมิตรแท้ต่อกัน ไม่มีภัยอันตรายเกิดขึ้น                                                              ทว่าจะมีแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรือง


๒. ทิศเบื้องขวา


.....เพื่อนร่วมโลก (อาจจะเป็นมิตรเทียมหรือมิตรแท้ก็ได้) กลุ่มที่ ๒ มีความสัมพันธ์กับตัวเราในฐานะผู้ให้การอบรมสั่งสอน ได้แก่ ครูบาอาจารย์ สมมุติชื่อว่า ทิศเบื้องขวา เพราะสมควรแก่ของที่เรานำไปบูชาหรือมอบให้

         หน้าที่รับผิดชอบของครูบาอาจารย์

.....พระพุทธองค์ทรงกำหนดให้เป็นอริยวินัยหรือหน้าที่ของครูอาจารย์ที่ต้องปฏิบัติ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อศิษย์ไว้เป็นตัวอย่าง ๕ ประการ คือ

.....๑. แนะนำให้เป็นคนดี คือ ให้ศิษย์มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานของคนดีดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งต้องฝึกให้มีกิริยามารยาทงดงามทั้งกายและวาจา ในข้อนี้ถึงแม้ไม่ได้ระบุว่าห้ามทำความชั่ว ย่อมมีนัยครอบคลุมว่า ครูบาอาจารย์มีหน้าที่ต้องห้ามศิษย์ทำความชั่วอยู่ด้วย

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.035274883111318 Mins