การรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกายให้ติดเป็นนิสัย
ความรู้ในแต่ละบทที่ผ่านมา ถือได้ว่า เป็นทั้งหลักการและวิธีปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้โครงสร้างของร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลเป็นปกติเสมอ แต่ทว่าความรู้ดังกล่าวนี้จะเกิดประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านมากน้อยเพียงใดหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับตัวท่านเองว่าได้นำไปปฏิบัติอย่างไร หากรู้และเข้าใจทฤษฎี แต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ประโยชน์ย่อมไม่เกิดแก่ตัวท่านอย่างแน่นอน หรือได้ลงมือปฏิบัติ แต่ไม่ต่อเนื่อง ประโยชน์ก็จะไม่เกิดแก่ตัวท่านเช่นกัน ต่อเมื่อใด ท่านได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่องจนติดเป็นนิสัย เมื่อนั้นประโยชน์จะเกิดแก่ตัวท่านตลอดชีวิต
โดยสรุปก็คือ ถ้าท่านขยันปฏิบัติตามหลักการ และวิธีการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกายได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่องจนติดเป็นนิสัย ท่านก็จะมีสุขภาพร่างกาย แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ ไม่กล้ามารบกวน
นิสัย คืออะไร
นิสัย คือ พฤติกรรมเคยชิน ซึ่งเกิดจากการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ่อยๆ จนติด เมื่อติดแล้ว ถ้าไม่ได้ทำอีก ก็จะรู้สึกหงุดหงิด กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ นิสัยเป็นเสมือนโปรแกรมประจำตัวที่กำหนดพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจของแต่ละบุคคล ใครมีนิสัยอย่างไรก็จะทำตามความเคยชินอย่างนั้นโดยอัตโนมัติ
บุคคลที่มีนิสัยดี ย่อมเลือกคิด พูด และทํา แต่สิ่งที่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่น หรือรวมทั้งตนเองและผู้อื่น ได้รับความเย็นกายเย็นใจอยู่เสมอ เช่น นิสัยตรงต่อเวลา นิสัยรักความสะอาด นิสัยชอบให้ทาน นิสัยชอบฟังธรรม ฯลฯ นิสัยดีๆ เหล่านี้ย่อมเป็นคุณต่อทั้งตนเองและผู้อื่น
บุคคลที่มีนิสัยไม่ดี ย่อมเลือกคิด พูด และทำ แต่สิ่งที่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่น หรือทั้งตนเองและผู้อื่น ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ เช่น นิสัยติดอบายมุข นิสัยเกียจคร้าน นิสัยเอาเปรียบเกี่ยงงาน นิสัยพยาบาท นิสัยตามใจตัวเอง ฯลฯ นิสัยไม่ดีเหล่านี้มีแต่จะก่อโทษให้แก่ทั้งตนเอง ผู้อื่น และสังคม
อานิสงส์ของการสร้างนิสัยดี
คนเราทุกคนล้วนประกอบด้วยกายกับใจ แต่ทั้งกายกับใจล้วนมีโรคติดมาตั้งแต่วันคลอด โรคที่ติดมากับร่างกายย่อม พร้อมที่จะแสดงอาการให้ปรากฏในทันทีที่ร่างกายอ่อนแอลง ส่วนโรคร้ายที่แอบแฝงอยู่ในใจคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรืยกว่า "กิเลส" ถ้าสบโอกาสเมื่อใด กิเลสก็จะกําเริบออกฤทธิ์เช่นกัน คือทั้งกัดกร่อน ทั้งบีบคั้น ทั้งหมักดองใจให้เสื่อมคุณภาพลง แล้วส่งผลให้บุคคลคิดไม่ดี พูดไม่ดี และทําไม่ดีดามมา หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้นานวันเข้า ก็จะกลายเป็นนิสัยไม่ดีติดตัว
บุคคลที่มีนิสัยไม่ดีติดตัว ย่อมมีความโน้มเอียงที่จะก่อกรรมชั่วบ่อย ๆ เมื่อก่อกรรมชั่วบ่อย ๆ ย่อมได้บาปบ่อย ๆ บาปนั้นย่อมเผาผลาญใจของเขาให้เสื่อมทรามลงเรื่อย ๆ จนขาดปัญญาตรองไม่เห็นคุณค่าของความดี แม้จะมีผู้หวังดี หรือกัลยาณมิตรมาชักนำส่งเสริมสนับสนุนให้สร้างแต่กรรมดี เขาก็จะทำกรรมดีอย่างเหยาะแหยะ เพราะการทำกรรมดีแต่ละครั้ง ต้องสวนกระแสกิเลสที่ฝังแน่นอยู่ในใจของเขาอย่างแรง
