การรักษาสุขภาพในพระไตรปิฎก

วันที่ 12 พค. พ.ศ.2560

แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก
" การรักษาสุขภาพในพระไตรปิฎก "


GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก , แพทยศาสตร์ , การรักษาสุขภาพในพระไตรปิฎก ,  สุขภาพนักสร้างบารมี , อาพาธ

     การรักษาสุขภาพนั้น เป็นการเยียวยารักษาสุขภาพอันเกิดจากการอาพาธหรือเจ็บป่วยด้วยเหตุต่างๆ ให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ ซึ่งสาเหตุแห่งการอาพาธนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามี 8 ประการด้วยกันดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไปนี้

1. สาเหตุแห่งการอาพาธในพระไตรปิฎก
      อาพาธ แปลว่า ความเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีสัพพัญญุตญานรอบรู้ในสิ่งทั้งปวงรวมทั้งเรื่องทางการแพทย์ด้วย พระองค์ตรัสถึงสาเหตุสำคัญแห่งการอาพาธไว้ 8 ประการ ดังที่ปรากฎอยู่ในอาพาธสูตร ดังนี้

1) อาพาธอันเกิดจาก "ดี" เป็นสาเหตุ
2) อาพาธอันเกิดจาก "เสมหะ" เป็นสาเหตุ
3) อาพาธอันเกิดจาก "ลม" เป็นสาเหตุ
4) อาพาธอันเกิดจาก "ดี,เสมหะ,ลม ประชุมกัน"
5) อาพาธอันเกิดจาก "ฤดูแปรปรวน"
6) อาพาธอันเกิดจาก "การบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ"
7) อาพาธอันเกิดจาก "การถูกทำร้าย"
8) อาพาธอันเกิดจาก "วิบากกรรม"

       คำว่า "ดี" แปลมาจากภาษาบาลีว่า "ปิตฺต" ดีเป็นธาตุน้ำซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ ดีนอกถุงน้ำดีและดีในถุงน้ำดี ดีนั้นมี สีเหมือนน้ำมันมะซางข้น2 ดีนอกถุงเอิบอาบอยู่ทั่วร่างกาย เมื่อดีนอกถุงกำเริบ ดวงตาจะเหลือง เวียนศีรษะ ตัวสั่นและคันส่วนดีในถุงจะอยู่ในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีนั้นมีลักษณะเหมือนรังบวบขมใหญ่ เมื่อดีในถุงกำเริบสัตว์ทั้งหลายจะเป็นบ้า ทำสิ่งที่ไม่ควรทำพูดคำที่ไม่ควรพูด คิดสิ่งที่ไม่ควรคิด

     คำว่า "เสมหะ" มาจากภาษาบาลีว่า "เสมฺห" แปลว่า "เสลด" ซึ่งเป็นธาตุน้ำเช่นกันในร่างกายของเรามีเสมหะอยู่ประมาณหนึ่งบาตร มีสีขาว มีสีเหมือนน้ำในผลมะเดื่อ ตั้งอยู่ในท้อง ปกติพื้นท้องของเราจะมีกลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ เสมหะจะช่วยระงับกลิ่นเหม็นให้อยู่ภายในท้องเปรียบเหมือนแผ่นกระดานปิดส้วม

      คำว่า "ลม" ในที่นี้หมายถึง ธาตุลมภายในร่างกาย ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นต้น เมื่อโรคลมเกิดขึ้นในร่างกาย ย่อมทำให้มือและเท้าอ่อนแรง ย่อมทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้เป็นคนง่อยเปลี้ย โรคลมนี้หากเป็นหนักก็จะทำให้ถึงตายได้ เช่น พระเถระรูปหนึ่งลมเสียดแทงถึงหัวใจและเสียดแทงท้องทะลุออกมา ไส้ของท่านก็ออกมากองบนเตียง ในขณะอาพาธอยู่นั้นพระเถระได้ประกอบความเพียร จึงบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา

     อาพาธที่เกิดจาก "ดี, เสมหะ, ลม ประชุมกัน" ถ้าแปลตรงตัวตามภาษาบาลีจะแปลว่า "อาพาธสันนิบาต" หมายถึง อาพาธที่เกิดขึ้นเพราะลม ดี และเสมหะรวมกัน

      อาพาธที่เกิดขึ้นเพราะฤดูแปรปรวน "ฤดู" ในที่นี้หมายถึง " ภาพอากาศ" เมื่อสภาพอากาศแปรปรวน เช่น ร้อนเกินไป หนาวเกินไป เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้

    อาพาธที่เกิดจากการบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ หมายถึง การอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งนานเกินไป เช่น ยืนนานเกินไป หรือ นั่งนานเกินไป เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้เจ็บป่วยได้

      อาพาธที่เกิดจากการถูกทำร้าย หมายถึง อาพาธที่เกิดเพราะความพยายามเบียดเบียนของผู้อื่น เช่น การฆ่าฟัน การทุบตี การชกต่อย ถูกสัตว์ทำร้าย เป็นพยาธิ เป็นโรคติดเชื้อ เป็นต้น

      อาพาธอันเกิดจากวิบากกรรม หมายถึง ความเจ็บป่วยที่เกิดจากบาปกรรมที่ทำไว้ในปัจจุบันชาติหรือในอดีตชาติมาส่งผล เช่น ในอดีตชาติทำปาณาติบาตไว้มาก บาปกรรมนั้นจึงส่งผลให้ป่วยเป็นโรคมะเร็งในชาตินี้ เป็นต้น

       กรรมคือการกระทำโดยเจตนา ประกอบด้วยกรรมทางกาย วาจา และใจ เมื่อเราทำกรรมแล้ว หากเป็นกรรมดีก็จะเกิดบุญขึ้นและจะถูกเก็บไว้ในใจหากเป็นกรรมชั่วก็จะเกิดบาปขึ้นและถูกเก็บไว้ในใจเช่นกัน บาปในที่ถูกเก็บไว้ใจนี้เอง เมื่อถึงเวลาส่งผลก็จะทำให้เกิดการอาพาธ

      สาเหตุแห่งการอาพาธทั้ง 8 ประการที่กล่าวมานี้สามารถสรุปให้เหลือ 2 ประการได้ดังนี้ คือสาเหตุทางกาย และสาเหตุทางใจ โดย 7 ประการแรกถือเป็นสาเหตุทางกายส่วนข้อที่ 8 คือ วิบากกรรมนั้นถือว่าเป็นสาเหตุทางใจ เพราะเป็นสาเหตุที่เกิดจากบาปที่อยู่ในใจส่งผล ให้เกิดการอาพาธด้วยโรคต่างๆ

    การเจ็บป่วยอันเกิดจากวิบากกรรมนั้นเป็นความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหลักการแพทย์ในพระไตรปิฎกและการแพทย์แผนปัจจุบัน เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากสำหรับแพทย์และชาวโลกที่ไม่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะวิบากกรรมจากอดีตชาติ อย่างไรก็ดีวงการแพทย์อาจไม่ได้ให้ความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความละเอียดลึกซึ้งในด้านนี้ แต่จะเชื่อหรือไม่สิ่งนี้ก็ยังคงเป็นความจริงของโลกและชีวิตที่มนุษย์ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ตามหลักการที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา


2. โรคชนิดต่างๆ ในพระไตรปิฎก
   คำว่า "โรค" พระอรรถกถาจารย์ให้ความหมายไว้ว่า เสียดแทง หรือ เบียดเบียน กล่าวคือ เสียดแทงเบียดเบียนร่างกายและจิตใจให้ลำบาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แต่ก่อนมีโรคร้ายอยู่เพียง 3 ชนิด คือ โรคอยาก โรคหิว และโรคชรา แต่เพราะการทำร้ายเบียดเบียนสัตว์จึงทำให้มีโรคเพิ่มขึ้นถึง 98 ชนิด2 โรคทั้ง 98 ชนิดนี้ คือ โรคที่มีอยู่ในสมัยพุทธกาล แต่ในปัจจุบันมีโรคเพิ่มมากขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้มีโรคแปลกๆ ใหม่ๆ และร้ายแรงเกิดขึ้นเรื่อยๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ และล่าสุด คือ โรคไข้กระต่าย ซึ่งข่าวบอกว่าโรคนี้มีเชื้อรุนแรงถึงขั้นผลิตเป็นอาวุธชีวภาพได้ทีเดียว

