การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
เส้นยึด เส้นติด เกิดจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทำงานไม่สัมพันธ์กัน คือ เมื่อควรจะคลายก็ไม่คลายเมื่อควรจะหดก็ไม่หดกล้ามเนื้อจึงหดเกร็งค้างอยู่อย่างนั้น การทำงานโดยขาดการประสานสัมพันธ์กันนี้ มีสาเหตุมาจากสัญญาณประสาทที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ เป็นไปแบบไม่ถูกต้องสมบูรณ์การแก้ปัญหานี้ต้องกลับไปไล่ตามตำรากายวิภาคว่า เส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ เดินทางผ่านอะไรมาบ้างก่อนไปถึงกระดูกสันหลัง และจุดที่เส้นประสาทออกมาจากไขสันหลังนั้น อยู่ที่กระดูกสันหลังปล้องใด ครั้นแล้วก็ตรวจลูว่าตลอดเส้นทางนี้มีบริเวณใดบ้าง ที่มีการเกร็งและดึงรั้งจนทำให้เกิดการปิดกั้นการไหลเวียน อันเป็นเหตุให้การส่งสัญญาณประสาทบกพร่อง เมื่อทราบแน่ชัดแล้วจึงค่อยหาวิธีผ่อนคลาย
วิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้อมีอยู่หลายวิธี เช่น การนวด โยคะ ฤๅษีดัดตน การฝังเข็ม เป็นต้น ถ้าปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของแต่ละวิธีย่อมสามารถคลายกล้ามเนื้อไค้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องใช้ช่วงเวลาที่กล้ามเนื้อคลายแล้วนี้ บริหารร่างกาย ก็จะทำให้สามารถจัดโครงสร้างของร่างกายให้กลับสู่สมดุลได้โดยง่าย หรือเกิดความสมดุลยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะต้องตั้งใจรักษาอริยาบถต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง
เมื่อโครงสร้างของร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุล กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ก็จะสามารถทำงานสัมพันธ์กันได้ตลอดเวลาย่อมไม่เกิดการดึงรั้งและหดเกร็ง มีการคลายตัวเป็นปกติอยู่เสมอการปิดกั้นการทำงานของอวัยวะต่างๆจึงไม่เกิดขึ้นร่างกายของเราก็อยู่ในภาวะปกติ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
สำหรับวิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้อนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะเรื่องการนวด พอสังเขป
การนวดคืออะไร
การนวดเป็นการใช้แรงจากภายนอกมาช่วย มีจุดมุ่งหมาย เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งค้างอยู่คลายตัว ซึ่งจะส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองในบริเวณกล้ามเนื้อนั้นดีขึ้นอีกทั้งสามารถรับสัญญาณประสาทได้สะดวกขึ้น ในที่สุดกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ก็จะผ่อนคลายกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ดังเดิม
การนวดเพื่อให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งค้างอยู่นั้นคลายตัวได้ดี อย่าไปเน้นเฉพาะกล้ามเนื้อมัดที่มีอาการปวด เพราะนั่นอาจไม่ใช่ต้นเหตุที่แท้จริงของการปวด ต้นเหตุที่แท้จริงอาจอยู่ที่กล้ามเนื้อมัดอื่นที่ใดที่หนึ่ง ไปปิดกั้นการส่งสัญญาณประสาทมายังมัดที่ปวดนั้นก็ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น จะนวดเท่าไรก็ไม่คลาย มิหนำซ้ำยังทำให้กล้ามเนื้อที่ถูกนวดนั้นซ้ำตามมาอีกด้วย ที่สำคัญต้องนวดให้กล้ามเนื้อทั้ง ๒ ข้างกระดูกสันหลังคลายตัวอย่างดีเสียก่อน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งสัญญาณไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้ตามปกติ และยังช่วยให้กล้ามเนื้อมัดที่มีอาการปวดนั้นคลายตัวได้ง่ายขึ้น
