พระธรรมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
บทนำ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นปฐมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นแม่บทของการดับทุกข์อันตรัสรู้โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ว่าในยุคนั้นจะมีวิธีการเพื่อแ วงหาหนทางพ้นทุกข์อย่างไรก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงทดลองมาหมดทั้งสิ้นแล้วสภาวธรรมอันสูงสุดแต่ละอย่างที่มีก็ทรงเรียนรู้และได้บรรลุจนหมดสิ้น แม้การทรมานตนที่ยังไม่เคยมีใครสามารถพิสูจน์ว่าสามารถขจัดกิเลสได้จริง พระองค์ก็ทรงทดลองจนถึงที่สุดตามความสามารถของมนุษย์แล้ว แต่ก็ไม่สามารถขจัดกิเลสได้ พระองค์จึงต้องทรงใช้วิธีของพระองค์เองจนตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้เป็นพระสูตรแรกหลังจากการตรัสรู้
1. ธรรมอันลามก
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ ใจความที่ปรากฏในตอนต้นพระสูตร มีคำปฏิญาณของพระอานนท์เถรเจ้า ซึ่งปรากฏอยู่ในตอนต้นพระสูตรว่า
ข้าพระพุทธเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์ ได้สดับมาแต่เฉพาะพระพักตร์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังต่อไปนี้
สมัยหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ณ ที่นั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรียกปัญจวัคคีย์ทั้งห้ามาแล้วตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันลามกทั้งหลายนี้มี 2 ประการ อันบรรพชิตในบวรพุทธศาสนาจะต้องไม่ซ่องเสพเป็นอันขาด ธรรมอันลามก 2 ประการนั้น คือ
1. กามสุขัลลิกานุโยค
2. อัตตกิลมถานุโยค
1.1 กามสุขัลลิกานุโยค คือ ภาวะกำหนัดยินดีในเบญจกามคุณทั้ง 5 อันประกอบด้วย รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย มีความปรารถนากามคุณอยู่เป็นนิจ มีความกระวนกระวายแสวงหากามคุณไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีหยุดหย่อน มีนิสัยชอบเกลือกกลั้ว มัวเมาอยู่ด้วยกามคุณจนเป็นสันดาน ระลึกนึกถึงแต่จะอภิรมย์ชมชื่นอยู่ด้วยกามคุณจนไม่คิดถึงหรือยินดีที่จะออกบรรพชา ความใฝ่ฝันปรารถนาจะอภิรมย์แต่กามคุณนี้ อุปมาเสมือนสุกรบ้านจมปลักอยู่ในกองคูถและมูตร คือ อุจจาระและปัสาวะในคอกของมันเองด้วยความชื่นชมยินดีบริโภคสิ่งสกปรกลามกนั้น เพราะสำคัญว่าเป็นของดีตามวิสัยสุกร
กามสุขัลลิกานุโยคนี้เป็นของชั่วช้าลามก อาจจะเปรียบได้กับซากศพอันเน่าเหม็น ซึ่งถูกทอดทิ้งไว้ในสุสานหรือป่าช้า หรือมิฉะนั้น เบญจกามคุณก็อาจเปรียบได้กับโครงกระดูกของสัตวโลกที่เป็นโครงร่างถูกทิ้งไว้บนพื้นแผ่นดิน บุคคลผู้บริโภคเบญจกามคุณนั้นเล่าก็เปรียบเหมือนสุนัขที่ชอบกัดแทะอัฐิ หรือกระดูกอันปราศจากเนื้อหนังมังสา จะได้รู้สึกอิ่มหนำสำราญสักชั่วครู่ชั่วยามก็หาไม่ ลักษณะที่ยินดีปรีดาบริโภคเบญจกามคุณนั้นเปรียบประดุจดังความฝัน เพราะไม่ยั่งยืน เป็นอยู่เพียงชั่วครู่ชั่วยามก็แปรปรวนเป็นอื่นหรืออันตรธานสูญสิ้นไป
