การกราบ

วันที่ 30 เมย. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
ระเบียบปฏิบัติรักษามารยาทในสังคม

ระเบียบปฏิบัติการกราบ


พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการกราบ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice , ระเบียบปฏิบัติการกราบ , สมาธิ , Meditation , การกราบ , อัญชลี วันทา อภิวาท , ทำบุญ , เบญจางคประดิษฐ์


การกราบ
         การกราบ มาจากคําว่า "อภิวาท" คือ การหมอบลงที่พื้นพร้อมกับกระพุ่มมือ หรือ พร้อมกับการประณมมือ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างสูงสุดในบรรดากิริยาอาการแสดงความเคารพทั้งหลาย ทั้งในทางคดีโลก และในทางคดีธรรม


วิธีการกราบพระรัตนตรัย
         การกราบพระรัตนดรัย คือ กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และปูชนียวัตถุปูชนียสถานที่นับเนื่องกับพระรัตนตรัยทุกอย่าง นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ คือ การกราบด้วยการตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ ๕ (คือ หัวเจ่า ๒ ฝ่ามือ ๒ และหน้าผาก ๑) ให้จรดลงแนบกับพื้น ซึ่งมีจังหวะปฏิบัติ ๓ จังหวะ คือ

         จังหวะที่ ๑ ยกมือขึ้นประณมอยู่ระหว่างอก

         จังหวะที่ ๒ ยกมือประณมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก

         จังหวะที่ ๓ หมอบลงให้หน้าผากจรดพื้น ฝ่ามือทั้งสองแบราบลงแนบกับพื้น แล้วลุกขึ้นนั่ง ตั้งตัวตรง ประณมมือยกขึ้น ผ่านจังหวะที่ ๑-๒-๓ ไปตามลํากับ ปฏิบัติเช่นนี้จนครบ ๓ ครั้งทุกคราวที่กราบพระรัตนตรัย


วิธีการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สําหรับชาย
         การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สําหรับชายนั้นนิยมนั่งคุกเข่า (แบบชาย) ประณมมือยกชึ้นผ่านจังหวะที่ ๑-๒-๓ ไปตามลําดับดังกล่าวแล้ว แต่ขณะที่หมอบลงดับพื้นนั้น นิยมให้ข้อศอกทั้งสองต่อกับหัวเข่าทั้งสอง นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดสนิทกันวางฝ่ามือทั้งสองลงราบกับพื้นให้มือทั้งสองแยกออกห่างกันประมาณ ๔ นิ้ว ก้มศีรษะลง ให้หน้าผากจรดดับพื้นในระหว่างมือทั้งสองแล้วลุกขึ้นนั่ง ทั้งตัวตรง ยกมือประณมขึ้นผ่านจังหวะที่ ๑-๒-๓ ไปดามลําดับ อย่าหยุดชะงักเป็นระยะๆ จะดูไม่งาม ปฏิบัติเช่นนี้จนครบ ๓ ครั้ง เมื่อครบ ๓ ครั้งแล้ว นิยมยกมือขึ้นจบอยู่ในระหว่างคิ้วอีกครั้งหนึ่ง จึงเสร็จพิธีการกราบ


วิธีการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สําหรับหญิง
         การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สําหรับหญิงนั้นก็นิยมปฏิบัติเช่นเดียวกับชาย ต่างดันแต่ขณะที่หมอบลงดับพื้นเท่านั้น คือ นิยมใช้ข้อศอกทั้งสองอยู่ข้างตัวแนบชิดกับขาพับทั้งสอง ไม่นิยมใช้ข้อศอกทั้งสองต่อกับหัวเข่าแบบชาย ส่วนวิธีปฏิบัตินอกจากนี้เหมือนกัน

         ขณะที่หมอบกราบนั้น ทั้งชายและหญิง นิยมไม่ให้ก้นโด่งขึ้น จะดูไม่งาม

         ขณะที่ยกประณมมือจากจังหวะที่ ๑ คือ จากระหว่างอกขึ้นสู่จังหวะที่ ๒ คือ ระหว่างคิ้วนั้น นิยมก้มศีรษะลงมารับกันแล้วหมอบลงสู่พื้น โดยแยกมือที่ประณมออกจากกัน นํามือขวาลดลงก่อน มือซ้ายลดลงตามระยะไล่เลี่ยกันลงไป


วิธีการกราบบุคคลและกราบศพ
         การกราบบุคคลและกราบศพนั้น นิยมกราบเหมือนกันด้วยวิธีกระพุ่มมือกราบ ไม่แบมือกราบกับพื้นเหมือนกราบพระรัตนตรัย และนิยมกราบเพียงครั้งเดียว ไม่กราบ ๓ ครั้งเหมือนกราบพระรัตนตรัย มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

         นั่งพับเพียบแบบเก็บเท้า พับขาราบไปทางซ้ายตะแคงตัวข้างขวาไปทางบุคคล หรือศพที่จะกราบนั้น

         หมอบลงกับพื้น พร้อมกับวางแขนขวาลงกราบกับพื้นตลอดครึ่งแขน จากข้อศอกถึงมือ ตั้งสันมือขึ้น วางแขนซ้ายลงคู่กับแขนขวา มือทั้งสองแนบชิดแบบประณมมือให้ศอกขวาอยู่ข้างต้น ศอกซ้ายต่อกับทัวเข่าขวา

ก้มศีรษะลงให้หน้าผากจรดสันมือ ปลายนี้วชี้อยู่ระหว่างคิ้วแล้วลุกขึ้นนั้งพับเพียบตามปกดี เป็นเสร็จพิธีกราบบุคคล หรือกราบศพ

         ส่วนการกราบพ่อและแม่ ในพิธีการทางพระพุทธศาสนา เช่น การกราบพ่อแม่ก่อนรับผ้าไตรเข้าขอบรรพชาอุปสมบท เป็นต้น นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และกราบ ๓ ครั้ง เหมือนกราบพระรัตนตรัย เพราะถือกับว่า พ่อและแม่นั้นเท่ากับเป็นพระอรหันต์ของลูก ในฐานะที่พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมมีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์โลกส่วนเดียว ฉันใด พ่อและแม่ทั้งหลายก็มีเมตตากรุณาต่อลูกๆ ของตนโดยส่วนเดียว ฉันนั้น

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013214151064555 Mins