ด้วยเหตุนี้การสร้างนิสัยดีให้เกิดขึ้นในแต่ละคน จึงจำเป็นต้องมีการปลูกฝังกันตั้งแต่เยาว์วัย ก่อนที่จิตใจจะตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส เมื่อนิสัยดีเกิดขึ้นในใจอย่างมั่นคงแล้ว คนเราย่อมมีปัญญา ตรองเห็นคุณประโยชน์อย่างแท้จริงของกรรมดี ตรองเห็นอันตรายของกรรมชั่ว จึงพากเพียรทำกรรมดีบ่อยๆ
เมื่อทำกรรมดีบ่อยๆ ก็ได้บุญบ่อยๆ บุญนั้นย่อมส่งผลให้มีความสุขและความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ชีวิตจึงประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง นี่คืออานิสงส์ของการสร้างนิสัยดี
การสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธี
พระสัมมาส้มพุทธเจ้าทรงให้บทฝึกสำหรับการสร้างนิสัยดีไว้บทหนึ่ง คือ ให้พิจารณาโดยแยบคาย ก่อนบริโภคใช้สอยปัจจัย ๔" ดังนี้
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และล้ตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรวมทั้งเพื่อปกปิดอวัยวะ ที่ก่อให้เกิดความละอาย
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันบิณฑบาตไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ความเมามันตลอดจนเพื่อประดับ ตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบากทางกาย เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อีกทั้งระงับเวทนาเก่า คือ ความหิว และไม่ทำให้ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้น ย่อมทําให้ดำรงชีวิตด้วยความไม่มีโทษ และอยู่โดยผาสุก
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะเพียงเพื่อป้องกันความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสกันเภิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้งเพื่อบรรเทาอันตราย จากดินฟ้าอากาศตลอดจนเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคเภสัชบริขารกันเกื้อกูลแก่คนใช้ เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนากันเกิดจากการเจ็บป่วย และเพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรดเบียดเบียน
จะเห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเอาเรื่องที่เราทุกชีวิตต้องคิด พูด และทำในชีวิตประจำวันมา เป็นบทฝึกนิสัย ด้วยการสังสอนให้เป็นผู้รู้จักมิสติ เตือนตนอยู่ เสมอว่า ตนกําลังทําอะไร เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร รู้จักพิจารณาหา เหตุผล จนมองทะลุว่า วัตถุประสงค์หลักในการใช้สิ่งของต่างๆ เหล่านั้น เพื่ออะไร ทำไมจึงต้องใช้ แล้วจึงค่อยใช้สิ่งของเหล่านั้น
เมื่อได้พิจารณาเตือนตนอยู่ทุก ๆ วัน นิสัยดื้อรั้น เอาแต่ใจตัวตลอดจนความมักง่ายต่างๆ ก็จะค่อยๆ ลดลง ทำให้รู้สึกยินยอมใช้สอยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ ทั้งไม่คิดแสวงหาในทางที่ผิดในทางที่ไม่สมควร คราใดที่เกิดความปรารถนาสิ่งใด เมื่อไม่ได้ก็ไม่กระวนกระวายใจ หรือได้แล้ว ก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพันและมองเห็นโทษของความรู้สึกนึกคิดเช่นนั้น พร้อมกันนั้นก็เกิดปัญญา คิดสลัดตนออกจากกองทุกข์ กิเลสในตัวจึงค่อยๆ ลดลง นิสัยดีๆ ก็มังเกิดขึ้นแทน และเป็นอุปการะต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อการบรรลุธรรม หมดกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน
บทฝึกสําหร้บการสร้างนิส้ยดี
ได้กล่าวแล้วว่า นิสัยเกิดจากการคิด พูด และทํา เรื่องใดเรื่องหนึ่งซํ้าๆ บ่อยๆ อยู่เป็นประจํา จนติดเป็นความเคยชินเรื่องที่แต่ละคนต้องทําซํ้าๆ บ่อยๆ ตลอดชีวิตนั้น มี อยู่ ๒ เรื่องใหญ่ คือ
๑. กิจวัตรประจําวันของตนเอง ได้แก่ การใช้สอยดูแลเรื่องปัจจัย ๔ เป็นหลัก นับตั้งแต่ดูแลใช้สอยบริโภคเสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยาร้กษาโรค (รวมไปถึง การอาบนั้า ล้างหน้าแปรงฟัน ออกกําสังกาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการร้กษาลุขอนามัย)
๒. หน้าที่การงานที่ตนเองต้องรับผิดชอบ เช่น งานอาชีพ งานเลี้ยงลูก งานดูแลพ่อแม่ งานสังคมสงเคราะห์ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ฯลฯ
เพราะฉะนั้น บทแกสำคัญสำหรับใช้เป็นหลักในการสร้างนิสัยดี จึงอยู่ที่การใช้สติพิจารณาสิงที่เราทำซ้ำ ๆบ่อย ๆ อยู่เป็นประจำทุกวันอย่างแยบคาย พิจารณา ทบไปทวนมา ด้วยหลักเหตุผลว่า สิ่งใดดี-ไม่ดี สิ่งใดควร-ไม่ควร สิ่งใดยังกุศลให้เกิดขึ้น สิ่งใดยังอกุศลให้เสื่อมไปเมื่อได้ประจักษ์แก่ใจตนแล้ว ก็หักดิบเลิกทำสิ่งที่ไม่ดีเลิกพฤติกรรมที่ไม่ดีให้เด็ดขาด เลือกทำเฉพาะสิ่งที่ถูกต้องดีงาม และมีคุณประโยชน์ โดยเริ่มตั้งแต่ติดดี พูดดี และทำดีอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เกี่ยวกับเรื่องกิจวัตรประจำวันก่อนแล้วตามมาด้วยงานอาชีพ
วิธีสร้างนิสัยดีอย่างถาวร
การที่คนเราจะสามารถดำรงรักษานิสัยดีของตนให้ถาวรสืบไป เพื่อป้องกันไม่ให้กรรมชั่วเดิมที่หักดิบแล้ว ย้อนกลับมากําเริบขึ้นอีก เพื่อป้องกันไม่ให้กรรมชั่วชนิดใหม่ล่วงล้ำเข้ามาขณะเดียวยันก็สามารถสร้างนิสัยดีใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น พร้อมทั้งพัฒนานิสัยที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก ควรยึดหลักปฏิบัติดังนี้
๑. อยู่ให้ห่างจากคนไม่ดี บุคคลรอบข้างตัวเรา ถ้าคนใดมีนิสัยไม่ดี เราต้องถอยให้ห่างไกล เพราะโอกาสที่เราจะถูกยั่วยุ เย้ายวน ชักจูงให้เข้าร่วมทำกรรมชั่วตามเขา มี อยู่เสมอ
๒. หมั่นเข้าใกล้คนดี บุคคลรอบข้างตัวเรา ถ้าคนใดมีนิสัยดี เคยช่วยให้เราหักดิบเลิกขาดจากกรรมชั่วได้ หรือมีข้อคิดดีๆ มีพฤติกรรมดีงามที่เราควรยึดถือเป็นแบบอย่างได้พึงหมั่นเข้าไปคบหาให้ใกล้ชิดอยู่เสมอ เพราะนอกจากเราจะได้โอกาสซึมซับคุณธรรมความดีจากท่านเหล่านั้นแล้ว เรายังจะเกิดกำลังใจ กำลังความรู้ กำลังสติปัญญา ที่ จะต่อสู้หักดิบเลิกนิสัยไม่ดีของเราได้อย่างเด็ดขาด และสามารถสร้างนิสัยดีใหัเกิดขึ้นอย่างถาวรอีกด้วย
๓. หมั่นทำสมาธิให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ยิ่งทำสมาธิได้มากเท่าใด ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดกำลังใจและกำลังปัญญา ในการสั่งสมคุณความดีใหัยิ่งๆ ขึ้นไป พร้อมทั้งหาวิธีคุมครองป้องกันตนให้ห่างจากความชั่วได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น
นิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกาย
การที่จะรักษาโครงสร้างของร่างกาย ใหัอยู่ในภาวะสมดุลทุกอิริยาบถได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอนั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เราจำต้องสู้ สู้ด้วยการเอาชนะกิเลสที่ฝังอยู่ในใจตัวเราเอง
