สิกขา

วันที่ 19 กค. พ.ศ.2560

สิกขา

พุทธธรรมทีปนี 1 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , สิกขา , อธิสีลสิกขา , อธิจิตตสิกขา , อธิปัญญาสิกขา

      สิกขา หมายถึง ปฏิปทาที่ตั้งไว้เพื่อศึกษา เป็นเครื่องมือในการฝึกหัดกาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยดีงาม มี 3 อย่าง คือ

      1. อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลยิ่ง หมายถึง การรักษามารยาททางกาย วาจา ให้เรียบร้อยปราศจากโทษ

      2. อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตยิ่ง หมายถึง การรักษาจิตให้อยู่ในอำนาจ

      3. อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญายิ่ง หมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบรู้ในสภาวธรรม

      ไตรสิกขา หรือสิกขา 3 คือ ศีลสมาธิ ปัญญา เป็นกระบวนการปฏิบัติ หรือกระบวนการพัฒนา 3 ด้าน คือ

   ศีล เป็นหลักการพัฒนาระดับความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม ศีล หรือ สีลสิกขา หมายถึงการประพฤติที่ดีงามตามระเบียบ วินัย ข้อบังคับ กฎ กติกาของสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อนทั้งกายและใจ ในทางศาสนาเรียกว่า ศีล 5 ศีล 8 เป็นต้น ส่วนในทางบ้านเมืองเรียกว่ากฎหมาย บุคคลผู้มีศีลเป็นเบื้องต้น ย่อมมีอาการเป็นปกติทางกายพร้อมที่จะพันาจิตไปสู่ขั้นต่อไปคือสมาธิ

     สมาธิ เป็นหลักการพัฒนาจิตใจให้มีสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการคิดพิจารณาตัดสินใจ กระทำหรือไม่กระทำการใด ๆ จิตตสิกขา เป็นอาการขั้นต่อไปของจิตที่ต่อเนื่องจากสีลสิกขา เพราะเมื่อกายอยู่ในอาการสงบ จิตก็สงบ พร้อมที่จะพิจารณาสืบค้นหาเหตุผลของสรรพสิ่งว่าสิ่งที่กำลังอุบัติขี้น เป็นเหตุให้มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ให้เกิดทุกข์หรือไม่

     ปัญญา เป็นหลักการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ รู้จักสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น และสามารถแยกแยะวิเคราะห์สืบหาสาเหตุของสิ่งทั้งหลายได้ชัดแจ้ง ไตรสิกขาจึงเป็นกระบวนการพัฒนาแบบบูรณาการ ปัญญาสิกขา เป็นอาการที่ต่อเนื่องจากสีลสิกขา และจิตตสิกขา โดยเมื่อกายใจอยู่ในอาการสงบ ก็จะสามารถใช้ปัญญาพิจารณาด้วยเหตุและผล เข้าใจสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ว่าเป็นไปด้วยอำนาจของอุปาทาน และไม่หลงเข้าไปยึดติดจนเกิดความทุกข์

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

**บทความ แนะนำ/เกี่ยวข้อง

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.034363150596619 Mins