      โรคทั้ง 98 ชนิดนั้นเป็นโรคอันเกิดจากวิบากกรรม เพราะเป็นผลมาจากการทำร้ายเบียดเบียนสัตว์ ความจริงยังมีโรคที่เกิดจากสาเหตุอื่นอีก 7 ประการดังได้กล่าวมาแล้วซึ่งไม่รวมอยู่ในโรค 98 ชนิดนี้ อย่างไรก็ตามโรคที่มีอยู่ใน มัยพุทธกาลเท่าที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกสามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ประมาณ 6 กลุ่ม คือ โรคผิวหนัง โรคลม โรคในท้อง โรคเกี่ยวกับอวัยวะโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และโรคเบ็ดเตล็ดอื่นๆ

1) โรคผิวหนัง หมายถึง โรคที่เกิดบนผิวหนังในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น โรคเรื้อน โรคฝี โรคฝีดาษ โรคสิว โรคกลาก โรคเริม โรคพุพอง โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคละลอก โรคหูด โรคคุดทะราด และโรคคุดทะราดบวม เป็นต้น

     โรคเรื้อน หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น มีหลายชนิดบางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วเท้ากุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคันทำให้ผิวหนังหนาหยาบและอาจแตกมีน้ำเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้าหัวเข่าหรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง บางชนิดแผลมี สีขาว เรียกว่า เรื้อนน้ำเต้า

     โรคฝี หมายถึง โรคชนิดหนึ่งเป็นต่อมบวมขึ้น กลัดหนองข้างใน เรียกชื่อต่างๆ กันหลายชนิด เช่น ฝีคัณฑมาลา ฝีดาษ ฝีประคำร้อย

     โรคฝีดาษ หมายถึง โรคฝีชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นตามลำตัว เป็นเม็ดเล็กๆ ดาษทั่วไปบางครั้งเรียก ไข้ทรพิษ คนโบราณเรียกว่า ไข้หัว

     โรคสิว หมายถึง โรคที่มีลักษณะเป็นตุ่มเม็ดเล็กๆ ที่มีหนองเป็นไต ีขาวๆ อยู่ข้างในขึ้นบริเวณใบหน้า และส่วนต่างๆของลำตัว

       โรคกลาก หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน

     โรคเริม หมายถึง โรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นเม็ดเล็กๆ พองใสติดกันเป็นกลุ่ม มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน

     โรคพุพอง หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่งเป็นเม็ดผุดขึ้นพองใสตามลำตัว แล้วแตกออกมีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดน้ำหนอง

     โรคหิด หมายถึง โรคติดต่อชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาว ใสเป็นเงาในเนื้อ ขึ้นตามผิวหนังมีอาการปวดและคัน เรียกว่าหิดด้าน เมื่อเม็ดแตกมีน้ำหนองไหลเยิ้ม เรียกว่า หิดเปื่อย

      โรคละลอก หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่งเป็นเม็ดมีหนอง

       โรคหูด หมายถึง โรคผิวหนังชนิดหนึ่งขึ้นเป็นไตแข็ง

     โรคคุดทะราด หมายถึง การเป็นแผลเรื้อรัง บางรายแผลบานเหวอะหวะออก มีกลิ่นเหม็น เป็นแม่แผลให้เกิดแผลอื่นจำพวกเดียวกันพุพองออกไปอีก

2) โรคลม หมายถึง โรคที่เกิดจากธาตุลมภายในร่างกายกำเริบ ทำให้มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติหรือตายได้ เช่น โรคลมบ้าหมู โรคเรอ เป็นต้น

     โรคลมบ้าหมู หมายถึง อาการหมด ติเป็นครั้งคราว และมักมีอาการชักเกร็ง น้ำลายเป็นฟอง มือเท้ากำ เป็นผลเนื่องจาก มองทำงานผิดปรกติ

      โรคเรอ หมายถึง โรคที่ลมในกระเพาะเฟ้อพุ่งออกทางปาก

3) โรคในท้อง หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นภายในท้อง เช่น โรคเนื้องอกที่ลำไส้ โรคบิด โรคท้องร่วง โรคลงราก อหิวาตกโรค โรคอาเจียนโลหิต และ โรคอลสกะ เป็นต้น โรคลงราก หมายถึง โรคท้องเดินและอาเจียน

      อหิวาตกโรค หมายถึง โรคระบาดชนิดหนึ่งมีอาการลงราก คือท้องเดินและอาเจียน

   โรคอลสกะ หมายถึง โรคที่เกิดจากการกินอาหารมากเกินไป ซึ่งเกิดกับนักบวชเปลือยชื่อโกรักขัตติยะผู้ประพฤติวัตรอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปากก่อนตายเขากินอาหารมากเกินไปจนอาหารไม่ย่อยจึงสิ้นชีวิต

4) โรคเกี่ยวกับอวัยวะ หมายถึง โรคที่เกิดกับอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น โรคทางตา โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางศีรษะ เช่น ปวดศีรษะ โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคอัมพาต โรคริดสีดวง

    โรคริดสีดวง หมายถึง โรคที่เกิดจากเส้นเลือดขอดเพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและมีเลือดคั่งอยู่ในบริเวณนั้น จึงเกิดการโป่งพองของเส้นเลือด โรคริดสีดวงมักจะเกิดในช่องตา จมูก และทวารหนัก

      โรคอัมพาต หมายถึง โรคที่อวัยวะบางส่วน เช่น แขน ขา เป็นต้น ตายกระดิกไม่ได้

5) โรคทางเดินหายใจ หมายถึง โรคที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไอ โรคหืด โรค ไข้หวัด โรคมองคร่อ เป็นต้น

     โรคหืด หมายถึง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากหลอดลมตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในคนทั่วไป ทำให้หลอดลมตีบแคบลง จนเกิดอาการหายใจไม่สะดวก

      โรคไข้หวัด หมายถึง โรคที่เยื่อของอวัยวะที่เป็นเครื่องหายใจอักเสบมักทำให้เสียงแห้งและน้ำมูกไหล

      โรคมองคร่อ หมายถึง โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง

6) โรคเบ็ดเตล็ด หมายถึง โรคอื่นๆ ที่ไม่จัดอยู่ในกลุ่มทั้ง 5 ข้างต้น เช่น โรคไข้พิษ โรคเบาหวาน โรคดีกำเริบ โรคร้อนใน และ โรคในฤดูสารท เป็นต้น

     โรคไข้พิษ หมายถึง ไข้ที่มีพิษกล้าทำให้เชื่อมซึมไป ไม่มีเวลา ร่าง ทำให้รู้สึกเหมือนเรือนหมุน ไม่รู้ว่ากลางวันหรือกลางคืน

       โรคเบาหวาน หมายถึง โรคที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

      โรคดีกำเริบ หมายถึง ดีที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์แต่ละคน เมื่อดีกำเริบ ดวงตาจะเหลืองเวียนศีรษะ ตัวสั่นและคัน เป็นต้น

    โรคในฤดูสารท หมายถึง ไข้เหลือง (โรคดีซ่าน)ซึ่งเกิดขึ้นในฤดูสารท (ฤดูใบไม้ร่วง) เพราะในฤดูสารทนี้ ภิกษุทั้งหลายเปียกชุ่มด้วยน้ำฝนบ้าง เดินย่ำโคลนบ้าง แสงแดดแผดกล้า บ้างทำให้น้ำดีของภิกษุทั้งหลายขังอยู่แต่ในถุงน้ำดี


3. ยารักษาโรคในพระไตรปิฎก
     ยารักษาโรคในพระไตรปิฎกเป็นยาที่ได้จากธรรมชาติโดยตรง ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติสามารถนำมาใช้เป็นตัวยาได้ทั้งหมด หากเรารู้คุณสมบัติในส่วนที่เป็นยาของมันครั้งหนึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาเป็นระยะทาง 1 โยชน์ เพื่อต้องการหาว่ามีสิ่งใดบ้างที่ไม่อาจจะนำมาทำเป็นยาได้ แต่ท่านไม่พบสิ่งนั้นเลย จากเรื่องนี้จึงอาจจะกล่าวได้ว่า "สรรพสิ่งในธรรมชาติสามารถนำมาทำยาได้หมด" สำหรับยาต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถานั้นสามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ คือ น้ำมูตรเน่า, เภสัช 5, สมุนไพร, เกลือ, ยามหาวิกัฏ และ กลุ่มเบ็ดเตล็ด

