สัมมาวายามะ
สัมมาวายามะ ได้แก่ ความเพียรกระทำกิจ 4 ประการ คือ
1. ระวังมิให้อกุศลธรรมที่ยังมิได้เกิด เกิดขึ้น
2. ละเสียซึ่งอกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
3. ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เคยเกิดให้เกิดขึ้น
4. เจริญกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้วนั้นให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
1. กิจประการที่ 1 ระวังมิให้อกุศลธรรมที่ยังมิได้เกิด เกิดขึ้น
สัมมาวายามะอันเพียรพยายามระวังมิให้อกุศลธรรมที่ยังมิได้เกิดให้เกิดขึ้นนั้น ประดุจดังโมรชาดกอันมีในปกิณณกนิบาตว่า มัยหนึ่งพระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นนกยูงทอง มีกายใหญ่เท่าเรือนเกวียน ตาทั้งสองข้างนั้นแดงดุจเมล็ดมะกล่ำงามยิ่งนัก จะงอยปากนั้นดุจแก้วประพาฬมีแววสีแดงเวียนรอบตัว และแผ่ซ่านไปทั่วกลางหลัง มีรูปงามยิ่งนัก นกยูงทั้งปวงจึงตั้งให้เป็นพระยาแห่งนกยูงทั้งหลาย
อยู่มาวันหนึ่ง นกยูงโพธิสัตว์ลงไปกินน้ำในท้องธาร ได้เล็งเห็นรูปของตนว่างดงาม จึงเกิดปริวิตกว่า หากตนจะอยู่ร่วมกับหมู่นกทั้งหลายท่ามกลางเหล่ามนุษย์นี้ ก็อาจจะมีภัยบังเกิดแก่ตนเป็นแน่แท้ จึงคิดจะไปอยู่อย่างสงบสุขในป่าหิมพานต์แต่เพียงผู้เดียว ครั้นถึงยามราตรีกาล เหล่านกยูงทั้งหลายต่างหลับกันหมดแล้วนกยูงโพธิสัตว์จึงแอบบินไปสู่ป่าหิมพานต์โดยมิให้นกยูงตัวหนึ่งตัวใดล่วงรู้ นกยูงโพธิสัตว์นั้นต้องบินข้ามภูเขาที่ลดหลั่นกันถึงสามชั้นเป็นหนทางไกลถึงสี่ลูก ครั้นแลเห็นสระใหญ่ดาษดาไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ มีต้นไทรใหญ่ร่มรื่นอยู่ต้นหนึ่ง โพธิสัตว์เจ้าจึงปรารถนาจะพำนักอยู่ในบริเวณนั้น จึงบินลงจับอยู่ ณ เชิงเขาใกล้ปากถ้ำแห่งหนึ่ง กะคะเนว่า คงจะปลอดภัยจากศัตรูหมู่ทีฆชาติ คืองูและหมู่มนุษย์ทั้งหลายด้วยเหตุว่าเป็นที่สูงชัน หาทางขึ้นลงมิได้
ครั้นรุ่งสาง เห็นแสงพระอาทิตย์อุทัยขึ้น นกยูงโพธิสัตว์ก็เดินทางต่อมุ่งหน้าสู่บุรพาทิศ พอแลเห็นพระอาทิตย์ ว่างเต็มดวงก็ประนมปีกทั้งสองข้างเข้าไว้ แล้วสวดคาถาว่า "อุเทตยัญจักขุมา เอกราชา หริ วัณโณ" เป็นอาทิ แปลว่า "พระอาทิตย์นี้เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก กำลังอุทัยขึ้นมาทอแสงอร่ามสว่างไปทั่วปฐพีฯ" และเพื่อที่จะรักษาชีวิตให้ยืนยาวอยู่ต่อไป ก็บินออกไปเที่ยวหาอาหารในเวลากลางวัน ครั้นตกเย็นพระโพธิสัตว์เจ้าก็บินมาจับกิ่งไม้เหนือยอดภูเขา แลเห็นดวงอาทิตย์ตกแล้ว ก็สวดคาถาว่า "อัปเปตยัญจักขุมาเอกราชา หริสสวัณโณ" เป็นอาทิ แปลว่า "ดวงอาทิตย์นี้เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก มีสีทองส่องสว่างไปทั่วปฐพี แล้วอัสดงคตไปฯ" แล้วจึงหลับไป ตกว่าพระโพธิสัตว์อุตส่าห์เพียรพยายามดังนี้ทุก ๆ วันเป็นเนืองนิจ จึงยังอกุศลธรรมทั้งปวงมิให้บังเกิดขึ้นในสันดานสิ้นเวลาช้านานถึง 700 ปี อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าสัมมาวายามะ เป็นโลกิยมรรคบังเกิดด้วยกุศลจิต