ในช่วงเริ่มต้นอาจเป็นการยากสำหรับบุคคลส่วนใหญ่ เพราะเป็นการสวนกระแสของกิเลส ที่บังคับให้คนเรามีนิสัยติดความสบาย ชอบปล่อยร่างกายตามใจตัวเอง อิริยาบถใดที่ท่าให้รู้สึกสบายเล็กๆ น้อยๆ แม้รู้ว่าเป็นอิริยาบถที่ผิดก็ไม่ฝืนใจเลิกแล้วเลือกท่าแต่อิริยาบถที่ถูกต้อง เนื่องจากอิริยาบถที่ถูก หากทำแล้วมักจะเกิดอาการปวดเมื่อยบ้าง รู้สึกไม่สบายบ้างซึ่ง เป็นเฉพาะในระยะแรก ต่อภายหลังจากทำเป็นนิสัยได้แล้วก็จะสบายตัวสบายใจ
ถ้าได้พิจารณาโดยแยบคายก็จะพบว่า ร่างกายของเรามีความเสื่อม ความชรา และความดับไปของสังขารคืบคลานมาอย่างช้า ๆ เป็นไปอย่างเงียบ ๆ ทุกอนุวินาทีโดยเราไม่รู้ตัว เพราะเหตุนี้จึงทำให้บุคคลบางกลุ่มหลงประมาทคิดไปว่า การกระทำท่าทางที่ผิดวิธีในอิริยาบถต่างๆ อย่างต่อเนื่องมาถึงวันนี้ ร่างกายของเขาก็ยังแข็งแรงดี ไม่มีความเจ็บป่วยอะไรเกิดขึ้นกับเขาเลย เขาจึงนึกไม่ออกว่า การระวังให้อิริยาบถถูกต้องอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บไข้ได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม เมื่อใดความเสื่อมของอวัยวะ ที่เกิดจากการใช้อิริยาบถผิดวิธี ซึ่งสั่งสมมาจนถึงจุดที่อวัยวะนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ความเจ็บป่วยย่อมบังเกิดขึ้นกับบุคคลกลุ่มนี้อย่างแน่นอน และยากที่จะแก้ไขให้คืนกลับมาดีได้
สำหรับผู้มีปัญญา ย่อมตระหนักดีว่า ความเสื่อม ความชราและความดับไปของสังขาร แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาประจำโลกแต่ก็ต้องไม่ไปกระตุ้นให้ความเสื่อม ความชรา และความดับไปของสังขารนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ทั้งยังเชื่อมั่นว่า การปฏิบัติตัวเพื่อรักษาโครงสร้างของร่างกายให้สมดุลอยู่เสมอนั้น เป็นวิธีที่จะช่วยให้ตนมีอายุยืนยาว จนกระทั้งหมดอายุขัยไปตามธรรมชาติ
ครั้นเมื่อพิจารณาต่อไปอีก ก็จะพบว่า ร่างกายนี้เป็นรังแห่งโรค และโรคร้ายเหล่านั้น พร้อมที่จะกำเริบเป็นความเจ็บป่วยได้ตลอดเวลา ผู้มีปัญญาจึงคอยระวังรักษาสุขภาพของตนให้แข็งแรงอยู่เสมอ ระแวงภัยแม้เพียงเล็กน้อยอิริยาบถที่ผิดเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ปล่อยผ่าน เพราะตระหนักว่าอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วยได้ในภายหลัง จึงระวังรักษาอิริยาบถต่างๆ ของตน ให้ถูกต้องอยู่เสมอ เพราะประจักษ์ชัดในความจริงว่า การปฏิบัติตัวเพื่อรักษาโครงสร้างของร่างกายให้สมดุลอยู่เสมอ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองสถานเดียว ไม่มีเสื่อมเลย นับตั้งแต่มีสุขภาพแข็งแรง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ มี อายุขัยยืนยาว สามารถใช้ร่างกายนี้สรางความดี สร้างบารมีไต้อย่างเต็มที่ สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกสติให้อยู่กับตัวตลอดเวลาย่อมเป็นอุปการะในการปฏิบัติธรรม ให้เช้าถึงธรรมภายในตัวได้โดยง่าย ฯลฯ
เมื่อท่านผู้อ่านได้พิจารณาเห็นประโยชน์ของการรักษาโครงสร้างของร่างกายให้สมดุลว่า จะทำให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอท่านก็ต้องหักดิบนิสัยไม่ดี นิสัยตามใจตัวเอง ให้เด็ดขาด
ฝึกสดีให้มั่นคง และฝืนใจรักษาอิริยาบถให้ถูกต้องหมั่นบริหารร่างกาย หมั่นออกกำลังกาย ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ให้เกิดเป็นความเคยชิน ถึงขั้นที่ยามใดไม่ได้ทำก็จะรู้สึกว่า มีอะไรบางอย่างขาดหายไป หรือรู้สิกหงุดหงิดที่ไม่ได้ทำ เมื่อใดที่เกิดความรู้สึกเช่นนี้ ย่อมแสดงว่า การปฏิบัตินั้นได้เกิดเป็นนิสัยแล้ว
นิสัยการรักษาสุขภาพเช่นนี้ จะคงอยู่ถาวรได้ต่อเมื่อเรามีกำลังใจมั่นคง คบหากัลยาณมิตรที่คอยชักชวนให้คําชี้แนะให้กำลังใจ เป็นต้นแบบที่ดีทั้งกันและกัน ที่สำคัญตัวเราเองต้องหมั่นนั่งสมาธิให้ใจผ่องใสอยู่เสมอ กำลังใจที่สร้างขึ้นมาใหม่ด้วยตนเองจากสมาธินี้ จึงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดสาย
ยิ่งไปกว่านั้น ยามใดที่เราเจ็บป่วยมีทุกขเวทนาแรงกล้า ใจที่ฝึกดีแล้วเป็นสมาธิมั่นคง ย่อมสามารถบำบัดรักษาโรคให้ทุกขเวทนาทุเลาเบาบางลงหรือหายขาดได้เป็นอัศจรรย์เหนือการคาดคะเน
ดังมีตัวอย่างปรากฏในพระไตรปิฎก ในพระสูตรชื่อ "คิริมานนทสูตร" ว่า พระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ คิริมานนท์ท่านอาพาธเป็นไข้หนัก ไดัรับทุกขเวทนามาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสั่ง พระอานนท์ให้ไปเยี่ยมพระคิริมานนท์ แทนพระองค์และทรง อธิบายขยายความ "สัญญา ๑๐ ประการ"ให้แก่ พระอานนท์ โดยพิสดาร พร้อมทั้งทรงยืนยันว่า เมื่อพระคิริมานนท์ได้ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว อาการอาพาธของท่านก็จะสงบลงทันที
ครั้นเมื่อพระคิริมานนท์ได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการ จากพระอานนท์จบลง จึงฉุกคิดได้ทันทีว่า ตนกําลังได้รับการเตือนสติจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงรีบรวมใจให้เป็นสมาธิทันทีครั้นแล้ว อาการอาพาธของท่านก็สงบลงอย่างฉับพลัน ไม่ต้องทนทุกขเวทนาต่อไปอีก
ใจที่ฝึกสมาธิดีแล้ว ย่อมผ่องใส แม้ในเวลาที่ต้องละสังขารจากโลก ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป ดังพุทธพจน์ที่ว่า
"จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา
เมื่อจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นที่ไป"
ท้ายที่สุดนี้ ท่านผู้อ่านคงได้เห็นแล้วว่า การฝึกตนให้มีนิสัยดีนอกจากจะช่วยให้สามารถเอาชนะกิเลสในใจตนเองได้แล้ว ยังจะเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริม ให้ท่านสามารถรักษาสมดุล โครงสร้างของร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลให้ท่านมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายนี้ จะเป็นอุปการะที่สำคัญต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมภายในตัวได้โดยง่ายธรรมภายในตัวคือที่พึ่งอันปลอดภัยของคนเรา ใครก็ตามที่เข้าถึงธรรมภายในตนเองอย่างมั่นคง ย่อมประสบสันติสุขอันไพบูลย์ขณะที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ก็จะอยู่เป็นสุขอย่างแท้จริง เมื่อถึงคราวที่ต้องละโลก ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป ครั้นเมื่อใดบารมีเต็มเปี่ยมสามารถขจัดกิเลสในตัวได้หมดสิ้น ย่อมบรรลุพระนิพพานตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันตสาวกทั้งปวงโดยไม่ยากเลย
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปของสรรพชีวิตทั้งปวงเป็นเรื่องประจำโลก
เมื่อเรายังมีลมหายใจอยู่ต้องใช้ชีวิตให้คุ้มค่ากับที่ไดัเกิดมาเป็นมนุษย์
ด้วยการสร้างคุณความดีและการแสวงหาหนทางสู่พระนิพพาน
ดังนั้น ร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย จึงมีคุณค่าประเสริฐอย่างยิ่ง
ความสมคุลโครงสร้างของร่างกาย
มีส่วนสำคัญยิ่งในการช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
ดังนั้น จึงต้องหมั่นรักษาสติให้ตั้งมั่น
เพื่อให้สามารถควบคุมภาวะสมดุลของร่างกายไว้เสมอ
สติจะตั้งมั่นได้ ต้องหมั่นฝึกควบคุมใจให้หยุดนิ่ง
ด้วยการทําสมาธิ ควบคู่ไปกับกิจวัตร กิจกรรม ทุกอิริยาบถ จนเป็นนิสัย