1) น้ำมูตรเน่า
     มูตร แปลว่า น้ำปัสสาวะ คำว่า "น้ำมูตรเน่า" ก็คือน้ำมูตรนั่นเอง เพราะร่างกายของคนเราได้ชื่อว่าเป็นสิ่งเปอยเน่า น้ำมูตรที่ออกมาใหม่ๆ และรองเอาไว้ในทันทีทันใด ก็ได้ชื่อว่าเป็นน้ำมูตรเน่าเพราะออกมาจากร่างกายที่เปื่อยเน่า

     การนำน้ำมูตรเน่ามาทำเป็นยาจะทำโดยวิธีการดองด้วยตัวยาอื่นๆ เช่น สมอ เป็นต้นจึงมักจะเรียกว่า "ยาดองน้ำมูตรเน่า" ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆได้หลายชนิด

      น้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรคหลักของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งใน "นิสัย 4" ที่พระภิกษุจะต้องใช้เป็นประจำ ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะบอกในวันบวชว่า "ให้อยู่โคนไม้เป็นวัตรบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และฉันน้ำมูตรเน่าเป็นยา" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต..." และพระองค์ยังตรัสว่า น้ำมูตรเน่านั้นเป็นของหาง่าย และไม่มีโทษ

2) เภสัช 5
     เภสัช 5 หมายถึง ยารักษาโรค 5 ชนิด คือ เนยใสเนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และ น้ำอ้อยโดยในเบื้องต้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเพื่อรักษาโรคไข้เหลืองหรือดีซ่าน

       เนยใสหมายถึง เนยที่มีลักษณะใสซึ่งทำจากน้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ เป็นต้น

       เนยข้น หมายถึง เนยที่มีลักษณะข้นซึ่งทำจากน้ำนมของโค แพะ และกระบือ เป็นต้น

      น้ำมัน หมายถึง น้ำมันอัน กัดออกจากเมล็ดงา เมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดมะซาง เมล็ดละหุ่ง หรือน้ำมันที่ กัดจากเปลวหรือมันของสัตว์ ได้แก่ น้ำมันเปลวหมี น้ำมันเปลวปลา น้ำมันเปลวปลาฉลาม น้ำมันเปลวหมู และ น้ำมันเปลวลา

      น้ำผึ้ง หมายถึง น้ำหวานที่มีลักษณะข้นที่ผึ้งเก็บสะสมเอามาจากดอกไม้ต่างๆ

      น้ำอ้อย หมายถึง น้ำหวานที่คั้นออกมาจากอ้อย

3) สมุนไพร
     กลุ่มยา มุนไพรที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมีหลายชนิด เช่น ยาสมุนไพรที่ทำจากรากไม้, น้ำฝาดของต้นไม้, ใบไม้และต้นไม้, ผลไม้ และ ยางไม้ เป็นต้น

      รากไม้ ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู หน่อหวาย หน่อไม้เหง้าบัว รากบัว หรือรากไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหารน้ำฝาด หมายถึง น้ำที่ได้จากการนำเอาส่วนต่างๆ ของต้นไม้ไป กัดบีบหรือคั้นเอา

     น้ำออกมา ได้แก่ น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดกระดอมหรือขี้กา น้ำฝาดบอระเพ็ดหรือพญามือเหล็ก น้ำฝาดกระถินพิมาน หรือน้ำฝาดชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร

     ใบไม้ ได้แก่ ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอมหรือขี้กา ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้ายหรือใบไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร และ ต้นไม้ที่นำมาทำเป็นยา ได้แก่ไม้จันทน์ กฤษณา กะลัมพัก ใบเฉียง แห้วหมู เป็นต้น

     ผลไม้ ได้แก่ ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย มอพิเภก มะขามป้อม ผลโกฐ ผลกล้วย อินทผลัม หรือผลไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร

   ยางไม้ ได้แก่ ยางจากต้นหิงคุ ยางที่เคี่ยวจากก้านใบและเปลือกของต้นหิงคุ ยางจากยอดตันตกะ ยางที่เคี่ยวจากใบหรือก้านตันตกะ ยางจากกำยาน หรือยางชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร

4) เกลือ
     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัชไว้ดังนี้ คือ เกลือสมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง หรือเกลือชนิดอื่นที่เป็นยาและไม่จัดว่าเป็นอาหาร

       เกลือสมุทร หมายถึง เกลือที่ได้จากน้ำทะเล

     เกลือดำ หมายถึง เกลือที่เป็นเศษเกลือ หรือเกลือก้นกอง เม็ดเกลือจะเล็กและมีตะกอนปนอยู่มาก เกลือชนิดนี้ปกติจะใช้เติมบ่อกุ้ง เลี้ยงปลา และปรับสภาพดินในสวนผลไม้

        เกลือสินเธาว์ หมายถึง เกลือที่ได้จากดินเค็ม

       เกลือดินโป่ง หมายถึง เกลือที่ทำจากดินโป่ง ดินโป่งคือแอ่งดินเค็มตามธรรมชาติ เป็นดินที่มีเกลือแร่ต่างๆ ปนอยู่ เช่น เกลือโซเดียมคลอไรด์ เกลือแคลเซียม โปตัสเซียม เป็นต้น

5) ยามหาวิกัฏ
      ครั้งหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุใช้ยามหาวิกัฏ 4 อย่างรักษา คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน ต่อมาภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาพิษเข้าไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุดื่มน้ำเจือคูถเพื่อให้อาเจียนเอาพิษออกมา

6) กลุ่มเบ็ดเตล็ด
      กลุ่มยาเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ที่นำมาใช้รักษาโรคเท่าที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก ได้แก่ ยาดองโลณโสวีรกะ ยาผง มูลโค งา ข้าวสาร ข้าวสุก น้ำข้าวใสถั่วเขียว ธัญชาติทุกชนิด น้ำด่าง ทับทิม ปลา เนื้อ น้ำต้มเนื้อ และการเกด เป็นต้น

       ยาดองโลณโสวีรกะ หมายถึง ยาที่ปรุงด้วยส่วนประกอบนานาชนิด เช่น มะขามป้อม ดมอพิเภก ธัญชาติทุกชนิด ถั่วเขียว ข้าวสุก ผลกล้วย หน่อหวาย การเกด อินทผลัม หน่อไม้ ปลา เนื้อ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ โดยใส่เครื่องยาเหล่านี้ในหม้อ ปิดฝามิดชิด เก็บดองไว้ 1 วัน 2 วัน หรือ 3 วัน เมื่อยานี้สุกได้ที่แล้ว จะมีรสและสีเหมือนผลหว้า เป็นยาแก้โรคลม โรคไอ โรคเรื้อน โรคไข้เหลือง(ดีซ่าน) โรคริดสีดวง เป็นต้น


4. ประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์
     นักศึกษาหลายท่านคงจะรู้จักหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นอย่างดีโดยเฉพาะคนที่มักใช้บริการรักษาพยาบาลด้วยการแพทย์แผนไทย เพราะศูนย์การแพทย์แผนไทยทุกที่จะมีรูปปันหมอชีวกโกมารภัจจ์อยู่ เพื่อไว้เป็นเครื่องระลึกถึงพระคุณของท่านที่ได้ถ่ายทอดวิชาการแพทย์ให้ชาวพุทธและชาวโลกได้ใช้บำบัดรักษากันมาตั้งแต่ มัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน

      หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นแพทย์หลวงแห่งกรุงราชคฤห์และเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ท่านเป็นแพทย์ที่เก่งกาจสามารถตั้งแต่วัยหนุ่มสามารถรักษาโรคที่แพทย์ทิศาปาโมกข์เก่งๆ หลายต่อหลายคนรักษาไม่ได้ให้หายภายในเวลาอันรวดเร็ว วิธีการรักษาของท่านมีหลากหลาย และหลายๆ วิธีก็คล้ายๆ กับการรักษาในยุคปัจจุบัน เช่น การผ่าตัด การขับพิษด้วยการขับถ่ายหรือที่เรียกว่าดีท๊อกซ์ เป็นต้น

      หมอชีวกโกมารภัจจ์ถือกำเนิดขึ้น ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยในสมัยพุทธกาลนั้นมีกุมารีคนหนึ่งชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉมงดงาม ชาวพระนครราชคฤห์จึงได้คัดเลือกให้นางเป็นหญิงงามเมือง ต่อมานางสาลวดีได้ตั้งครรภ์และคลอดบุตรเป็นชาย นางไม่ปรารถนาจะเลี้ยงดูบุตร จึงสั่งทาสีให้นำบุตรนั้นไปทิ้งที่กองขยะ

     ในวันนั้นนั่นเองเจ้าชายอภัยกำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้ทอดพระเนตรเห็นทารกนั้นซึ่งฝูงกาห้อมล้อมอยู่ ได้ตรัสถามมหาดเล็กว่าพนาย นั่นอะไร ฝูงการุมกันตอม?

