นิทานธรรมะ ตอน ข่มกิเลสด้วยอุโบสถ

วันที่ 09 มีค. พ.ศ.2561

ข่มกิเลสด้วยอุโบสถ , รักษาศีลอุโบสถ , นิทานธรรมะ ตอน ข่มกิเลสด้วยอุโบสถศีล


นิทานธรรมะ ตอน ข่มกิเลสด้วยอุโบสถศีล

          ในอดีตกาลนานไกลโพ้น ณ หิมวันตประเทศ ดาบผู้หนึ่งเป็นคนถือตัวจัด (มานะ) จนทำฌาณไม่สำเร็จ จึงคิดว่า "หากเรายังขืนถือตัวตนมากอยู่อย่างนี้เห็นทีจะตกนรกเป็นเเน่" จึงอธิษฐานว่า "เอาละ หากเรายังละมานะ (ความถือตัวถือตน) ไม่ได้ จะไม่ยอมไปหาอาหาร(ผลไม้) มาบริโภคเป็นอันขาด ตายเสียดีกว่าถ้ายังมีมานะอยู่เช่นนี้" จึงสมาทานอุโบสถศีล (ศีล8) นั่งข่มมานะอยู่

          นกพิราบตัวหนึ่งถูกราคะ (ความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส เเละสัมผัส) แผดเผาให้เร่าร้อน คิดในใจว่า "หากเรายังข่มราคะไม่ได้ จะไม่ออกไปหากินเป็นอันขาด" จึงไปหาดาบส ขอสมาทานศีลอุโบสถเพื่อข่มราคะ

           งูตัวหนึ่งก็สมาทานอุโบสถศีล เพื่อข่มความโกรธ (โทสะความคิดประทุษร้าย) 

           สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็เช่นกัน สมาทานอุโบสถศีลเพื่อข่มความโลภ (ความอยากได้)

           หมีตัวหนึ่งก็สมาทานศีลอุโบสถเพื่อข่มความอยากได้จัด/ความเพ่งเล็งอยากจะได้ถ่ายเดียว  (อภิชฌาวิสมโลภะ)

      พึงทราบว่า การรักษาศีลอุโบสถนั้นสามารถข่มกิเลสหรือกำจัดบาป (ความชั่ว) ทั้งหลายได้ จะได้รับอานิสงส์ผลเป็นความสุขสงบกาย วาจา พร้อมกับเสริมด้วยการเจริญวิปัสสนาสมาธิทำจิตใจให้นิ่งสงบจะมีสุขอย่างหาที่เปรียบมิได้

          การกล่าวว่า การรักษาศีลอุโบสถเเล้วสามารถข่มกิเลสมีราคะเป็นต้นได้นั้นมีเหตุผล เพราะศีลอุโบสถทั้ง 8 เช่น การดื่มสุรา เว้นบริโภคอาหาร เว้นการฟังเพลง หรือดูการเล่น เต้นรำ เว้นลูบทาเครื่องหอม เครื่องประดับตกเเต่ง เว้นการนอนที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราสุขสบายเป็นต้นน้้นเสียได้ ก็เท่ากับเว้นจากเครื่องยั่วยุหรือเครื่องเร้า ที่จะเร้าให้เกิดราคะเป็นต้นระงับไปจึงเป็นการข่มกิเลสลงได้ในระดับหนึ่ง

           การที่พระพุทธศาสนาสอนเรื่องการรักษาศีลอุโบสถ จึงมีเหตุผล เเละชอบด้วยเหตุผล
                                                 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0037445505460103 Mins