หลักการเบื้องต้นของแต่ละศาสตร์ "มนุษยศาสตร์"

วันที่ 08 พค. พ.ศ.2560

หลักการเบื้องต้นของแต่ละศาสตร์
มนุษยศาสตร์
 

GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , มนุษยศาสตร์
 

1.) ความหมายของมนุษยศาสตร์
        วิชามนุษยศาสตร์มีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษามาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกมีความเชื่อว่า ในบรรดาสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ไม่มีสิ่งใดมหัศจรรย์เท่ากับมนุษย์คำว่า มนุษยศาสตร์ เทียบได้กับคำว่า  ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า หมายถึง เรื่องราวของมนุษย์หรือความเป็นมนุษย์

 ในปัจจุบันวิชามนุษยศาสตร์ได้พันาจากอดีตไปมาก จึงทำให้ความหมายหรือคำจำกัดความของ "มนุษยศาสตร์" แตกต่างจากในอดีตไปบ้าง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมุ่งเน้นในเรื่องมนุษย์อุไรวรรณ ธนสถิตย์ ได้ให้ความหมาย "มนุษยศาสตร์" ไว้ว่า เป็นหมวดวิชาที่เรียนเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์และการแสดงออกเกี่ยวกับตัวเองเป็นวิชาที่ว่าด้วย "โลกภายในของมนุษย์" อันได้แก่ความรู้สึกนึกคิด จริยธรรม และการสื่อสาร เป็นต้น

        วิทย์ วิศทเวทย์ ให้ความหมายมนุษยศาสตร์ไว้ว่า เป็นวิชาที่ศึกษาถึงสิ่งที่มนุษย์คิด ทำใฝ่ฝัน จินตนาการและรู้สึก ดังนั้นวิชานี้จึงปรากฏเป็นวิชาวรรณคดี ศิลปะ ปรัชญา ศาสนา ประวัติศาสตร์ คือ ศึกษามนุษย์ในฐานะที่มนุษย์มิได้เป็นสัตว์ชีววิทยา (วิทยาศาสตร์) หรือสัตว์สังคม (สังคมศาสตร์) แต่ศึกษามนุษย์ในฐานะเป็นตัวเอง มนุษยศาสตร์ คือ การศึกษาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็นมนุษย์ เพื่อความเจริญงอกงามของความเป็นมนุษย์ และเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขของมนุษย์...

      ในความหมายเดิม "มนุษยศาสตร์" เป็นการศึกษาที่เน้นหนักด้านจิตใจ ถือเป็นการพัฒนาสติปัญญาคุณธรรม และรสนิยมของบุคคลที่เป็นคุณค่าสูงสุด แต่ปัจจุบัน มนุษยศาสตร์ขยายขอบเขตออกไปครอบคลุมถึงการศึกษาที่นำไปเป็นประโยชน์ใช้ อยโดยตรงอีกด้วย กล่าวคือ เป็นการผสมผสานระหว่างวิชาการกับอาชีพ โดยตระหนักว่าความรู้ทางอาชีพจำเป็นต้องควบคู่
ไปกับวิชาการและการพัฒนาจิตใจของผู้ศึกษา จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง


2.) ลักษณะทั่วไปของมนุษยศาสตร์
            ลักษณะทั่วไปของมนุษยศาสตร์ อาจจะแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะดังต่อไปนี้

             (1) ปรัชญาหลักทางมนุษยศาสตร์ คือ การสำนึกในคุณค่าของความเป็นมนุษย์

         (2) จุดประสงค์ที่สำคัญของมนุษยศาสตร์ คือ การแสวงหาความหมายและคุณค่าของความเป็นมนุษย์รวมทั้งคุณค่าของประสบการณ์มนุษย์ เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพชีวิต เพื่อใช้แก้ไขปัญหาความทุกข์ทั้งในด้านวัตถุและด้านจิตใจโดยยึดคุณธรรมเป็นหลัก

          (3) วิธีการหลักของการศึกษาทางมนุษยศาสตร์ คือ การตีความและการวินิจฉัยประสบการณ์โดยใช้หลักตรรกวิทยาหรือหลักเหตุผล

       (4) การค้นหาข้อเท็จจริงและความหมายแต่เพียงอย่างเดียวเป็นแต่เพียงกิจกรรมส่วนหนึ่งของการศึกษาทางมนุษยศาสตร์ กิจกรรมทางปัญญาที่สำคัญยิ่งคือ การไตร่ตรองใคร่ครวญเพื่อแสวงหาความหมายและคุณค่าในข้อเท็จจริงที่ศึกษา