       มหาดเล็กกราบทูลว่า "ทารก พ่ะย่ะค่ะ"

       เจ้าชายอภัยตรัสว่า "ยังเป็นอยู่" หรือ พนาย

       มหาดเล็กกราบทูลว่า "ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ"

       เจ้าชายอภัยจึงตรัสว่า "พนาย ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกนั้นไปที่วังของเราให้นางนมเลี้ยงไว้"

    มหาดเล็กจึงนำทารกนั้นไปวังของเจ้าชายอภัย แล้วมอบให้นางนมเลี้ยงไว้ เพราะอาศัยคำว่า "ยังเป็นอยู่" พวกเขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า "ชีวก" และเพราะเหตุที่ชีวกนั้นเจ้าชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เขาจึงได้ตั้งนาม กุลว่า "โกมารภัจจ์" ต่อมาไม่นานชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เดียงสาและได้ ทูลถามเจ้าชายอภัยว่า ใครเป็นมารดาของเกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดาของเกล้ากระหม่อมพ่ะย่ะค่ะ

      เจ้าชายรับสั่งว่า พ่อชีวก ตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า แต่ว่าเราเป็นบิดาของเจ้าเพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้ ชีวกโกมารภัจจ์จึงคิดว่า ราชสกุลเหล่านี้ คนที่ไม่มีศิลปะจะเข้าพึ่งพระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไร เราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้

     ในสมัยนั้น นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ตั้งสำนักอยู่ ณ เมืองตักกสิลา ชีวกโกมารภัจจ์ จึงได้ทูลลาเจ้าชายอภัยเดินทางไปเรียนวิชาแพทย์ ณ เมืองตักกสิลา ชีวกโกมารภัจจ์ เรียนวิชาได้มากเรียนได้เร็ว เข้าใจดี วิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม เมื่อเวลาผ่านไป 7 ปี ชีวกโกมารภัจจ์ จึงเรียนถามอาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่า กระผมเรียนวิชาแพทย์สำเร็จตามหลักสูตรแล้วหรือยัง

     อาจารย์ตอบว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้นเธอจงถือเสียมเที่ยวไปรอบเมืองตักกสิลา ระยะทาง 1 โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา ชีวกโกมารภัจจ์จึงถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง 1 โยชน์ ไม่เห็นสิ่งใดที่ไม่เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่ง จึงเดินทางกลับมารายงานท่านอาจารย์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์จึงบอกว่า พ่อชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว หลังจากนั้นชีวกโกมารภัจจ์จึงเดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ ช่วยรักษาคนเจ็บป่วยหนักๆ ให้หายได้อย่างอัศจรรย์จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นแพทย์หลวงแห่งกรุงราชคฤห์และเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคณะสงฆ์สำหรับวิธีการรักษาของท่านจะได้กล่าวในลำดับต่อไป


5. การรักษาอาพาธในพระไตรปิฎก
     จากที่กล่าวแล้วว่ามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายประกอบขึ้นจากสองส่วนที่สัมพันธ์กัน คือ ร่างกาย และ จิตใจ การรักษาอาพาธในพระพุทธศา นาที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกจึงรักษาทั้งสองส่วนนี้ไปพร้อมๆ กัน ในส่วนของร่างกายก็มีวิธีการรักษาคล้ายๆ กับการแพทย์ยุคปัจจุบันส่วนทางด้านจิตใจนั้นจะบำบัดรักษาด้วยธรรมโอสถ

1) การรักษาทางด้านร่างกาย
     การรักษาอาพาธทางด้านร่างกายในสมัยพุทธกาลนั้น มีวิธีการคล้ายๆ กับการแพทย์ยุคปัจจุบัน ซึ่งเท่าที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมีดังนี้ คือ ให้กินยา ให้ดื่มยา ทายา นัตถุ์ยา การรม การสูดควันที่เป็นยา การกรอก การผ่าตัด และการขับพิษ เป็นต้น ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้วิธีการเหล่านี้จากการรักษาโรคต่างๆ ดังนี้

1.1) วิธีการรักษาโรคลม
       วิธีการรักษาโรคลมใน มัยพุทธกาลนั้นมีหลายวิธี เช่น ดื่มน้ำมันที่หุงเจือด้วยน้ำเมา, เข้ากระโจม, รมใบไม้, รมใหญ่, รดตัวด้วยน้ำที่ต้มให้เดือดด้วยใบไม้ นึ่งตัวในอ่างน้ำ ฉันกระเทียมหากเป็นโรคลมเสียดยอกตามข้อจะรักษาด้วยวิธีระบายโลหิตออก เป็นต้น

      การดื่มน้ำมันที่หุงเจือด้วยน้ำเมา เป็นวิธีการที่แพทย์รักษาโรคลมของท่านพระปิลินทวัจฉะ โดยน้ำเมาที่เจือลงไปเพื่อหุงกับน้ำมันนั้นจะต้องไม่มากจนเกินขนาด ไม่ปรากฏ สี กลิ่นและรสของน้ำเมา

     การเข้ากระโจม คำว่า "กระโจม" หมายถึง ผ้าหรือสิ่งที่ทำเป็นลอมขึ้นสำหรับเข้าไปอยู่ข้างในเพื่อให้เหงื่อออก ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า "การนึ่งตัว" เพื่อแก้โรคลม

      การรมใบไม้ หมายถึง การนึ่งตัวเช่นกัน ใช้ในกรณีที่การนึ่งตัวแบบธรรมดาแล้วไม่อาจแก้โรคลมให้หายได้ ก็ให้นำใบไม้ที่แก้โรคลมชนิดต่างๆ มาในกระโจมแล้วจุดไฟเพื่อรมควัน

     การรมใหญ่ หมายถึง การนึ่งตัวอีกวิธีหนึ่ง ใช้ในกรณีที่รมด้วยใบ้ไม้ในกระโจมแล้วไม่หายก็จะใช้วิธีนี้ คือ ขุดหลุมขึ้นประมาณเท่าตัวคน แล้วบรรจุถ่านไฟให้เต็มหลุม กลบด้วยฝุ่นและทราย ฯลฯ ลาดใบไม้ที่แก้โรคลมชนิดต่างๆ บนหลุมนั้น จากนั้นก็ให้ผู้ที่อาพาธทาตัวด้วยน้ำมันที่แก้โรคลม เสร็จแล้วให้นอนพลิกไปพลิกมาบนใบไม้ที่ลาดบนหลุมนั้น

      การรดตัวด้วยน้ำที่ต้มให้เดือดด้วยใบไม้ หมายถึง วิธีการรักษาโรคลมอีกแบบหนึ่ง ใช้ในกรณีรมใหญ่แล้วไม่หาย ก็ให้ใช้วิธีนี้คือ หาใบไม้ที่แก้โรคลมชนิดต่างๆ มา แล้วนำมาต้มให้เดือด จากนั้นนำน้ำต้มด้วยใบไม้เหล่านั้นมารดตัวแล้วก็เข้ากระโจม