ข้อดีของการนวดแผนไทย คือ มีการยืดและการคลายกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นทั้งตัว ดังนั้น ถ้าเราได้รับการนวดแผนไทยอย่างถูกวิธี ย่อมจะมีผลช่วยให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งคลายตัวการปิดกั้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ จึงไม่เกิดขึ้น ร่างกายก็จะอยู่ในภาวะปกติ เป็นผลดีต่อสุขภาพด้วย
นวดอย่างไร จึงจะเหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม
ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ มักจะมีปัญหาเรื่องปวดหลังเพราะชอบเผลอนั่งหลังงอ ปัญหานี้สามารถนวดคลายอาการปวดหลังด้วยตนเองได้ง่ายๆ โดยทำตามลำดับ ดังนี้
๑. นวดขาหนีบและโคนขา (เปิดประตูลมใหญ่)
นอนหงายสบายๆ ใช้ปลายนิ้วกลางของมือที่ถนัดคลำ บริเวณขาหนีบใต้ปุ่มกระดูกเชิงกราน จะพบกล้ามเนื้อและพังผืดดึงเป็นลำ เมื่อกดแรงๆ จะรู้สึกเจ็บ ให้ใช้ปลายนิ้วชี้นิ้วกลาง และนิ้วนาง เกร็งทั้งสามนิ้วนี้ให้ชิดติดกัน (อาจใช้มือข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้) แล้วค่อยๆ ออกแรงกดลงไปแล้วแช่ทิ้งไวัประมาณ ๑๕-๓๐ วิ นาที และนวดจนรู้สึกว่าความตึงนั้นผ่อนคลายลง รู้สึกว่า ขาเบาและขยับได้คล่องขึ้นบางคนอาการปวดหลังก็อาจจะรู้สึกดีขึ้นตั้งแต่ตอนนี้
๒. นวดกล้ามเนื้อและพังผืดหน้าท้อง
นอนหงายสบายๆ ชันเข่าขึ้นทั้งสองข้าง ใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง เกร็งทั้งสามนิ้วนี้ให้ชิดติดกัน (อาจใช้มือข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้)
กดลงบนผนังหน้าท้อง โดยเริ่มจากบริเวณเหนือขาหนีบ และเหนือขอบกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้าง เพิ่มแรงกดลงไปทีละน้อย และมุ่งกดลงไปใหถึงผนังด้านหลังของช่องท้อง กดแช่ทั้งไว้ประมาณ ๑๕-๓๐ วินาที แล้วค่อยๆ ยกปล่อยมือ ที่กดอย่างช้าๆ ทำซ้ำตำแหน่งละ ๒-๓ ครั้ง เปลี่ยนตำแหน่งไปที่เหนือกระลูกหัวเหน่า จนกระทั้งถึงได้ชายโครงทั้งสองข้าง (หรือที่มักเรียกกันว่า รอบขอบกระทะ)
แล้วพยายามกดให้ลึกตามแนวเส้นกึ่งกลางลำตัวที่ลากจากหัวเหน่าผ่านสะดือไปยังลิ้นปี่ รวมทั้งแนวกล้ามเนื้อที่ห่างจากเส้นกึ่งกลางลำตัวออกไป ๓ นิ้วมือ ทั้งสองข้างนั้น ซึ่งอาจนวดวนมาซ้ำได้อีก จนกว่าเมื่อกดผนังหน้าท้องแล้วรู้สึกยืดหยุ่นได้มากขึ้น
เมื่อกดได้ลึกจนกล้ามเนื้อและพังผืดหน้าท้องคลายตัวแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย หายปวดหลัง
๓. นวดหลังด้วยตนเอง
วิธีนวดกล้ามเนอตลอดแนวกระดูกลันหลังทั้งสองข้างด้วยตัวเอง อาจทำได้โดย หาเก้าอี้ชนิดที่ตรงที่นั่งเป็นมุมแหลมไปวางให้พนักพิงชิดผนัง