อนึ่ง เบญจกามคุณนี้ยังอุปมาเสมือนถ่านเพลิงอันลุกโชน บุคคลผู้ยินดีบริโภคเบญจกามคุณนั้น อุปมาเสมือนกำลังตกอยู่ในขุมถ่านเพลิง มีแต่จะถึงแก่ด่าวดิ้นสิ้นชีวิตลงไปอย่างเดียว หากยังไม่ตายก็ได้แต่เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสอุปมาข้อนี้ฉันใด บุคคลที่มัวเมาอยู่ด้วยราคะดำฤษณาก็จะเวียนตายเวียนเกิดเวียนทุกขเวทนาอยู่ในวัฏสงสารอย่างแสนสาหัสย่อมมีอุปไมยฉันนั้น
เบญจกามคุณนี้ยังอาจเปรียบได้กับผลไม้มีพิษ บุคคลที่ยินดีบริโภคเบญจกามคุณจึงเปรียบเสมือนบุคคลที่หลงบริโภคผลไม้มีพิษเข้าไป ย่อมได้รับทุกข์ทรมานนักหนา หรือมิฉะนั้นก็อาจถึงแก่ม้วยมรณาได้
นอกจากนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงอุปมาเบญจกามคุณว่าเป็นเสมือนดาบ กระบี่ หอก และหลาว บุคคลผู้หลงอยู่ด้วยเบญจกามคุณนั้น เปรียบประดุจบุคคลต้องโทษประหารด้วยคมดาบ กระบี่ หอก และหลาว มีแต่จะประสบกับความเดือดร้อน ถ้าไม่ถึงแก่ชีวิตดับดิ้นสิ้นไปทันที ก็คงจะประสบกับทุกขเวทนาอันสุดแสนจะทนทาน การที่จะได้รับผลประโยชน์สักน้อยนิดจากการบริโภคเบญจกามคุณนั้นหามิได้เลย
ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงถือว่า กามสุขัลลิกานุโยคเป็นของชั่วช้าลามก เป็นของต่ำทราม เปรียบประดุจซากอสุภ คือซากศพ หรือไม่ก็ประดุจกองคูถ อันเป็นอาหารโอชะของหมู่หนอนทั้งปวง
หรือมิฉะนั้น ก็เปรียบประดุจน้ำครำอันเป็นที่เกลือกกลั้วของเหล่าสุกรทั้งปวง กามสุขัลลิกานุโยคนี้เป็นของคฤหั ถ์ผู้ครองเรือน มิได้เป็นของบรรพชิต
หรือเปรียบประดุจลูกข่าง อันเป็นของเล่นสำหรับเด็กทั้งหลาย กามสุขัลลิกานุโยคนี้เป็นของปุถุชน คือบุคคลที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลสปุถุชนย่อมสั่งสมและบริโภคกามสุขัลลิกานุโยคอยู่เป็นนิจ
หรือกามสุขัลลิกานุโยคย่อมเปรียบเสมือนปลายข้าว รำ และแกลบ ซึ่งถูกเทไว้ในรางเพื่อเป็นอาหารสำหรับเหล่าสุกร
หรือมิฉะนั้น กามสุขัลลิกานุโยคก็เปรียบเสมือนคูถ หรืออุจจาระของคน ซึ่งสุนัขชอบเสพอยู่เนือง ๆ
หรือมิฉะนั้น กามสุขัลลิกานุโยคก็เปรียบประดุจป่าช้า อันโสโครกไปด้วยซากอสุภ เป็นที่ชุมนุมซ่องเสพแห่งสุนัขและนกแร้งกาทั้งปวง
หรือมิฉะนั้น ก็เปรียบประดุจเวจกุฎี คือส้วม ซึ่งโสโครกด้วยสิ่งปฏิกูลอันน่ารังเกียจยิ่งนัก
หรือมิฉะนั้น ก็เปรียบเสมือนดังน้ำล้างอาจม และล้างหม้ออาจม
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระดำรัสเทศนาว่า กามสุขัลลิกานุโยคนี้เป็นสิ่งที่พระอริยบุคคล มิได้พึงปรารถนาเลย อุปมาดังหญิงจัณฑาล ซึ่งไม่มีพราหมณ์มหาศาล ผู้มีชาติตระกูลสูงคนใดปรารถนาจะนำมาเป็นภรรยา ด้วยเหตุว่ากิริยามารยาทและถ้อยคำของหญิงนี้ มิได้ทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติแห่งอริยบุคคล หรืออุปมาว่าเธอมีกิริยามารยาทดุจสุนัขและสุกรอันเทียบมิได้กับกิริยาแห่งพระยาไกรสรราชสีห์