       การนึ่งตัวในอ่างน้ำ หมายถึง วิธีการรักษาโรคลมอีกแบบหนึ่ง ใช้ในกรณีที่รดตัวด้วยน้ำที่ต้มเดือดด้วยใบไม้แล้วไม่หาย ก็ให้ใช้วิธีนี้ คือ เอาน้ำอุ่นใส่อ่างหรือราง แล้วลงไปแช่ในน้ำอุ่นนั้นเพื่อทำการนึ่งให้เหงื่อออก จะได้หายจากการเป็นโรคลม

      การระบายโลหิตออก หมายถึง วิธีการรักษาโรคลมอีกแบบหนึ่ง ใช้ในกรณีเป็นโรคลมเสียดยอกตามข้อ โดยสมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะ อาพาธเป็นโรคลมเสียดยอกตามข้อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้รักษาด้วย "การระบายโลหิตออก" แต่ถ้าโรคลมเสียดยอกตามข้อยังไม่หาย ก็ให้ดูดโลหิตออกด้วยเขาสัตว์อีกครั้งหนึ่ง

      พระผู้มีพระภาคเจ้าเองก็เคยทรงประชวรด้วยโรคลมในพระอุทรหรือท้อง และทรงหายประชวรด้วยการเสวยข้าวต้มปรุงด้วยของ 3 อย่าง คือ งา ข้าวสาร และถั่วเขียว ท่านพระสารีบุตรก็เคยอาพาธเป็นลมเสียดท้อง และรักษาให้หายได้ด้วยการ "ฉันกระเทียม"

    ในอรรถกถาบันทึกวิธีการรักษาโรคลมไว้อีกว่า ให้ภิกษุที่อาพาธด้วยโรคลม เติมน้ำมันเปลวหมีและสุกร เป็นต้น ลงในข้าวยาคูที่ต้มด้วยน้ำฝาดรากไม้ 5 ชนิด (น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดขี้กา น้ำฝาดบอระเพ็ด และน้ำฝาดกระถินพิมาน) แล้วดื่มข้าวยาคูนั้น ข้าวยาคูจะช่วยบำบัดโรคได้เพราะมีความร้อนสูง

1.2) วิธีการรักษาโรคฝีและโรคฝีดาษ
       มีภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคฝี พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้รักษาด้วย "การผ่าตัด" แล้วพอกแผลด้วยยา ใช้ผ้าพันปิดแผลไว้ หากแผลคัน ก็ให้ชะล้างแผลด้วยน้ำแป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาดถ้าแผลชื้นหรือเป็นฝ้า ก็ให้รมแผลด้วยควัน หากมีเนื้องอกยื่นออกมา ก็ให้ตัดเนื้องอกนั้นด้วยก้อนเกลือ แล้วใช้น้ำมันทา มานแผล และใช้ผ้าเก่าที่สะอาดๆ ซับน้ำมัน

     ครั้งหนึ่งพระเวลัฏฐสีสะซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระอานนท์ อาพาธเป็นโรคฝีดาษหรืออีสุกอีใสผ้านุ่งผ้าห่มกรังอยู่ที่ตัวเพราะน้ำเหลืองของโรคนั้น เพื่อนภิกษุจึงเอาน้ำชุบผ้าเหล่านั้นแล้วค่อยๆดึงออกมา ต่อมาเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทราบจึงตรัสว่า "เราอนุญาตเภสัชชนิดผงสำหรับภิกษุผู้เป็นฝีก็ดี พุพองก็ดีสิวก็ดี โรคฝีดาษก็ดี มีกลิ่นตัวแรงก็ดี"

1.3) วิธีการรักษาโรคปวดศีรษะ
        วิธีการรักษาโรคศีรษะใน มัยพุทธกาลนั้นมีหลายวิธี เช่น การนัตถุ์ยา การใช้น้ำมันทาศรีษะ และการสูดควันที่เป็นยา เป็นต้น

      ครั้งหนึ่งภรรยาเศรษฐีท่านหนึ่งในเมืองสาเกต ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ 7 ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษาแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ทราบข่าวจึงรับอาสาที่จะรักษาภรรยาเศรษฐีท่านนั้น เมื่อท่านตรวจดูอาการแล้ว จึงนำเนยใสมาหนึ่งซองมือ หุงเนยใสนั้นกับยาต่างๆ แล้วให้ภรรยาเศรษฐีนอนหงายบนเตียง ให้นัตถุ์ยานั้นเพราะการนัตถุ์ยาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทำให้โรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐีซึ่งเป็นมา 7 ปี หายเป็นปลิดทิ้ง

       วันหนึ่งพระปิลินทวัจฉะปวดศีรษะ พระผู้มีพระภาคจึงให้รักษาด้วยการเอาน้ำมันทาศีรษะ แต่โรคปวดศีรษะยังไม่หาย พระพุทธองค์จึงให้รักษาด้วยการนัตถุ์ โรคปวดศีรษะก็ยังไม่หาย พระผู้มีพระภาคจึงให้รักษาด้วยการ "สูดควันที่เป็นยา" เพื่อให้ควันเข้าไประงับความปวด

1.4) วิธีการรักษาโรคเบ็ดเตล็ด
    ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธถูกยาแฝด พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้รักษาด้วยการ ดื่มน้ำที่ละลายจากดินที่ติดผาลไถ อาพาธถูกยาแฝด แปลมาจากบาลีว่า "ฆรทินฺนาพาโธ" หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นเพราะน้ำหรือยาที่หญิงให้ เมื่อดื่มกินเข้าไปแล้วจะตกอยู่ในอำนาจของหญิงนั้น ภาษาในปัจจุบันเรียกว่า "ยาเสน่ห์"

     คำว่า "ผาล" หมายถึง เหล็กสำหรับใช้เป็นอุปกรณ์ไถดิน เช่น ไถดินในที่นาเพื่อปลูกข้าว เป็นต้น ดินที่ติดผาลไถ จึงเป็นดินที่ติดอยู่กับผาลในขณะทำการไถ แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีคำอธิบายว่าดินที่ติดผาลไถนั้นช่วยแก้ยาเสน่ห์ได้อย่างไร

    ภิกษุอีกรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องผูก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้รักษาด้วยการดื่มน้ำด่างน้ำด่าง คือน้ำที่ได้จากการแช่วัตถุที่ใช้ทำยา เช่น เกลือ ขี้เถ้า ขี้วัว เป็นต้น ปกติน้ำด่างที่ได้จากเกลือ ขี้เถ้า และขี้วัวเหล่านี้คนใน มัยพุทธกาลจะใช้สำหรับซักผ้าเพราะจะช่วยกัดสิ่งสกปรกให้หลุดออกได้สำหรับการใช้รักษาโรคท้องผูกนั้นเข้าใจว่า มีจุดประสงค์เพื่อให้น้ำด่างช่วยกัดก้อนอุจจาระที่จับตัวกันแข็งให้อ่อนลงจะได้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น

     ภิกษุอีกรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง พระผู้มีพระภาคจึงให้รักษาด้วยการ "ดื่มยาผล มอดองน้ำมูตรโค" และโรคผอมเหลืองนี้ยังสามารถรักษาด้วย "เนยใส" ได้เช่นกัน เช่น ครั้งหนึ่งพระเจ้าจัณฑปัชโชติทรงพระประชวรด้วยโรคผอมเหลือง หมอชีวกโกมารภัจจ์จึงนำเนยใสมาปรุงเป็นยารักษาพระองค์จนหาย

     ภิกษุอีกรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผิวหนัง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้รักษาด้วยการ "ลูบไล้ด้วยของหอม" น่าจะคล้ายๆ กับการทาแป้งป้องกันความชื้นอันเป็นเหตุแห่งโรคผิวหนังในปัจจุบัน

     ภิกษุอีกรูปหนึ่งอาพาธมีผดผื่นขึ้นตามตัว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้รักษาด้วยการ "ดื่มยาถ่าย" เหตุที่มีผดผื่นนั้นน่าจะเป็นเพราะท้องผูก ไม่ขับถ่าย ร่างกายจึงพยายามขับของเสียออกทางผิวหนังจึงทำให้เกิดผดผื่นขึ้น

