พิธีทําบุญงานมงคล

วันที่ 21 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม
ระเบียบปฏิบัติการอาราธนาศีลเป็นต้น

พิธีทําบุญงานมงคล

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ระเบียบปฏิบัติการอาราธนาศีลเป็นต้น , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , พิธีทําบุญงานมงคล , อาราธนาศีล , ศีล , อาราธนา

         ในพิธีทําบุญงานมงคลทุกชนิด นิยมกล่าวอาราธนาศีลก่อนแล้วจึงกล่าวอาราธนาพระปริตร ในภายหลังจากรับศีลเสร็จแล้ว

         เมื่อเจ้าภาพหรือประธานพิธีจุดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว พิธีกรพิงกล่าวคําอาราธนาศีลเป็นอันดับแรก


วิธีปฏิบัติในการอาราธนา
         พิธีกรผู้ทำหน้าที่อาราธนาศีลและพระปริตรนั้นนิยมปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น ๆ ดังนี้

         ถ้าเขาจัดปูลาดอาสน์สงฆ์อยู่กับพื้น และผู้มาร่วมพิธีบําเพ็ญกุศลทั้งหมดก็นั่งกับพื้น พิธีกรนิยมนั้งคุกเข่าประณมมือกราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคําอาราธนาศีล

         ถ้าเขาจัดอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น แต่เจ้าภาพหรือประธานพิธีและผู้มาร่วมงานทั้งหลายนั่งอยู่กับพื้น พิธีกรก็นิยมนั่งคุกเข่าประณมมือกล่าวคําอาราธนาเหมือนกัน

         ถ้าเขาจัดอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น เจ้าภาพหรือประธานพิธี และผู้มาร่วมงานทั้งหลายนั่งเก้าอี้ พิธีกรนิยมยืนทางท้ายอาสน์สงฆ์ ประมาณข้างหน้าพระสงฆ์รูปที่ ๔-๕ ท้ายแถว หันหน้าไปทางพระเถระประธานสงฆ์ ประณมมือกล่าวคําอาราธนาศีล

         ลักษณะการกล่าวอาราธนาศีลนั้น นิยมกล่าวคําอาราธนาอย่างชัดถ้อยชัดคํา ชังหวะที่กล่าวไม่เร็วหรือข้าเกินไป นิยมหยุดทอดเสียงเป็นระยะๆ ดังนี้ คือ

๑. มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ,
๒. ติสะระเณนะ สะหะ,
ผ. ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯ
แม้เที่ยวที่ ๒ และเที่ยวที่ ๓ ก็นิยมหยุดทอดเสียงเป็นระยะ ๆ เช่นเดียวกันนี้


คําอาราธนาศีล ๕

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะสะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯ


คําอาราธนาศีล ๕ อีกแบบหนึ่ง

มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ. ฯ

         ในชนบทบางท้องถิ่น ถ้าวันงานนั้นเป็นวันพระ ๘-๑๔-๑๕ ค่ำ นิยมอาราธนาศีล ๘ ดังนี้


คําอาราธนาศีล ๘

มะยัง ยันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ ลีลานิ ยาจามะ.

ทุติยัม!! มะยัง ยันเต าสุง ริลุง รักฃะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ ลีลานิ ยาจามะ.

ตะติยัม!! มะยัง ยันเต ริลุง ริลุง รักฃะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ ลีลานิ ยาจามะ ฯ


วิธีการรับศีล
         การรับศีลนั้น คือ วิธีการประกาศสมาทานศีลว่าตนจะเป็นผู้ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติทุจริตทางกาย และทางวาจาตามสิกขาบทนั้น ๆ ด้วยความสมัครใจของตนเอง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่พระสงฆ์ท่านท้ามไม่ให้ประพฤติทุจริต

         เพราะการสมาทานศีลนี้ เป็นเรื่องของความสมัครใจงดเว้นจากความชั่วของคฤหัสถ์แต่ละบุคคลโดยตรง ดังจะพิจารณาผู้ได้จากคําสมาทานศีลแต่ละสิกขาบท เช่น สิกขาบทที่ ๑ ว่า

"ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ"

แปลความว่า

"ข้าพเจ้าสมาทาน ซึ่งสิกขาบท คือ เจตนางดเว้นจากการ
ยังสัตว์มีลมปราณให้ตกล่วงไป คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์"

         การสมาทานศีลนี้จึงเป็นเรื่องของชาวบ้านสมัครใจตั้งใจงดเว้นเอง ไม่ใช่เป็นคําห้ามของพระสงฆ์ ทั้งไม่ใช่วิสัยของพระสงฆ์ที่จะมังคับให้ชาวบ้านประพฤติเช่นนั้นได้แต่เพราะชาวบ้านไม่สามารถจะทรงจําคําประกาศสมาทานศีลได้ด้วยตนเอง จึงต้องขอร้องให้พระสงฆ์ท่านช่วยกล่าวนําให้ด้วยเช่นเดียวกับกล่าวถวายสังฆทาน โดยมากผู้ถวายมักจําคําถวายไม่ได้ จึงต้องขอร้องให้พระสงฆ์ท่านช่วยกล่าวนําให้ด้วยฉะนั้น

         เพราะเหตุนี้ บุคคลผู้รับศีล คือ บุคคลผู้สมาทานศีลทุกคน จึงนิยมต้องกล่าวคําประกาศสมาทานรับศีลให้พระสงฆ์ได้ยินอย่างชัดเจน เพื่อพระสงฆ์จะได้เป็นสักขีพยานในการตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว และตั้งใจประกอบความดีต่อไป


คําสมาทานศีล ๕

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโด อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ (กล่าว ๓ หน)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง สัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง สัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิฯ

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
๕. สุรา เมระยะ, มัชชะ, ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ


คําสมาทานศีล ๘

         ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

         ๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

         ๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ  (ออกเสียงว่า "อะพรํามะจะริยา")

         ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

         ๕. สุรา, เมระยะ, มัชชะ, ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

         ๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

         ๗. นัจจะ, คีตะ, วาทิตะ, วิสูกะ, ทัสสะนา มาลา, คันธะ, วิเลปะนะ, ธาระณะ, มัณฑะนะ วิภูสะนัฏ ฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ

         ๘. อุจจาสะยะนะ, มะหาสะยะนา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ


คําอาราธนาพระปริตร

วิปัตติปะฏิพาหายะ,

สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,

สัพพะทุกขะวินาสายะ,

ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง.

วิปัตติปะฏิพาหายะ,

สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,

สัพพะภะยะวินาสายะ,

ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง.

วิปัตติปะฏิพาหายะ,

สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,

สัพพะโรคะวินาสายะ,

ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง.

 

       เมื่อกล่าวคําอาราธนาพระปริตรนี้จบแล้ว นิยมกราบ ๓ ครั้ง หรือน้อมตัวลงยกมือไหว้ ตามควรแก่กรณี เป็นเสร็จพิธีอาราธนาในงานมงคล
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.043936018149058 Mins