คำบอกอนุศาสน์
• แบบเก่า (มหานิกาย)
อนุญฺญาสิ โข ภควา อุปสมฺปาเทตฺวา จตฺตาโร นิสฺสเย จตฺตาริ จ อกรณียานิ อาจิกฺขิตุํ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วเมื่ออุปสมบทแล้ว บอกนิสัย ๔ และอกรณียะ ๔ ว่า
ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ฯลฯ
(ต่อไปนี้เหมือนกับแบบข้างต้นทุกประการ)
ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียนฺติ ฯ
"อเนกปริยาเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้เห็นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเองพระองค์นั้น ตรัสศีลไว้โดยชอบแล้ว ตรัสสมาธิไว้โดยชอบแล้ว ตรัสปัญญาไว้โดยชอบแล้ว โดยหลายขบวน
“ยาวเทว ตสฺส มทนิมฺมทนสิส ปิปาสวินยสฺส อาลยสมุคฺฆาตสฺส วฏฺฏูปจฺเฉทสฺส ตณฺหกฺขยสฺส วิราคสฺส นิโรธสฺส นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย”
เพียงเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้น อันเป็นทางย่ำยีความเมาเสียเป็นทางนำความอยากเสีย เป็นความถอนอาลัยขึ้นเสีย เป็นทางเข้าไปตัดวนเสีย เป็นทางสิ้นแห่งตัณหา เป็นทางฟอกจิต เป็นทางดับทุกข์
"ตตฺถ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโลโหติ มหานิสํโส, สมาธิ ปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา, ปญฺญาปริภาวิตํ จิตตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ"
ใน ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น สมาธิอันศีลอบรมแล้วมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ สมาธิอันปัญญาอบรมแล้ว มีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมพ้นจากอาสวะโดยชอบ
"เสยฺยถีทํ, กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวา"
คือจากอาสวะคือความอยากได้ จากอาสวะคือความอยากเป็น จากอาสวะคือความไม่รู้ ฯ
ตสฺมาติห เต อิมสฺมี ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย, สกฺกจฺจํ อธิสีลสิกขา สิกฺขิตพฺพา อธิจิตฺตสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา อธิปญฺญาสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพํ" ฯ
เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาสิกขาคือศีลยิ่งอย่างเคารพ, พึงศึกษาสิกขาคือจิตยิ่งอย่างเคารพ, พึงศึกษาสิกขาคือปัญญายิ่งอย่างเคารพ, ในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตตรัสประกาศนี้, พึงให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทในนั้นเทอญ ฯ
เมื่อจบอนุศาสน์ นวกะภิกษุพึงรับว่า "อาม ภนฺเต" บทว่า “เต” ในคำว่า “ตสุมาติห เต” ในเวลาบอกพร้อมกันตั้งแต่ ๒ รูปขึ้นไป พึงเปลี่ยนใช้บทว่า “โว” แทน ดังนี้ "ตสฺมา ติห โว" นอกนั้น มีอธิบายเหมือนข้างต้น (หน้า ๘๒)
อนุศาสน์แบบนี้ ได้เคยพิมพ์ไว้ในคู่มือบรรพชาอุปสมบทครั้งหนึ่งแล้วและได้บอกไว้ว่า "แบบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า" ภายหลังได้คำแนะนำจากพระเถระผู้ใหญ่ “แบบนี้พระเถระฝ่ายมหานิกายได้เคยบอกกันมาก่อนแล้วหาใช่แบบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าไม่” ฯ