     ท่านพระปิลินทวัจฉะเท้าแตก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้รักษาด้วยการใช้ "ยาทาเท้า"แต่โรคยังไม่หาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้ปรุงน้ำมันทาเท้า

    ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรอาพาธเป็นโรคร้อนในกาย พระมหาโมคคัลลานะจึงจัดหายาสมุนไพรคือเหง้าบัวและรากบัวมาถวาย เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเหง้าบัวและรากบัวแล้ว อาพาธร้อนในกายก็หายทันที

1.5) การผ่าตัดในสมัยพุทธกาล
      การผ่าตัดใน มัยพุทธกาลเมื่อ 2,500 กว่าปีที่ผ่านมานั้น มีตัวอย่างบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก 2 เรื่อง คือ การผ่าตัดเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ และการผ่าตัดบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี โดยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด คือ หมอชีวกโกมารภัจจ์

1.5.1) การผ่าตัดเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์
     สมัยนั้นเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์คนหนึ่งป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ 7 ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคน มารักษาก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แพทย์บางพวกได้ทำนายไว้ว่า เศรษฐีคนนี้จักตายในวันที่ 5 บางพวกทำนายไว้ว่าเศรษฐีจักตายในวันที่ 7พระเจ้าพิมพิสารจึงให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ไปช่วยรักษาเศรษฐีท่านนี้

     เมื่อหมอชีวกตรวจดูอาการแล้ว จึงให้เศรษฐีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียง ถลกหนังศีรษะเปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำตัวสัตว์ที่อยู่ในศีรษะของเศรษฐีออกมา องตัวแล้วแสดงแก่ประชาชนว่า จงดูสัตว์ 2 ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง ใหญ่ตัวหนึ่ง โดยสัตว์ตัวใหญ่จะเจาะกินมันสมองของเศรษฐีในวันที่ 5 เมื่อมันกินมันสมองจนหมดเศรษฐีก็จักตายสัตว์ตัวเล็กจะเจาะกินมันสมองของเศรษฐีในวันที่ 7 เมื่อมันกินมันสมองจนหมดเศรษฐีก็จักตายเช่นกัน เมื่อหมอชีวกนำสัตว์ 2 ตัวนั้นออกแล้ว จึงปิดแนวประสานกะโหลกศีรษะ เย็บหนังศีรษะ ทายาสมานแผล ให้เศรษฐีนอนพักฟื้นอยู่ 3สัปดาห์จึงหายป่วย

1.5.2) การผ่าตัดบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี
      การผ่าตัดอีกเรื่องหนึ่ง คือ ใน มัยนั้น บุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ทำให้ข้าวยาคูที่ดื่ม และข้าวสวยที่รับประทาน ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก ซูบผอม เศร้าหมอง ตัวเหลืองขึ้นๆสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น

     หมอชีวกจึงช่วยรักษาบุตรเศรษฐีนั้น เมื่อได้ตรวจดูอาการแล้ว จึงเชิญประชาชนให้ออกไปข้างนอก ขึงม่าน มัดบุตรเศรษฐีไว้กับเสา แล้วทำการผ่าหนังท้อง ตัดเนื้องอกในลำไส้นั้นออก สอดใส่ลำไส้กลับไว้เหมือนเดิม เย็บหนังท้อง ทายาสมานแผล ต่อมาไม่นานบุตรเศรษฐีก็หายป่วยเป็นอัศจรรย์

1.6) วิธีการขับพิษในสมัยพุทธกาล
    วิธีการขับพิษออกจากร่างกายใน มัยพุทธกาลตามที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกนั้นมี 3 วิธีคือ การขับพิษด้วยการขับถ่าย การขับพิษด้วยการเดินจงกรม และการขับพิษด้วยการอบร่างกายในเรือนไฟ ในแต่ละวิธีการมีความเป็นมาและรายละเอียดดังนี้

1.6.1) การขับพิษด้วยการขับถ่าย
     ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกับพระอานนท์ว่า กายของตถาคตหมักหมมไปด้วยโทษ ตถาคตต้องการจะฉันยาถ่าย พระอานนท์จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่หมอชีวกโกมารภัจจ์ๆ คิดว่าการที่เราจะพึงทูลถวายพระโอ ถถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่สมควรเลย เราควรอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วทูลถวายพระตถาคต

     ท่านจึงอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วนำไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งกราบทูลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสูดก้านอุบล 1 ก้าน จะทำให้พระองค์ถ่ายถึง 10 ครั้งเมื่อทรงสูดก้านอุบลครบทั้ง 3 ก้าน ก็จะทรงถ่ายถึง 30 ครั้ง

   เมื่อท่านถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเสร็จแล้ว ขณะเดินกลับไปถึงนอกซุ้มประตูท่านนึกขึ้นได้ว่า พระกายของพระตถาคตหมักหมมไปด้วยโทษ จะทรงถ่ายไม่ครบ 30 ครั้ง แต่เมื่อทรงถ่ายครั้งที่ 29 แล้ว ได้ รงพระกาย ก็จะทรงถ่ายอีกครั้งหนึ่งจึงจะครบ 30 ครั้ง

     พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดนั้นของชีวกโกมารภัจจ์ พระองค์จึงทรงปฏิบัติตามนั้น จึงถ่ายครบ 30 ครั้ง เมื่อทรงถ่ายครบแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลว่า ช่วงนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่างๆ จนกว่าจะมีพระกายเป็นปกติต่อมาไม่นานพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หายเป็นปกติ

1.6.2) การขับพิษด้วยการเดินจงกรม
       สมัยนั้น ทายกทายิกาในพระนครเวสาลีเริ่มจัดปรุงอาหารประณีตขึ้นตามลำดับ ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารนั้นแล้ว มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก จึงมีอาพาธมาก

     หมอชีวกโกมารภัจจ์เห็นภิกษุมีอาพาธมาก จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก ทำให้มีอาพาธมาก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดทรงอนุญาต "ที่จงกรม" และ "เรือนไฟ" เถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลายจักมีอาพาธน้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย "เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ"

      ที่จงกรม คำว่า "จงกรม" หมายถึง การเดินกลับไปกลับมาโดยมีสติกำกับ จงกรมจึงเป็นการทำสมาธิในท่าเดินนั่นเองส่วน "ที่จงกรม" หมายถึง ถานที่ที่ได้จัดเตรียมไว้สำหรับการเดินจงกรมของพระภิกษุ

      การจงกรมขับพิษได้อย่างไร การจงกรมนั้นถือเป็นการออกกำลังกายวิธีหนึ่ง เพราะต้องเดินกลับไปกลับมาหลายรอบ ทำให้ร่างกายได้ออกกำลังเป็นเหตุให้เหงื่อออก พิษต่างๆ ที่สะสมอยู่ในร่างกายก็จะถูกขับออกด้วยเหงื่อนั้น

1.6.2) การขับพิษด้วยการอบร่างกายในเรือนไฟ
      เรือนไฟ หมายถึง โรงเรือนสำหรับอบร่างกายของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล การอบร่างกายก็เป็นการขับพิษอีกวิธีหนึ่ง เพราะการอบจะทำให้เหงื่อออกมาก พิษในร่างกายก็จะถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อนั้น

      รูปแบบของเรือนไฟและอุปกรณ์ในเรือนไฟมีดังนี้ คือ เรือนไฟสร้างเป็นอาคาร มีฝาผนังโดยรอบ มีประตูเข้าออก 1 ประตู ภายในเรือนไฟมี "เตาไฟ"สำหรับจุดไฟเพื่ออบร่างกาย ถ้าเรือนมีขนาดใหญ่จะตั้งเตาไฟไว้ตรงกลาง ถ้าเรือนไฟมีขนาดเล็กจะตั้งเตาไฟไว้ข้างใดข้างหนึ่งและมีปล่องควันอยู่บนหลังคาเพื่อระบายควันออก