2. กิจประการที่ 2 ละเสียซึ่งอกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
สัมมาวายามะ อันเพียรพยายามละเสียซึ่งอกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้วนั้น มีตัวอย่างปรากฏอยู่ในปัญจอุโบ ถชาดก ในปกิณณกนิบาตว่า ครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มีสมบัติมากมายมหาศาล แต่ก็ละสมบัติออกบรรพชาเป็นดาบ ตั้งอาศรมอยู่ในสถานที่อันเป็นสัปปายะ ใกล้เมืองมคธราษฎร์ ในบริเวณใกล้กับอาศรมนั้น มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด เป็นต้นว่า มีนกพิราบคู่ผัวตัวเมียคู่หนึ่งอาศัยอยู่ในกอไผ่ มีงูเหลือมตัวหนึ่งในจอมปลวกมีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง และหมีตัวหนึ่ง ต่างตนต่างอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ใกล้ ๆ อาศรมนั้น
อยู่มาวันหนึ่ง นกพิราบทั้งคู่ก็บินไปหาอาหารกัน แต่นกพิราบผู้ภริยาถูกเหยี่ยวโฉบเอาไปกินเสีย ฝ่ายนกพิราบผู้สามีจึงต้องมีชีวิตอยู่เดียวดาย ถูกราคะรบกวนจิตใจหาความสงบมิได้จึงเข้าไปสู่อาศรมแล้ว มาทานอุโบสถศีลในสำนักพระดาบ เพื่อจะข่มราคะเสีย ตั้งปณิธานไว้ว่าตราบใดที่ราคะของตนยังมิได้รำงับสงบลง ตราบนั้นก็จะยังไม่ออกไปหาอาหาร อธิษฐานเช่นนั้นแล้วนกพิราบก็อดอาหารอยู่รักษาอุโบสถศีล ณ อาศรม นั้น
ฝ่ายงูนั้นเล่า ขณะที่ออกมาเที่ยวหาอาหาร ได้ถูกอุสุภราช สีขาวตัวหนึ่งซึ่งเป็นวัวมงคลของนายโคบาลเที่ยวเดินหาอาหารใกล้จอมปลวกเหยียบลงที่คอ งูจึงขบเอาโคอุสุภราชนั้นตายเมื่อนายโคบาลทั้งหลายเที่ยวหามาพบซากโคเข้า จึงร่ำไห้ด้วยความอาลัยรักเป็นหนักหนาในตัวโคอุสุภราชนั้น หลังจากกระทำสักการบูชากันแล้ว เหล่านายโคบาลก็ขุดหลุมฝังโคอุสุภราชไว้ใกล้จอมปลวกนั้น ครั้นงูได้เห็นเช่นนั้นก็เกิดความดำริว่า เพราะตนลุแก่อำนาจโทสะ จึงกระทำให้โคอุสุภราชของชนทั้งหลายต้องถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้ชนทั้งหลายเป็นทุกข์และเศร้าโศก มควรที่ตนจะอดโทสะนั้นเสีย ดำริเช่นนั้นแล้ว งูจึงเข้าไปสู่อาศรม สมาทานอุโบสถศีลในสำนักพระดาบสตั้งปณิธานไว้ว่า ตราบใดที่โทสะของตนยังไม่ระงับ ตราบนั้นตนก็จะยังไม่ออกไปหาอาหาร อธิษฐานเช่นนั้นแล้ว งูก็รักษาอุโบสถกรรม และนอนอยู่ในที่อันควร
ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกนั้น เมื่อไปเที่ยวแสวงหาอาหาร ได้พบช้างตายอยู่ตัวหนึ่งสุนัขจึงกัดทวารของช้างนั้น แล้วลอดเข้าไปกินพุงภายใน อิ่มแล้วก็นอนเขลงอยู่ภายในพุงช้างนั่นเอง พลางรำพึงในใจว่า ในท้องช้างนี้มีทั้งอาหารและที่นอน เหตุไฉนจึงจะต้องออกไปหาอาหารที่อื่นเล่าดำริเช่นนั้นแล้วสุนัขจิ้งจอกก็ไม่ปรารถนาจะออกมาข้างนอก คงนอนอยู่ภายในท้องช้างนั้นอย่างสบายอารมณ์ ภายหลังต่อมา ซากช้างนั้นถูกแดดถูกลมจึงแห้งแข็ง ทวารช้างนั้นก็ปิดเล็กลงสุนัขจิ้งจอกก็ยังนอนอยู่ในท้องช้างนั้น มีสรีระอันซูบผอมลง แต่ยังมองไม่เห็นทางว่าจะออกมาได้อย่างไร
หลายวันต่อมา เกิดฝนตกหนัก ทวารช้างนั้นชุ่มด้วยน้ำฝนจึงเผยอออกนิดหน่อยสุนัขจึงพยายามลอดออกมาทางช่องทวารแคบๆนั้น ขนที่เคย วยงามก็หลุดลุ่ยออกหมดทั้งตัว เมื่อออกมาได้แล้วสุนัขก็รำพึงด้วยความ ลดใจเป็นอย่างยิ่งว่า เหตุที่ตนต้องประสบสภาวะทุกขเวทนาเช่นนี้ก็เพราะโลภะแท้ ๆ จึงตั้งปณิธานไว้ว่า ตราบใดที่ตนยังไม่สามารถข่มโลภะลงได้ ตราบนั้นตนก็จะไม่ไปแ วงหาอาหาร แล้วสุนัขจิ้งจอกก็ไปสู่อาศรมสมาทานอุโบสถศีลในสำนักพระดาบสนั้น แล้วนอนอยู่ในสถานที่อันควร
ฝ่ายหมีนั้นเล่า ก็มีความปรารถนาอาหารครอบงำอารมณ์อยู่เนืองนิจ จึงออกจากพุ่มไม้เข้าไปหาอาหารในป่า ครั้นชนทั้งหลายแลเห็นเข้า บ้างก็ถือธนูออกมายิง บ้างก็ถือท่อนไม้ไล่ตีจนหัวแตกเลือดสาด จึงต้องวิ่งเผ่นหนีไป เมื่อพ้นจากฝูงชนแล้ว หมีจึงรำพึงในใจขึ้นมาว่า เหตุเพราะโมหะของตนที่หลงจะเข้าไปหาอาหารในป่านั้นแท้ ๆ จึงต้องได้รับทุกขเวทนาเช่นนี้ ครั้นแล้วหมีจึงตั้งปณิธานว่า ตราบใดที่ตนยังละโมหะมิได้ ตราบนั้นตนจะไม่ออกไปหาอาหาร ดำริเช่นนั้นแล้วจึงไปสู่อาศรมสมาทานอุโบสถศีลในสำนักพระดาบสนั้น แล้วก็นอนอยู่ในสถานที่อันควร
ฝ่ายพระดาบสนั้นเล่า ก็มีมานะอยู่มิใช่น้อย ด้วยถือว่าตนเป็นพราหมณชาติ ประเสริฐกว่าชนทั้งหลาย ความมีมานะด้วยชาติกำเนิดฝังอยู่ในกมลสันดานเช่นนี้ ก็มิอาจจะยังฌานสมาบัติให้บังเกิดขึ้นได้ เป็นเหตุให้พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งรู้ว่าดาบ ผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลภายหน้า ควรที่ตนจะกระทำให้ดาบ ผู้นี้ลดละมานะเสีย ดำริเช่นนี้แล้วพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมาประทับนั่งอยู่เหนือพื้นศิลาอันเป็นที่นั่งแห่งพระดาบสนั้น ครั้นพระดาบสออกมาจากอาศรม ได้ทัศนาการเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ไม่ถวายนมัสการ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวเตือนสติขึ้นว่า
"ดูก่อนมหาบุรุษ อาตมภาพนี้ได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าส่วนท่านไซร้จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญูพุทธเจ้าในแผ่นดินนี้ เหตุไฉนจึงมาลุแก่อำนาจมานะเช่นนี้ ไม่สมควรแก่ท่านเลย"
แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าให้โอวาทสั่งสอนเช่นนั้นแล้ว พระดาบ ก็มิได้กระทำนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ประการใด ทั้งมิได้แสดงความสนใจไต่ถาม ว่าตนจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใด เพราะเหตุด้วยมานะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าววาจาว่า
"ดูก่อนดาบสท่านจงรู้ด้วยว่าสภาวะแห่งอาตมภาพนี้ประเสริฐกว่าชาติกำเนิดแห่งท่านมากมายนัก ถ้าหากท่านคิดว่ามีชาติกำเนิดประเสริฐแล้ว ก็ลองเหาะเหินขึ้นไปเที่ยวในอากาศดังเช่นอาตมภาพนี้สิ"
กล่าวจบแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเหาะขึ้นสู่อากาศไปสู่ป่าหิมพานต์ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จไปแล้ว ดาบสนั้นก็บังเกิดธรรมสังเวช ได้คิดว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้มีศิลปะประเสริฐนัก จึงสามารถเหาะเหินไปในอากาศดุจสำลีอันถูกลมพัดปลิวไปในอากาศ และรู้สึกละอายใจที่ตนมีมานะด้วยชาติกำเนิด จึงมิได้แสดงคารวะต่อพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้นขณะเดียวกันก็รำพึงในใจว่า ศีลนี้เป็นสิ่งประเสริฐแท้สำหรับชาวโลกส่วนมานะนั้นหากมีมากขึ้นก็มีแต่จะพาตัวเรานี้ไปสู่นรกเป็นแน่แท้ ดำริเช่นนั้นแล้วจึงตั้งปณิธานว่า ตราบใดที่อาตมายังข่มมานะลงไม่ได้ ตราบนั้นก็จะยังไม่ไปหาผลไม้ ครั้นแล้วพระดาบสก็เข้าไปในบรรณศาลาสมาทานอุโบสถศีลเพื่อจะข่มมานะเสีย นั่งเพียรพยายามข่มมานะอยู่ในบรรณศาลาด้วยการเพ่งกสิณภาวนา ให้บังเกิดอภิญญาสมาบัติ ภายหลังต่อมาจึงออกไปนั่งเหนือแผ่นศิลา ณ ที่สำหรับจงกรม
ฝ่ายนกพิราบก็ตั้งความเพียรพยายามเพื่อจะข่มราคะ งูเหลือมก็เพียรพยายามเพื่อจะข่มโทสะสุนัขจิ้งจอกก็เพียรพยายามเพื่อจะข่มโลภะ หมีก็เพียรพยายามเพื่อจะข่มโมหะ พระดาบสก็เพียรพยายามเพื่อจะข่มมานะ ความเพียรพยายามทั้ง 5 ประการนี้ ย่อมได้ชื่อว่าสัมมาวายามะ อันเป็นโลกิยมรรค บังเกิดด้วยกุศลจิต
3. กิจประการที่ 3 ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เคยเกิดให้เกิดขึ้น
สัมมาวายามะอันจะให้บังเกิดกุศลธรรมซึ่งยังมิได้บังเกิดนั้น มีตัวอย่างอันดีดังปรากฏอยู่ในธรรมบทว่า ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งแลเห็นพระภิกษุทั้งหลายออกไปบิณฑบาต ขณะหยุดยืนคลุมผ้าจีวรกัน ณ ถานที่แห่งหนึ่ง ก็ปรากฏว่าชายจีวรของพระภิกษุทั้งปวงเปียกชุ่มด้วยน้ำค้างตามยอดหญ้า พราหมณ์นั้นจึงบังเกิดกุศลจิตคิดว่า น่าจะถางหญ้า ณ สถานที่แห่งนั้นเสียให้เป็นที่สำหรับภิกษุทั้งหลายคลุมผ้าจีวร ดำริเช่นนั้นแล้ว พราหมณ์ก็ถางหญ้าจนเตียน อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์แลเห็นชายจีวรของพระภิกษุทั้งหลายเปอนฝุ่นตรงบริเวณที่หญ้าถูกถางไปแล้วนั้น จึงเอาทรายมาถมเพื่อปิดคลุมฝุ่น เพื่อให้พระภิกษุทั้งหลายยืนคลุมผ้าจีวรได้สะดวกภายหลังต่อมาพราหมณ์สังเกตเห็นว่า