อันกามสุขัลลิกานุโยคนี้จะได้ก่อให้เกิดประโยชน์สักน้อยนิดก็หามิได้ ตรงกันข้ามมีแต่จะนำความทุกข์และความฉิบหายมาให้ เปรียบประดุจดังหนทางอันทุรกันดาร ซึ่งมีนางยักขินีหวงแหนนักหนา ผู้ที่สัญจรไปตามหนทางนั้น ย่อมจะต้องประสบความทุกข์ความเดือดร้อนตลอดถึงความตาย
หรือมิฉะนั้น กามสุขัลลิกานุโยคก็เปรียบประดุจดังอสรพิษ ซึ่งมิได้มีประโยชน์ต่อบุคคลใด ๆ ทั้งสิ้น
อันกามสุขัลลิกานุโยคนี้ อาจเปรียบได้กับน้ำผึ้งอันติดอยู่ ณ คมกริช ผู้ใดเป็นคนโลภเห็นแก่กิน เข้าไปลิ้มเลียร น้ำผึ้ง จะประสบกับความตายฉันนั้น
บุคคลผู้มัวเมาลุ่มหลงอยู่ด้วยราคะดำฤษณา ย่อมเปรียบเสมือนบุคคลผู้หลงบริโภคผลไม้มีพิษ ด้วยสำคัญผิดว่าเป็นผลมะม่วง ย่อมจะต้องได้รับทุกข์ทรมาน มีแต่ความตายรออยู่เบื้องหน้า จะได้รับคุณอันใดก็หามิได้
นอกจากนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงมีพระพุทธดำรัสว่า บุคคลที่หลงบริโภคกามคุณนี้ เปรียบประดุจสัตว์ในนรกหลงเข้าไปสู่แดนนรก อันน่าขนลุกขนพอง สยองเกล้าด้วยสำคัญผิดว่านั่นเป็นมหานคร
หรือมิฉะนั้น ก็เปรียบประดุจบุคคลผู้ตกลงปลงใจร่วมรักสมัครสังวา อยู่กินกับนางยักขินี ด้วยสำคัญผิดว่านั่นคือ ตรีงามผู้เป็นมนุษย์เหมือนกัน เช่นนี้ย่อมจะมีแต่ความเดือดร้อนรออยู่เบื้องหน้า
หรือมิฉะนั้น กามสุขัลลิกานุโยคก็เปรียบประดุจกา ซึ่งบินไปเกาะกินซากช้าง ซึ่งกำลังลอยไปตามน้ำ ด้วยสำคัญว่าเป็นยานขนาดใหญ่ที่ไม่มีวันจะจม เพราะความโลภ เห็นแก่กินมัวแต่เพลิดเพลินอยู่กับการกิน จนกระทั่งซากอสุภนั้นลอยไปสู่ทะเลลึก กาจึงไม่สามารถบินเข้าฝังได้ ในที่สุดก็จมน้ำตายอยู่ในมหาสมุทรนั้นเอง อุปมาข้อนี้ฉันใด อันบุคคลผู้หลงยินดีบริโภคเบญจกามคุณนี้ก็มีแต่จะต้องประสบทุกข์และภยันตราย ความยากลำบาก ความตายจะหาประโยชน์อันใดสักนิดก็มิได้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น
สาธุชนผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายพึงทราบเถิดว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพุทธดำรัสเกี่ยวกับกามสุขัลลิกานุโยค โดยทรงชี้โทษของเบญจกามคุณแก่ปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง 5 ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โดยอเนกประการดังได้พรรณนามาแล้ว
นอกจากนี้ในมหาทุกขักขันธสูตร สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงโทษแห่งเบญจกามคุณทั้ง 5 แก่ภิกษุทั้งหลายในพระนครสาวัตถี มีอเนกประการมากกว่าในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเสียอีก ดังกระแสพระพุทธดำรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความยินดีในกามคุณทั้งหลายนั้นเป็นไฉน กามคุณนี้มีอยู่ 5 ประการ คือ รูปอันพึงรู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ เสียงอันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยโ ตวิญญาณ กลิ่นอันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยฆานวิญญาณ รสอันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณ โผฏฐัพพะอันพึงรู้ได้ด้วยกายวิญญาณรวมเป็น 5 ประการด้วยกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณทั้ง 5 ประการนี้ เป็นที่ปรารถนายินดีและพึงใจให้คนเราเกิดความกำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขและความชื่นชมยินดีอันใดที่เกิดจากกามคุณ ความสุขและความยินดีนั้นได้ชื่อว่า ยินดีในกามคุณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามคุณทั้งหลายนั้นเป็นอย่างไร กุลบุตรบางพวกในโลกนี้เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยอาชีพต่าง ๆ กันมากมาย บางคนก็ทำไร่ไถนา บางคนก็เป็นพ่อค้านักธุรกิจบางคนก็เลี้ยงวัวแล้วรีดนมขาย บางคนก็เป็นข้าราชการทหาร บางคนก็เป็นข้าราชการพลเรือนบางคนก็เลี้ยงช้าง บางคนก็เลี้ยงม้า เป็นต้น วิถีแห่งการเลี้ยงชีวิตของแต่ละคนนั้นต้องลำบากตรากตรำหนักหนา พอถึงหน้าหนาว บางคนก็อาจต้องทนหนาวเหน็บร่างกายยิ่งนัก พอถึงหน้าร้อน ก็ต้องทนทรมานกับ ภาวะอากาศอันอบอ้าว ผิวกร้านเกรียมเพราะถูกลมและแดด
แผดเผา บางครั้งก็อาจจะต้องเผชิญกับสัตว์น้อยใหญ่ เป็นต้นว่า ถูกเหลือบยุงหรือแมลงอื่นใดกัดต่อย อาจจะต้องเผชิญกับอสรพิษ เช่น งูตัวเล็กตัวใหญ่เป็นจำนวนมาก บางครั้งร่างกายก็ต้องผอมแห้งลง เนื่องด้วยขาดแคลนปัจจัยบำรุงสังขารร่างกาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปศาสตร์ หรือวิทยาการก้าวหน้าใด ๆ ก็ตามความยากลำบากด้วยประสบภัยตามธรรมชาติก็ตาม เหล่านี้ล้วนเป็นโทษแห่งกามคุณกองทุกข์ที่เราได้ประจักษ์อยู่ในชีวิต ล้วนมีกามคุณเป็นเหตุ มีกามคุณเป็นโทษ เมื่อกุลบุตรเพียรพยายามประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ ครั้นไม่ประสบความสำเร็จดังปรารถนา กุลบุตรเหล่านั้นย่อมโศกเศร้าเสียใจเป็นหนักหนาถึงกับพร่ำเพ้อว่า เสียแรงทุ่มเทอุตสาหะพยายาม แต่ก็ประสบความล้มเหลว มีแต่ขาดทุนขาดรอน มิได้รับประโยชน์อันใด ทั้งนี้ล้วนเป็นโทษของกามคุณ กองทุกข์เห็นประจักษ์ดังนี้ ก็เพราะมีกามคุณเป็นเหตุ
หากว่ากุลบุตรคนใดมีความอุตสาหะพากเพียร ประกอบการงานอาชีพแล้วประสบความสำเร็จอย่างสูง มีสมบัติมากมายมหาศาล ก็ย่อมจะรู้สึกทุกข์โทมนั อีก เพระกังวลว่าจะทำอย่างไรดีหนอ ท้าวพระยาจึงจะไม่นำทรัพย์สมบัติของตนไปได้ โจรทั้งหลายจึงจะไม่สามารถปล้นทรัพย์สมบัติของตนไปได้ เพลิงจะไม่สามารถเผาไหม้ทรัพย์สินของตนไปได้ น้ำจะไม่พัดพาหรือก่อความพินาศให้แก่ทรัพย์สินของตนไปได้ ศัตรูหมู่ไพรีจะไม่สามารถนำทรัพย์ของตนไปได้ ให้วิตกวิจารเป็นทุกข์เรื่องการปกป้องรักษาทรัพย์สมบัติของตนนานัปการ
ครั้นเมื่อทรัพย์สมบัติที่ตนเพียรพยายามหามาไว้ในครอบครองแล้ว ถูกท้าวพระยานำไปเสีย หรือถูกโจรลักขโมยไป ถูกไฟไหม้ ถูกน้ำพัดพาไป หรือมิฉะนั้นก็ถูกศัตรูหมู่ญาติที่มุ่งร้ายยักยอกนำพาเอาไป กุลบุตรนั้นย่อมเศร้าโศกเสียใจ ทุกข์ทรมานทั้งกายและใจ มีปริเวทนาร่ำไห้ตีอกชกหัว ไม่เป็น มประดี ออกวาจาว่าทรัพย์อันใดที่เป็นของของเรา ทรัพย์นั้นหาเป็นของเราไม่แล้ว เรามิได้มีทรัพย์สมบัตินั้น ๆ อีกต่อไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์นี้ก็เป็นโทษของกามคุณ กองทุกข์อันเห็นประจักษ์นี้ ก็เพราะมีกามคุณเป็นเหตุ มีกามคุณเป็นโทษ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ท้าวพระยาทั้งหลายก็วิวาทกัน ในหมู่กษัตริย์ทั้งหลายก็วิวาทกัน ในหมู่พราหมณ์ทั้งหลายก็วิวาทกัน ในหมู่คฤหบดีทั้งหลายก็วิวาทกัน มารดาก็วิวาทกับบุตร บุตรก็วิวาทกับมารดา บิดาก็วิวาทกับบุตร บุตรก็วิวาทกับบิดา พี่วิวาทกับน้อง พี่ชายวิวาทกับน้องหญิง น้องหญิงวิวาทกับพี่ชาย หายวิวาทกับ หาย ทั้งนี้ก็เพราะมีกามคุณเป็นเหตุ
ชนทั้งหลายมีท้าวพระยาและพระมหากษัตริย์ เป็นต้น เมื่อทะเลาะวิวาทกันก็เพียรพยายามประหัตประหารกันด้วยมือบ้าง ขว้างปากันด้วยก้อนดินบ้าง ทุกตีกันด้วยท่อนไม้ ฟันแทงกันด้วยศาสตราอาวุธบ้าง ในบรรดาคู่วิวาททั้งหลายก็อาจจะถึงแก่ชีวิตลงบ้าง หรือไม่ก็ประสบทุกข์แทบล้มประดาตายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาการที่ทะเลาะวิวาทกันนี้เป็นโทษของกามคุณ กองทุกข์อันเห็นประจักษ์ดังนี้ ก็เพราะมีกามคุณเป็นเหตุ มีกามคุณเป็นโทษ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นอกจากนี้ยังมีเหตุอื่นอีก เช่น ชนบางหมู่เหล่าต่างถือเอาดาบและโล่บ้าง แล่งธนูบ้าง ปนไฟบ้าง ถือเกาทัณฑ์ใช้ลูกศรอาบยาพิษบ้างสู้รบกันในยุทธภูมิ หรือยิงปนเข้าไปยังฝ่ายตรงข้ามบ้าง พุ่งหอกเข้าไปบ้าง ฟันกันด้วยดาบบ้าง จนเกิดการล้มตายกันในยุทธภูมิบ้าง บาดเจ็บสาหั แทบล้มประดาตายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาการที่ชนทั้งหลายย่างเข้าสู่ งคราม รบพุ่งฆ่าฟันกันถึงแก่ความตาย หรือบาดเจ็บสาหัสประดาตายเช่นนี้ล้วนเป็นโทษของกามคุณ กองทุกข์เห็นประจักษ์ดังนี้ก็เป็นโทษของกามคุณ มีกามคุณเป็นเหตุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีเหตุอื่นอีก ชนทั้งหลายที่รบพุ่งฆ่าฟันกันในยุทธภูมินั้นบางพวกก็ก่อเชิงเทินหรือกำแพงขึ้นด้วยอิฐแล้วโบกปูน บางพวกก็ฉาบเชิงเทินด้วยเปอกตมเพื่อให้ลื่นไถล ป้องกันมิให้ฝ่ายที่อยู่ด้านนอกเชิงเทินปีนขึ้นมาได้สะดวก ฝ่ายที่อยู่ด้านในเชิงเทินก็ถือศาสตราวุธเต็มอัตรา หากฝ่ายที่อยู่ด้านนอกเชิงเทินปีนขึ้นมา ก็จะถูกยิงด้วยปนบ้างถูกแทงด้วยหอกบ้าง ถูกฟันด้วยดาบบ้าง ถูกชักด้วยขอบ้าง ฝ่ายที่อยู่นอกเชิงเทินถ้าปีนขึ้นมาบนเชิงเทินได้ ก็อาจจะเทสาดโคมัย อันร้อนระอุลงไปในเชิงเทินบ้างสับด้วยคราดเหล็กลากขึ้นไปตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง มนุษย์ทั้งหลายนั้นตายในที่รบก็มี บาดเจ็บแสนสาหัสทุกข์ทรมานด้วยบาดแผลแทบประดาตายก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทั้งนี้เป็นโทษของกามคุณทั้งสิ้นกองทุกข์เห็นประจักษ์ดังนี้ ล้วนมีกามคุณเป็นเหตุ
ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีชนบางพวกตัดช่องย่องเบาขโมยทรัพย์สินตามบ้านเรือนต่าง ๆ บางพวกก็อุกอาจบุกเข้าปล้นในเคหสถาน แล้วทำร้ายเจ้าทรัพย์ถึงแก่ชีวิต บางพวกก็แอบซุ่มคอยจี้ปล้นคนเดินทาง บางพวกก็คบหาเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น ชนผู้ประกอบกรรมชั่วเหล่านี้ เมื่อถูกท้าวพระยาจับได้ ก็ถูกลงโทษด้วยประการต่าง ๆ มีการเฆี่ยนตีด้วยหวาย เป็นต้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษที่พรรณนามาทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นโทษของกามคุณกองทุกข์เห็นประจักษ์ดังนี้ เพราะมีกามคุณเป็นเหตุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายซึ่งประพฤติชั่วทางกาย คือ กายทุจริต ประพฤติชั่วทางวาจา คือ วาจาทุจริต ประพฤติชั่วทางใจ คือ มโนทุจริต เมื่อเบญจขันธ์คือร่างกายแตกดับไปแล้ว ก็ยังคงเหลืออยู่แต่จิตวิญญาณ อันนำไปเกิดในอบาย 4 ซึ่งเป็นภูมิหรือภพที่ปราศจากความเจริญ อันได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษนี้ก็เป็นโทษของกามคุณ กองทุกข์อันเห็นประจักษ์เป็นไปในปรโลกดังนี้ ก็เพราะมีกามคุณเป็นเหตุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเว้นเสียซึ่งความพอใจใคร่ปรารถนากามคุณอันใดก็ดี กิริยาที่ละเสียซึ่งความกำหนัดยินดีในกามคุณอันใดก็ดี ทั้งสองสิ่งนี้ได้ชื่อว่ากามนิสสรณะ อันได้แก่พระนิพพาน
ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพระดำรัสประทานพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง 5 ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า กามสุขัลลิกานุโยค คือความกำหนัดยินดีในเบญจกามคุณนั้นเป็นของชั่วช้าลามก มิได้เป็นของแห่งพระอริยเจ้า มิได้ประกอบด้วยประโยชน์ บุคคลผู้เป็นบรรพชิตในบวรพุทธศาสนา พึงละพึงเว้นเสีย อย่าได้ซ่องเสพสมาคม อย่าได้นิยมชมชอบว่าเป็นของดี
1.2 อัตตกิลมถานุโยค
คือ การทรมานตน เป็นลัทธิภายนอกบวรพุทธศาสนานักบวชของลัทธินี้มีชื่อเรียกกันว่าเดียรถีย์บ้าง นิครนถ์บ้าง แท้จริงลัทธิแห่งเดียรถีย์นิครนถ์นี้มีมากมายหลายพวกหลายเหล่า บางพวกถือปฏิบัติด้วยการไม่นุ่งผ้าอยู่เป็นนิจ บางพวกถือปฏิบัติด้วยการยืนถ่ายปัสาวะอยู่เป็นนิจ บางพวกถือปฏิบัติด้วยการถ่ายอุจจาระแล้วชำระด้วยนิ้วมืออยู่เป็นนิจ บางพวกถือปฏิบัติด้วยการรับก้อนข้าวจากบ้านใดบ้านหนึ่งก็พอเพียงในแต่ละ
ครั้ง บางพวกถือปฏิบัติด้วยการกินอาหารมื้อละคำเดียว บางพวกถือปฏิบัติด้วยการรับก้อนข้าวจากบ้านใดบ้านหนึ่งเพียงสองบ้านก็พอเพียงในแต่ละครั้ง บางพวกถือปฏิบัติด้วยการรับก้อนข้าวจากผู้ให้ที่เป็นสตรีเพียงผู้เดียวก็เพียงพอในแต่ละครั้ง บางพวกถือบริโภคอาหารมื้อเดียวแล้วงดไปสิบวัน บางพวกถือบริโภคอาหารหนึ่งมื้อแล้วงดไปครึ่งเดือน บางพวกก็บริโภคแต่ปลายข้าว บางพวกก็บริโภคแต่ข้าวแดง บางพวกบริโภคแต่ผักดองและผลไม้ บางพวกบริโภคแต่ข้าวสาร บางพวกบริโภคแต่รำ บางพวกก็นุ่งผ้าซึ่งทำมาจากต้นปอ บางพวกก็ปล่อยผมยาวลงมาปิดอวัยวะร่างกายแทนเสื้อผ้า บางพวกก็นุ่งผ้าซึ่งทำด้วยขนสัตว์ บางพวกก็นุ่งผ้าซึ่งทำ
ด้วยขนปีกนกเค้า บางพวกก็นอนบนกองหนาม บางพวกก็ไม่ยอมอาบน้ำชำระกาย ฯลฯ
สภาวะที่ถือลัทธิภายนอกบวรพุทธศาสนาดังได้กล่าวแล้วเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยคการกระทำเช่นนั้นเป็นการทรมานกายโดยหาประโยชน์อันใดมิได้เลย มีแต่จะได้รับความทุกข์ยากลำบากในภายภาคหน้าเท่านั้น ลัทธิแห่งเดียรถีย์เปรียบประดุจน้ำอ้อยอันระคนด้วยยาพิษผู้ใดบริโภคแล้วผู้นั้นก็จะถึงแก่ม้วยมรณา จะได้รับประโยชน์แม้เพียงน้อยนิดก็หามิได้ หรือมิฉะนั้นลัทธินี้ก็เปรียบประดุจมูตรหรือปัสาวะเน่า อันกลายเป็นน้ำพิษแห่งเชื้อโรค ผู้ใดสำคัญผิดคิดว่าเป็นยาหลงดื่มกินเข้าไป ผู้นั้นก็จะถึงแก่ความตาย ถ้าไม่ตายก็จะต้องเสวยทุกขเวทนาแทบประดาตาย เรื่องที่จะช่วยระงับโรคด้วยเภสัชนั้นอย่าได้หวังเลย ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ลัทธิแห่งเดียรถีย์นิครนถ์ทั้งปวงนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น หาคุณอันใดมิได้เลย
อันลัทธิแห่งเดียรถีย์นิครนถ์นี้ มิได้เป็นของพระอริยเจ้าแต่เป็นของคนอันธพาล บุคคลผู้ปฏิบัติตามลัทธิมิจฉาทิฏฐินั้น เปรียบเสมือนตักแตนอันโดดเข้ากองเพลิง มีแต่จะพบความเดือดร้อนที่รออยู่เบื้องหน้าเท่านั้น อัตตกิลมถานุโยคนี้จะหาประโยชน์สักน้อยนิดก็มิได้ จะได้ก็แต่ความฉิบหาย เปรียบเสมือนมหายักษ์ที่ผูกเวรจองเวรติดตามพิฆาต ฆ่าผู้ประพฤติให้ถึงความตายและความฉิบหาย หรือมิฉะนั้นก็เปรียบประดุจดังบุคคลผู้หลงจับอสรพิษในที่มืด ด้วยสำคัญว่าเป็นเชือก อย่าสงสัยเลยว่าอสรพิษนั้นจะไม่ขบกัดเอา หรือมิฉะนั้นก็เปรียบประดุจบุคคลผู้กระโดดลงไปในเหวลึก อย่าสงสัยเลยว่ากายของเขาจะไม่แหลกละเอียดไป หรือมิฉะนั้น
ก็เปรียบประดุจดังบุคคลที่วิ่งโลดโดดเข้าไปในกองเพลิง อย่าได้สงสัยเลยว่าเพลิงจะไม่สังหารให้เป็นเถ้าถ่านไป อันบุคคลผู้ปรารถนาที่จะพ้นจากวัฏสงสาร แต่หลงไปปฏิบัติตามลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้ว ก็จะได้รับแต่ความยากลำบากกายเสียเปล่า จะได้พ้นทุกข์สำเร็จตามความปรารถนาก็หามิได้
แท้จริง ลัทธิแห่งเดียรถีย์นิครนถ์ภายนอกพระพุทธศาสนานี้ย่อมล่อลวงคนอันธพาลให้ลุ่มหลง เหมือนล่อศัตรูมาเป็นมิตรด้วยมธุรสวาจาพาให้ลุ่มหลง แล้วพาไปตัดศีรษะเสียในป่ารกชัฏ เพราะเหตุนี้ตถาคตจึงตรัสเทศนาว่า อัตตกิลมถานุโยคลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนานี้เป็นของชั่วช้าลามก มิควรที่บรรพชิตในบวรพุทธศาสนาจะพึงซ่องเสพสมาคมเลย
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 006 แม่บทแห่งธรรม
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree