เรื่องสุข
เรานึกถึงความสุข ไม่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นมันซากของศพ นั่นไม่ใช่สุขจริง ไม่ใช่เนื้อหนังของสุข มันซากของสุขนะ
เมื่อหลุดขึ้นพอพ้นจากกามไปแล้ว ถึงรูปภพเข้า ไปถึงรูปฌาณทั้ง ๔ เข้า นึกถึงสุขของกาม ไอ้สุขของกามนั้นมันเศษสุข ไม่ใช่สุขจริงๆ เมื่อไปถึงอรูปฌาณเข้า ไอ้สุขของรูปฌาณนั่นน่ะ มันสุขอย่างหยาบนะ ไม่ใช่สุขละเอียดนุ่มนวล ชวนให้สบายอกสบายใจ เหมือนอรูปฌาณ
เมื่อได้รับความสุขในอรูปฌาณแล้ว สุขในอรูปฌาณนี่มันสุขในภพ ไม่ใช่สุขนอกภพ นี่มันสุขต่ำทราบนะ พอไปถึงนิพพานเข้า อ้อ! นี่มันสุขนุ่มนวลชวนติดนัก นี่มันสุขจริง
เรื่องสุขในพระนิพพานนั้นมันสุขลึกซึ่้งนัก พระพุทธเจ้ามีเท่าไรๆ ไปติดอยู่ในนั้นหมด พอติดเสียเช่นนั้น เหลวอีกเหมือนกัน ไปติดแต่นิพพานนั้น ต้องไม่ติดสุขแค่นี้ แล้วหาสุขต่อขึ้นไป ใคร่ที่จะหาสุขต่อขึ้นไป เขาเรียกว่า อปฺอสุขํ ปหาย ละสุขอันน้อยเสีย ไปหาสุข สุขํ อาทาย ถือเอาสุขใหญ่ ปล่อยสุขขึ้นไป ไม่หยุดอยู่ในสุขแค่นั้น
ถ้าไปหยุดแค่นั้น โง่ ไม่ฉลาด
ถ้าปล่อยสุขขึ้นไปไม่มีที่สุดกันละก็ นั่นฉลาดละ อย่างพระพุทธเจ้า ผู้เป็นต้นธาตุ นี้ฉลาดเต็มที่
นี้แค่นี้ธรรมนั่นแหละ นำความสุขมาให้นะ ผู้ใดถึงธรรม ผู้นั้นได้รับสุขด้วยประการดังนี้
จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "ปกิณกะ"
๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๗