บริขาร ๘
ผ้าสบง ๑ ผ้าจีวร ๑ ผ้าสังฆาฏิ ๑ บาตร ๑ ประคดเอว ๑ มีดโกน หรือมีดตัดเล็บ ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ ธมกรกผ้ากรองน้ำ ๑
บุพพกิจแห่งอุปสมบทมี ๙ อย่าง คือ
๑.ให้บรรพชา ๒ ขอนิสัย ฯลฯ เป็นบุพพกิจ ฯ (ดูหน้า ๑๒)
มัชฌิมกิจแห่งการอุปสมบท คือ
กรรมวาจาคือญัตติ ๑ อนุสาวนา ๓ เป็นมัชฌิมกิจ ฯ
ปัจฉิมกิจแห่งอุปสมบทมี ๖ อย่าง คือ
๑. วัดเงาแดดในทันใด (บัดนี้ดูนาฬิกาแทนเงาแดด)
๒. บอกประมาณแห่งฤดู (คือบอกเดือน ปักษ์ และดิถีแห่งฤดู)
๓. บอกส่วนแห่งวัน (คือเช้า เที่ยง บ่าย เย็น)
๔. บอกสังคีติ (คือบอกประมวลจำนวนสงฆ์)
๕. บอกนิสัย ๔
๖. บอกอกรณียกิจ ๔ ทั้ง ๖ อย่างนี้เป็นปัจฉิมกิจ ฯ
เมื่อจบคำไหนจึงสำเร็จเป็นสามเณร
บรรพชาของสามเณร เมื่อจบคำว่า “ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” ในเวลาที่ผู้เพ่งบรรพชาว่าเป็นใช้ได้ คือสำเร็จเป็นสามเณร สรุปความว่าภาวะสามเณรสำเร็จด้วยไตรสรณคมน์
การที่ท่านทรงอนุญาตให้สมาทานสิกขาบท ๑๐ ด้วยนั้น ก็เพื่อเป็นข้อศึกษาปฏิบัติของสามเณรอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบุพพภาคปฏิบัติฯ
เมื่อจบคำไหนจึงลำเร็จเป็นภิกษุ
เมื่อจบคำว่า "โส ภาเสยฺย" ท้ายอนุสาวนา ครั้งที่ ๓ ในเวลากรรมวาจาผู้สวดว่าเป็นใช้ได้ คือสำเร็จเป็นภิกษุ ๆ
สหฆ์เป็นใหญ่ในอุปสมบทกรรมไฉนจึงต้องมีอุปัชฌายะเด้วย
ข้อที่ทรงอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรด้วยญัตติจตุตถกรรม ก็แปลว่าไม่ให้อำนาจแก่บุคคลในกิจสำคัญ เพราะการอุปสมบทจะสำเร็จได้ก็ด้วยอำนาจสงฆ์เห็นพร้อมกัน และข้อที่ทรงอนุญาตให้มีอุปัชฌายะนั้น ก็เพื่อจะให้เป็นผู้นำกุลบุตรเข้าหมู่สงฆ์ และเป็นผู้คอยแนะนำสั่งสอน และบาตรจีวรก็เป็นหน้าที่ของอุปัชฌายะต้องหาให้ดังนี้เป็นต้น หาได้ชื่อว่าเป็นอันยกอุปัชฌายะขึ้นเป็นใหญ่ในการอุปสมบทไม่ ฯ
ห้ามไม่ให้บอกจนศาสนี้ ก่อนหน้าอูปมบท
เรื่องบอกอนุศาสน์ก่อนหน้าอุปสมบทในครั้งพุทธกาลก็เคยมีมาครั้งหนึ่ง กุลบุตรผู้จะอุปสมบทได้ฟังกรณียกิจข้อที่ ๔ เลยไม่อุปสมบท ติว่าสมณะพวกนี้สกปรก เพราะฉะนั้น จึงห้ามไม่ให้บอกก่อนหน้าอุปสมบทฯ
อนุศาสน์ ห้ามไม่ให้ปล่อยจนล่วงกาล ให้บอกติดต่อกันไป ฯ
ถ้าปล่อยให้ล่วงกาล นวกภิกษุอาจจะต้องปาราชิก เพราะไม่รู้จักก็ได้เคยมีเรื่องในครั้งพุทธกาล นวกภิกษุได้ล่วงปฐมปาราชิกภิกษุอื่น ติเตียนเธอ เธอตอบว่าทำไมไม่บอกให้รู้ เพราะเหตุนี้ ท่านจึงห้ามไม่ให้ปล่อยจนล่วงกาลให้บอกต่อท้ายในเวลาเสร็จอุปสมบท ถ้าจะมีเหตุขัดข้องบอกไม่ได้ ต้องมีภิกษุเก่าควบคุมกว่าเธอจะรู้จักอนุศาสน์ ฯ
องค์สมบัติของพระกรรมวาจาจารย์ ๓ อย่าง
ภิกษุผู้จะเป็นกรรมวาจา อนุสาวนา ต้องประกอบด้วยสมบัติ ๓ ประการ คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีสติ ฯ
๒. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ ความเห็นชอบ เคยได้ยินได้ฟังมากมีปัญญา ฯ
๓. รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จำปาฏิโมกข์ได้แม่นยำ ฯ ทั้งมีพรรษาได้ ๕ หรือยิ่งกว่า องค์เหล่านี้บกพร่องบางอย่างได้ ขาดไม่ได้คือกำหนดพรรษา ฯ