     ภายในเรือนไฟยังมี "อ่างน้ำ" หรือ "รางน้ำ" เพื่อให้ความชุ่มเย็น ช่วยลดความร้อนจากเตาไฟ ในบริเวณรอบๆ เตาไฟก็จะมี "ตั่ง"สำหรับให้พระภิกษุนั่งเพื่ออบร่างกายในบริเวณใกล้เรือนไฟพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังอนุญาตให้สร้าง "ศาลาเรือนไฟ" "บ่อน้ำ" และ " ระน้ำ" ไว้สำหรับให้พระภิกษุปฏิบัติกิจหลังจากออกจากเรือนไฟแล้ว เช่น ซักจีวร ตากจีวรและสรงน้ำ เป็นต้น โดย ระน้ำนั้นจะเป็นที่สำหรับให้พระภิกษุลงอาบชำระล้างร่างกายหลังจากออกจากเรือนไฟ


2) การรักษาจิตใจด้วยธรรมโอสถ
     จากที่กล่าวแล้วว่า มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้นประกอบด้วย"ร่างกายกับจิตใจ"ซึ่งสัมพันธ์กัน อาศัยซึ่งกันและกันส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน เมื่อร่างกายเกิดอาพาธหรือเจ็บป่วยก็จะส่งผลถึงจิตใจด้วย หรือเมื่อไม่สบายใจหรือป่วยทางใจ ก็จะส่งผลถึงร่างกายด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการรักษาจึงจำเป็นต้องรักษาทั้ง 2ส่วน คือ ทั้งกายและใจ อาพาธนั้นๆ จึงจะหายได้อย่างรวดเร็ว

     และที่สำคัญสาเหตุแห่งการอาพาธข้อสุดท้าย คือ วิบากกรรมนั้น เป็นการอาพาธเพราะกรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีตชาติหรือในปัจจุบันชาติมาส่งผล เมื่อทำความชั่วก็จะเกิดบาปขึ้นในใจ บาปนั้นจะถูกเก็บไว้ในใจและรอคอยเวลาส่งผลให้เรามีอันเป็นไปต่างๆ เช่น อาพาธ เป็นต้น

     อาพาธอันเกิดจากบาปนี้จะต้องแก้ด้วยธรรมโอสถ คือ การสั่งสมบุญ จึงจะหายได้เพราะบุญจะไปตัดรอดบาปนั้นให้เจือจางลงจนหมดกำลังส่งผล อุปมาบุญเหมือนกับน้ำ บาปเปรียบเหมือนกับเกลือที่ใส้ไว้ในแก้ว เมื่อเราเติมน้ำลงไปในแก้วมากๆ ความเค็มของเกลือก็จะเจือจางลงจนหมดฤทธิ์เค็มในที่สุด

      สำหรับวิธีการรักษาจิตใจด้วยธรรมโอสถ คือ การสั่งสมบุญนี้สามารถทำได้หลายวิธีเช่น การให้ทาน รักษาศีลสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา การทำสัจจกิริยา และฟังธรรม เป็นต้นอาหารและยาเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงและบำบัดรักษาร่างกายฉันใด ธรรมโอสถคือการสั่งสมบุญก็เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงและบำบัดรักษาจิตใจฉันนั้น

2.1) การรักษาอาพาธด้วยการฟังธรรม
     การฟังธรรมเป็นเหตุให้เกิดบุญวิธีหนึ่งเรียกว่า "ธัมมัสวนมัย" บุญจากการฟังธรรมนี้สามารถรักษาอาพาธได้ ซึ่งมีตัวอย่างการรักษาด้วยวิธีนี้จำนวนมาก

  ครั้งหนึ่ง พระมหากัสสปเถระอาพาธหนัก พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านและทรงแสดงธรรมเรื่องโพชฌงค์ 7 ให้ท่านฟังว่า "กัสสปะ โพชฌงค์ 7 ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ..."

     เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว พระมหากัสสปเถระ มีใจยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และหายขาดจากอาพาธนั้นเป็นอัศจรรย์

     พระมหาโมคคัลลานะ และ พระคิริมานนท์ ก็เคยอาพาธเช่นนี้เหมือนกัน และหายอาพาธเพราะได้ฟังฟังธรรมเรื่องโพชฌงค์ 7 และสัญญา 10 ตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าเองก็เคยหายจากพระประชวรเพราะได้ฟังธรรมเรื่องโพชฌงค์ 7 เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่นๆ อีกซึ่งบันทึกไว้ในพระสูตรต่างๆ เช่น ในปฐมเคลัญญสูตร วักกลิสูตร ปฐมคิลานสูตรคิลานสูตร อนาถปิณฑิโกวาทสูตร เป็นต้น

2.2) การรักษาอาพาธด้วยการเจริญสมาธิภาวนา
     การเจริญสมาธิภาวนาเป็นทางมาแห่งบุญอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า "ภาวนามัย" ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ทำให้ได้รับบุญมากที่สุด และบุญที่เกิดขึ้นนี้ช่วยรักษาอาพาธให้หายได้เช่นกัน ดัง ตัวอย่างที่บันทึกไว้ในกัมมวิปากชสูตรดังนี้

     ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธหนักเพราะวิบากบาปกรรมในอดีต ท่านจึงระงับการอาพาธด้วยการนั่งสมาธิ ตั้งกายตรง อดกลั้นทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อน อยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคเจ้า

     พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปนั้น จึงทรงเปล่งอุทานว่า "ภิกษุผู้ละกรรมทั้งหมดได้... ดำรงมั่น คงที่ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะบอกให้คนช่วยเยียวยา

   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็เคยใช้การเจริญสมาธิภาวนารักษาอาการประชวรของพระองค์เช่นกัน โดยครั้งหนึ่งพระองค์ได้เกิดพระประชวรรุนแรงจวนเจียนปรินิพพาน ขณะนั้นทรงพระดำริว่า "...เราควรใช้ความเพียรขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตสังขารอยู่ต่อไป" ความเพียรในที่นี้คือ การเจริญสมาธิภาวนาเพื่อเข้าฌานสมาบัตินั่นเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงใช้ความเพียรขับไล่อาการพระประชวรแล้วอาการพระประชวรจึงสงบลงและหายในที่สุด

2.3) การรักษาอาพาธด้วยการทำสัจจกิริยา
    การทำสัจจกิริยา หมายถึง การนึกถึงบุญ หรือ ความจริง ที่เคยทำไว้จริง ของตนเองหรือของบุคคลที่ต้องการจะบำบัดรักษา แล้วกล่าวสัจจวาจาโดยอ้างถึงบุญ หรือ ความจริงนั้นว่า "จงช่วยให้ตนหรือบุคคลที่อาพาธหายจากอาพาธนั้น" ซึ่งบุญที่ได้อ้างถึงนั้นรวมกับบุญจากการรักษาศีลคือ กล่าวสัจจวาจาละการพูดเท็จในขณะนั้น จะช่วยให้หายจากการอาพาธได้เป็นอัศจรรย์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

     ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บวชเป็นดาบ อยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งพระโพธิสัตว์ได้ออกจากป่าเพื่อไปเยี่ยม หายคนหนึ่ง ชื่อมัณฑัพยะ

     ในวันนั้นเองบุตรของท่านมัณฑัพยะถูกอสรพิษตัวหนึ่งกัด จนสลบล้มลง มารดาและบิดาจึงพาบุตรไปให้พระโพธิสัตว์ช่วยรักษา พระโพธิสัตว์กล่าวว่า "ดีแล้วเราจักทำสัจจกิริยา"แล้ววางมือลงที่ศีรษะกุมารนั้นพร้อมกับกล่าวคาถาว่า

      "ตั้งแต่บวชมาจนถึงปัจจุบัน เราได้มีจิตเลื่อมใสในการประพฤติพรหมจรรย์อยู่เพียง 7 วันเท่านั้น หลังจากนั้น แม้เราจะไม่มีความใคร่บรรพชา แต่ก็ทนอยู่มาได้ถึง 50 กว่าปี ด้วยความสัตย์อันนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่กุมาร พิษจงคลาย กุมารนี้จงรอดชีวิตเถิด"

     พร้อมกับสัจจกิริยานั้น พิษในกายตอนบนของกุมารก็ตกเข้าแผ่นดินหมด กุมารนั้นลืมนัยน์ตาขึ้นดูมารดาบิดาเรียกว่า "แม่" แล้วพลิกนอน พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกับ หายว่า กำลังของเราทำได้เท่านั้น ท่านจงทำสัจจกิริยาบ้างเถิด มัณฑัพยะรับคำแล้ว วางมือลงที่หน้าอกของบุตรแล้วได้กล่าวคาถาว่า

     "ในเวลาที่สมณพราหมณ์มาขอพักอยู่ที่บ้านของเรา บางครั้งเราไม่พอใจจะให้พักเลยแต่เราก็ตัดใจให้พักได้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่บุตรของเรา พิษจงคลายออกบุตรของเราจงรอดชีวิตเถิด"

    เมื่อบิดาทำสัจจกิริยาแล้ว พิษในกายของบุตรเหนือสะเอวก็ตกเข้าแผ่นดิน กุมารลุกขึ้นนั่งได้แต่ยังยืนไม่ได้ บิดาจึงกล่าวกะมารดาของกุมารนั้นว่า ที่รัก เจ้าจงทำสัจจกิริยาให้บุตรลุกขึ้นเดินได้ มารดากล่าวว่า ความสัตย์ของฉันก็มีอยู่อย่างหนึ่งแต่ไม่อาจกล่าวต่อหน้าท่านสามีกล่าวว่า ถึงอย่างไรก็กล่าวไปเถอะที่รัก นางรับคำแล้วจึงได้กล่าวคาถาว่า

     "ลูกรัก อสรพิษที่ออกจากโพรงกัดเจ้า ไม่เป็นที่รักของแม่ฉันใด บิดาของเจ้าก็ไม่เป็นที่รักของแม่ฉันนั้น ด้วยความสัตย์นี้ ขอความ วั ดี จงมีแก่บุตรของเรา พิษจงคลายออก บุตรของเรา จงรอดชีวิตเถิด" พร้อมกับสัจจกิริยานั้นเอง พิษทั้งหมดก็ตกลงเข้าแผ่นดิน กุมารนั้นจึงลุกขึ้นยืนและเดินได้เป็นปกติ

     เรื่องการรักษาอาพาธด้วยการทำสัจจกิริยานั้นยังมีอีกหลายตัวอย่าง ซึ่งนักศึกษาสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในพระไตรปิฎก

     การรักษาอาพาธด้วยวิธีนี้ให้ได้ผลดังตัวอย่างที่กล่าวมานั้น มีปัจจัยสำคัญอยู่อย่างน้อย 2 ประการ คือสัจจบารมีของผู้ทำสัจจกิริยามีมากน้อยเพียงใด และบุญบาปในตัวของผู้อาพาธ หากสัจจบารมีของผู้ทำสัจจกิริยามีมาก บุญในตัวของผู้อาพาธมีมาก และบาปที่ส่งผลให้เกิดการอาพาธเบาบางแล้ว การรักษาอาพาธด้วยวิธีนี้ก็จะสำเร็จผลเป็นอัศจรรย์ แต่ถ้าผู้ให้การรักษามีสัจจบารมีน้อย บุญในตัวของผู้อาพาธน้อย แต่บาปที่ส่งผลให้อาพาธยังมีหนาแน่นการรักษาด้วยวิธีนี้ก็ยากจะสำเร็จผล

2.4) การรักษาอาพาธด้วยบุญสร้างและกวาดโรงฉัน
      ครั้งหนึ่ง พระอนุรุทธเถระได้ไปเมืองกบิลพั ดุ์พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป พระญาติทั้งหลายของท่านจึงพากันมากราบพระเถระ เว้นแต่พระน้องนางชื่อโรหิณี พระเถระถามพวกพระญาติว่า พระนางโรหิณีอยู่ที่ไหน

     พวกพระญาติกล่าวว่า พระนางโรหิณี อยู่ในตำหนัก พระนางอาพาธเป็น "โรคผิวหนัง"ไม่สงค์จะมาเพราะทรงละอายที่เป็นโรคนั้นพระเถระจึงแนะนำให้พระนางทำบุญสร้างโรงฉัน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ให้กวาดพื้นโรงฉัน ปูอาสนะ และ ตั้งหม้อน้ำดื่มไว้สำหรับพระภิกษุเสมอๆ" พระนางโรหิณีก็ได้ปฏิบัติตามนั้นโรคผิวหนังของพระนางจึงราบลง

    ต่อมาพระนางได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขให้มาฉันภัตตาหารในครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงบุรพกรรมของพระนางโรหิณีว่า ในอดีตพระนางได้นำผงเต่าร้างโปรยใส่หญิงคนหนึ่ง รีระของหญิงนั้นจึงพุพองขึ้น กรรมนั้นจึงส่งผลให้พระนางเป็นโรคผิวหนังในชาตินี้ เมื่อพระพุทธองค์แ ดงธรรมจบแล้ว พระนางโรหิณีก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลสรีระของพระนางได้มีวรรณะดุจทองคำ โรคผิวหนังจึงหายเป็นปลิดทิ้งในบัดนั้น

     การรักษาอาพาธด้วยการสั่งสมบุญด้วยวิธีอื่นๆ ยังมีอีกหลายประการ ซึ่งนักศึกษาสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ในพระไตรปิฎก


6. การพยาบาลผู้อาพาธ
  ในการพยาบาลผู้อาพาธนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงคุณสมบัติของผู้เหมาะสมที่จะพยาบาลไว้ 5 ประการ และพระองค์ยังตรัสถึงผู้อาพาธที่พยาบาลง่ายและพยาบาลยากไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติตนของผู้พยาบาลและผู้อาพาธทั้งหลาย

1) คุณสมบัติแพทย์และพยาบาลที่ดี

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุ ผู้พยาบาลที่ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ควรพยาบาลผู้อาพาธ ธรรม 5 ประการ มีดังนี้ คือ

(1)สามารถจัดยา

(2) ทราบสิ่งที่สัปปายะ (เป็นที่สบาย) และสิ่งที่ไม่สัปปายะ (ไม่เป็นที่สบาย)สำหรับผู้อาพาธ เช่น ทราบว่าอาหารใดไม่แ ลงต่อโรค ก็นำอาหารนั้นมาให้ผู้ป่วยรับประทานส่วนอาหารใดแสลงต่อโรคก็ไม่นำมาให้ผู้ป่วยรับประทาน เป็นต้น

(3) มีจิตเมตตาพยาบาล ไม่เห็นแก่ของรางวัล

(4) ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัวสาวะ อาเจียน น้ำเลือด น้ำหนอง หรือน้ำลายออกไปทิ้ง

(5) สามารถชี้แจงให้ผู้ป่วยเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่น ร่าเริง ด้วย "ธรรมีกถา (การเล่าเรื่องธรรมะ)" ตามกาลอันควร ทั้ง 5 ประการนี้ เป็นธรรมของผู้ควรพยาบาลผู้อาพาธส่วนผู้ใดที่ประกอบด้วยธรรมตรงข้ามกับ 5 ประการนี้ ก็ไม่ มควรพยาบาลผู้อาพาธ

     จะเห็นว่าในการพยาบาลผู้ป่วยนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้พยาบาลทั้งร่างกายและจิตใจเช่นกันคือ ข้อ 14 เป็นการพยาบาลทางด้านร่างกายส่วนข้อ 5 คือ การแสดงธรรมีกถานั้น เป็นการพยาบาลจิตใจผู้ป่วยด้วยธรรมโอสถ

2) ผู้อาพาธที่พยาบาลได้ง่าย
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้อาพาธที่ประกอบด้วยธรรม 5 ประการเป็นผู้พยาบาลได้ง่าย ธรรม 5 ประการมีดังนี้

(1) ทำสิ่งที่สัปปายะแก่ตน เช่น รับประทานอาหารที่ไม่แสลงต่อโรค เป็นต้น

(2) รู้จักประมาณในสิ่งที่สัปปายะ เช่น รู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร

(3) รับประทานยา

(4) บอกอาพาธตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาล

(5) เป็นผู้อดกลั้นต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น

    ทั้ง 5 ประการนี้เป็นธรรมของผู้อาพาธที่พยาบาลได้ง่ายส่วนผู้ใดที่ประกอบด้วยธรรมที่ตรงข้ามกับ 5 ประการนี้ถือว่าเป็นผู้อาพาธที่พยาบาลได้ยาก

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.021089883645376 Mins