แล้วนั่งราบกับพื้น (ห่างจากเกัาอี้เล็กน้อย) โดยให้ตำแหน่งของกล้ามเนื้อต้นคอตรงกับมุมแหลมของเก้าอี้ แล้วใช้คอคลึงกับปุ่มแหลมนั่น (หากเจ็บมากก็ใช้ผ้าขนหนูรองตรงปุ่มแหลมนั่นเพื่อลดความเจ็บลง) ลำดับต่อไป ขยับหลังเข้าไปใกล้เก้าอี้ให้มากขึ้นนวดกล้ามเนื้อทั้งสองช้างกระดูกสันหลัง รวมทั้งกระดูกสันหลังด้วย ทั้งนี้เพราะในบริเวณนี้ก็มีทั้งกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอยู่เหมือนกันในการนวดนั้นให้ค่อยๆ คลึงกับมุมเก้าอี้ โดยเริ่มต่อจากบริเวณต้นคอจนถึงสะบักหรือกลางหลัง ถ้าตรงไหนเจ็บก็แสดงว่ามีการเกร็งของกล้ามเนื้อ ให้ค่อย ๆ คลึงตรงจุดที่เจ็บนั้นต่อไปเริ่อย ๆ จนอาการเจ็บหายไป อย่างไรก็ตามเมื่อขยับหลังเข้าไปจนชิดเก้าอี้อาจต้องเปลี่ยนเป็นท่านั่งยอง ๆ เพื่อให้สามารถนวดไล่ลงมาเรื่อย ๆ จนถึงบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ การนวดดังกล่าวนี้ ถ้าได้ทำสัก ๒-๓ ครั้ง ก็จะสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองว่า จะนวดอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาปวดหลังของตนได้
นอกจากการนวดการคลึงส่วนหล้งกับมุมเก้าอี้แล้ว ก็อาจใช้นมไม้ที่มีขายตามท้องตลาด เป็นเครื่องมือสำหรับนวดก็ได้แต่ต้องเลือกขนาดที่พอเหมาะพอดีกับร่องความกว้างระหว่างกล้ามเนื้อ ทั้งด้านซ้ายและขวาของแนวกระดูกสันหลังของตนเองการนวดวิธีนี้ทำได้โดยนอนหงายก้บนมไม้ ให้ปุ่มของนมไม้อยู่ตรงตำแหน่งของกล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลัง แต่ละข้าง ค่อยๆเลื่อนนมไม้ไปตลอดกล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลังทั้งสองช้าง
อนึ่ง อาจจะใช้วิธียืนชิดขอบตู้ หรือ ขอบวงกบประตูแล้วค่อยๆ คลึงกล้ามเนื้อกระดูกสันหลังทั้งสองข้างกับขอบตู้หรือขอบวงกบประตูก็ได้
ถ้านวดหลังได้ถูกวิธี กล้ามเนื้อแนวกระดูกสันหลังก็จะคลายตัวได้ดี หากนวดคลายหายปวดแล้วไม่บริหารร่างกายเพื่อจัดการให้โครงสร้างของร่างกายอยู่ในแนวที่ถูกต้อง และรักษาทิศทางการดึงให้สมดุลอยู่ตลอดเวลา ไม่นานก็จะกลับมามีอาการปวดเหมือนเดิมอีก
ดังนั้น เมื่อกล้ามเนื้อคลายตัวดีแล้ว ต่อแต่นี้ไปท่านก็ต้องเคร่งครัด เอาใจใส่อย่างจริงจังกับการระวังรักษาอิริยาบถที่ถูกต้องในการทำกิจวัตรประจำวัน การบริหารร่างกายด้วยท่าต่าง ๆ ดังได้บรรยายมาแล้ว การออกกำลังกายที่ดีที่สุดด้วยการเดินและวิ่งตลอดจนการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเล้นเอ็นด้วยการนวดดังที่ได้กล่าวแล้ว วงจรการไหลเวียนภายในร่างกายของท่านก็จะไม่ถูกปิดกั้น การส่งสัญญาณประสาทไปยังอวัยวะต่างๆ ก็จะทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง ย่อมส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆภายในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ กล้ามเนื้อของร่างกาย โดยทั่วไปก็จะคลายตัวเป็นปกติตามไปด้วย โครงสร้างของร่างกายก็จะอยู่ในภาวะสมดุลเสมอ องคาพยพทั้งหมดของร่างกายก็จะทำหน้าที่กันเป็นปกติไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ย่อมส่งผลให้การประพฤติปฏิบัติธรรมของท่านดำเนินก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเป็นลำดับ ๆ