         (5) ในเมื่อมนุษยศาสตร์เป็นกิจกรรมเพิ่มพูนทางปัญญา ที่เกี่ยวพันกับประสบการณ์มนุษย์ ดังนั้นเรื่องของวุิภาวะและประสบการณ์ของตัวนักมนุษยศาสตร์เองก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงนึกถึงด้วย

       วิชามนุษยศาสตร์นั้นเน้นจุดหมายที่ตัวมนุษย์ วิชานี้จึงเป็นการสร้างคนในฐานะเป็นคน ไม่ใช่สร้างคนในฐานะเป็นผู้ประกอบอาชีพ เช่น วิศวกร หรือ สถาปนิก ความเป็นคนในความหมายที่ว่ามีร่างกายและทำอะไรต่างๆ ที่ต้องการได้นั้น เป็นของที่ไม่ต้องศึกษาเพราะเป็นอยู่แล้ว แต่การสร้างคนอย่างที่ "ควรจะเป็น" นั้น เราจะต้องศึกษา อุปมาเหมือนแร่เหล็กมีความเป็นเหล็กโดยธรรมชาติ แต่ถ้าจะหาเหล็กที่ดีก็ต้องมีการดัดแปลงแร่ธรรมชาตินั้นเสียก่อนถ้าได้เหล็กดีแล้ว จะนำไปทำอะไรก็ดีหมด เช่นเดียวกันถ้าได้คนดีแล้วจะเป็นวิศวกร สถาปนิกหรือข้าราชการตำแหน่งใดๆ ก็ดีหมด แต่บัดนี้เราสร้างวิศวกรแต่ไม่ได้สร้างคนดีในตัวเขา เขาก็อาจทำงานอย่างไม่มีคุณภาพและคดโกงได้ง่ายโดยเห็นเป็นเรื่องธรรมดาไป การพัฒนาความเป็นคนเสียก่อนจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ


3.) การศึกษาแต่ละสาขาวิชาในแง่มนุษยศาสตร์
       จากที่กล่าวในตอนต้นว่าหมวดวิชามนุษยศาสตร์ประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ มากมาย เช่น สาขาวิชาภาษา ศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น การศึกษาวิชาต่างๆ เหล่านี้ในแง่ของมนุษยศาสตร์จะต้องมีลักษณะดังนี้คือ

3.1)สาขาวิชาภาษา
        การศึกษาภาษาในแง่มนุษยศาสตร์มิได้มุ่งด้านทักษะ คือ ความสามารถในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสารกันได้เท่านั้น แต่ศึกษาเพื่อเป็นทางนำไปสู่ความเข้าใจความคิด อารมณ์และแก่นแท้ของงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้ภาษา

3.2)สาขาศิลปะและวรรณคดี
       ศิลปะแต่ละแขนงล้วนเป็นการใช้สื่อต่างๆ เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์อย่างสำคัญ การเข้าใจศิลปะและวรรณคดีจะทำให้เข้าใจมนุษย์และสังคมแง่มุมต่างๆ ได้ เราไม่อาจรู้จักฮิตเลอร์ด้วยการผ่าตัดหรือดูเพียงพฤติกรรมภายนอกเท่านั้น แต่เรารู้จักเขาได้โดยรู้เรื่องราวส่วนตัวหรืออ่านงานเขียนของเขา

3.3)สาขาประวัติศาสตร์
      ประวัติศาสตร์ทำให้เราเห็นรูปแบบของเหตุการณ์และการตัดสินใจของมนุษย์ต่อเหตุการณ์นั้นๆ อย่างซ้ำๆ ทำให้มนุษย์มองเห็นภาพตัวเอง และความรู้สึกนึกคิดของตัวเองว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อจะต้องเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้นบ้าง

      สำหรับการศึกษาสาขาวิชาอื่นๆ ในแง่มนุษยศาสตร์ก็มีลักษณะเช่นที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือ เป็นการศึกษาเพื่อเจาะลึกลงไปถึงความรู้สึกนึกคิด จิตใจของมนุษย์ ซึ่งเป็นนามธรรมโดยปรากฏเป็นรูปธรรมอยู่ในงานต่างๆ ที่เขาสร้างขึ้นทำขึ้น การศึกษาทางมนุษยศาสตร์จะทำให้ผู้ศึกษาได้รับประโยชน์ที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ รู้จักตัวเองเป็นอย่างดี รู้จักผู้อื่น และรู้จักสภาพแวดล้อมที่ตนเองต้องเกี่ยวข้องอยู่เป็นอย่างดี

 


*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014742493629456 Mins