ขณะที่พระภิกษุทั้งหลายยืนห่มคลุมจีวรกันอยู่นั้นมีแดดส่องสรีระร่างกายของพระภิกษุมีเหงื่อซึม พราหมณ์จึงสร้างหลังคาเป็นเพิงชั่วคราวสำหรับกันแดดขึ้น ภายหลังต่อมาพราหมณ์ได้เห็นพระภิกษุทั้งหลายต้องยืนกรำฝนในขณะคลุมจีวรนั้นเป็นเหตุให้จีวรเปียกชุ่มไปหมด พราหมณ์จึงสร้างศาลาอันมั่นคงกันได้ทั้งแดดและฝน ให้พระภิกษุทั้งหลายได้อาศัยคลุมจีวรกันโดยสะดวกในศาลานั้น
ครั้นเมื่อจะทำพิธีฉลองศาลา จึงกราบทูลอาราธนา มเด็จพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุทั้งหลายไปฉันอาหารในศาลานั้น แล้วกราบทูลเหตุทั้งปวงให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงโปรดประทานพระธรรมเทศนามีใจความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ช่างทองทั้งปวงนั้นเมื่อจะหลอมทอง จะได้กระทำเพียงครั้งเดียวก็หาไม่ จำจะต้องกระทำหลาย ๆ ครั้ง จึงจะสามารถกำจัดมลทิน หรือสิ่งแปลกปลอมอันผ มอยู่ออกให้หมด แล้วจึงจะนำไปทำเครื่องประดับได้ข้อนี้มีอุปมาฉันใด บุคคลผู้มีปัญญาจะชำระมลทินแห่งจิตของตนอันประกอบด้วยโลภะ เป็นต้นก็มีอุปไมยฉันนั้น คือ ต้องค่อยขจัดอกุศลทั้งปวงออกไปทีละน้อย ๆ ตามลำดับ จนปราศจากมลทิน แล้วจึงสร้างกุศลทั้งปวงอยู่เป็นนิจมิให้ขาด
พราหมณ์ผู้นั้นได้สดับพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ก็บรรลุถึงซึ่งพระโสดาปัตติผล เป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ความเพียรพยายามในการสร้างกุศลธรรมของพราหมณ์นั้นย่อมได้ชื่อว่าสัมมาวายามะ อันเป็นโลกิยมรรคบังเกิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ครั้นเมื่อพราหมณ์บรรลุโสดาบันแล้ว ย่อมได้ชื่อว่าสัมมาวายามะ อันเป็นโลกุตระบังเกิดด้วยโสดาปัตติมรรคจิต
4. กิจประการที่ 4 เจริญกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้วนั้นให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
สัมมาวายามะอันยังกุศลธรรมที่บังเกิดแล้วให้ตั้งอยู่ และให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปนั้น มีตัวอย่างอันดีดังปรากฏในนิทานธรรมบท เรื่องมีอยู่ว่า อุบาสก 500 คน ชวนกันรักษาศีล 5 ครั้นแล้วก็ปรารถนาจะรักษาศีลให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก จึง มาทานศีล 8 ต่อมาก็สมาทานศีล 10 ครั้นแล้วจึงบรรพชาเป็นสามเณรในพระศาสนา ปฏิบัติอภิสมาจาริกวัตร คือมีมารยาทและความเป็นอยู่อันดีงาม ครั้นแล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุรักษาศีลบริสุทธิ์ ความเพียรพยายามดังนี้ ย่อมได้ชื่อว่าสัมมาวายามะ อันเป็นโลกิยมรรคบังเกิดด้วยกามาวจรกุศลจิต
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 006 แม่บทแห่งธรรม
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree