พระธรรมคุณาภรณ์ พระผู้ให้กำเนิดวัดไทย (ตอนที่ ๑)

วันที่ 10 เมย. พ.ศ.2547



โดย พระมหาชนะ ธัมมธโช ป.ธ.๙,พธ.บ.,M.A.
( พระศรีธวัชเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ กทม.)
รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการต่างประเทศ มมจร.

 

.....วัดไทยในต่างแดน อย่างน้อยที่สุด ๒ วัดในประเทศออสเตรเลีย ดินแดนจิงโจ้ที่ได้รับอานิสงส์โดยตรงหรือเป็นผลผลิตจากการบุกเบิกก่อตั้งสร้างวัด ของวัดพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมคุณาภรณ์คือ

.....๑. วัดไทยนครเมลเบิร์น รัฐวิคตอเรีย 

 

.....๒. วัดไทยพุทธารามหรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดไทยนครบริสเบน” รัฐควีนส์แลนด์เพราะหลงพ่อได้เป็นผู้วางรากฐานสำคัญในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งวัดและเป็นประธานดำเนินการ ตั้งแต่ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระเทพปัญญาสุธี


.....หลวงพ่อเป็นผู้ให้กำเนินวัดทั้งสองนี้อย่างแท้จริง โดยที่ท่านไม่เคยเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยทุกข์ยากประการใด บางครั้งวัดที่หลวงพ่อก่อตั้งมานั้น ก็มีลมมรสุมรุนแรง พัดกระหน่ำอย่างหนักชนิดที่ถ้าเป็นผู้อื่นไม่ใช่หลวงพ่อแล้ว คงต้องตัดสินใจปล่อยลอยแพ ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมเป็นแน่แท้ แต่ด้วยเมตตาธรรมอย่างสูงยิ่ง และด้วยเหตุที่หลวงพ่อไม่เคยทอดทิ้งลูกน้อง วัดที่ท่านก่อตั้งมาด้วยหยาดเหงื่อแรงกาย แรงใจ และแรงทุนทรัพย์ของหลวงพ่อจึงโชคดีไม่พลอยถูกทอดทิ้งไปด้วย

.....ด้วยบุคลิกพิเศษของหลวงพ่อ ที่ต้องการช่วยเหลือมนุษยชาติ มีผู้ใหญ่หลายท่านไม่เห็นด้วยกับการทำงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ แต่หลวงพ่อให้เหตุผลเพียงว่า ถ้าพระเถระรุ่นก่อนไม่คิดเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระโสณะ และพระอุตตระก็คงไม่มีโอกาศได้มาสู่สุวรรณภุมิ และพระพุทธศาสนาในประเทศไทยก็คงไม่มีวันนี้ให้เราได้เห็น ไม่มีวัด ไม่มีดินแดนแห่งผ้าเหลือง ไม่มีมรดกวัฒนธรรมชาวพุทธ เป็นวัตถุพยานให้อนุชนได้ศึกษา ได้อนุรักษ์และได้ภาคภูมิใจกัน

 

.....ทุก ๆ ปี หลวงพ่อจะนำพาคณะเดินทางไปทอดกฐินและผ้าป่า มีผู้ร่วมเดินทางมากบ้าง น้อยบ้าง ได้ปัจจัยตามสมควรแก่สภาวะ แต่ผลใหญ่หลวงที่ยังบังเกิดแก่ผู้พบเห็น คือ ความเป็นปึกแผ่นของพุทธศาสนิกชนที่อยู่ตามเมืองเล็กเมืองน้อยที่ท่านได้เมตตาเดินทางไปเยี่ยมเยือน และสอนธรรมะแก่ญาติโยมเหล่านั้น นอกจากนี้ ยังมีผลด้านส่งเสริมกำลังใจแก่พระธรรมทูตที่อยู่ทำงานประจำซึ่งมีหน้าที่เป็นทูตเชื่อมโยง ระหว่างขาวบ้านกับชาววัดให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น หรืออย่างขั้นต่ำสุด ก็เป็นการรักษาสถานภาพความเป็นพุทธศาสนิกชนของชาวบ้านไว้ได้อย่างเหนี่ยวแน่น ไม่ผันแปรไปนับถืออื่น


.....ความสัมพันธ์ระหว่างหลวงพ่อกับข้าพเจ้าอยู่ในฐานะเป็นอาจารย์-ศิษย์ เพราะหลวงพ่อเป็นคู่สวด สวดคู่กับพระราชพฤฒาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส วัดราชบูรณะ ฯ โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินธรมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์


.....ครั้งเมื่อไปอยู่เมืองเมลเบิร์น รัฐวิคตอเรีย ในปีแรกนี้ ข้าพเจ้าได้ออกเดินทางไปในช่วงออกพรรษาแล้ว ประมาณเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๙ จำได้ว่าช่วงนั้นอากาศหนาวมาก เพียงไม่กี่วันเองหลวงพ่อก็พาคณะไปทอดกฐิน ที่วัดไทยนครเมลเบิร์น ซึ่งยังเช่าบ้านอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๑ เฮ็ดสตรีท เขตบาลวิน ปีนั้นมีพระผู้ใหญ่มาก มีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ครั้นยังดำรงตำแหน่งเป็นพระธรรมปัญญาบดี) วัดปากน้ำ เดินทางไปด้วย หลวงพ่อนำคณะไปเพราะจุดประสงค์ เพื่อรวบรวมเงินสมทบทุนซื้อวัดไทยเป็นแห่งแรก เมื่อทอดกฐินเสร็จเรียบร้อย ก็ย้ายวัดไปอยู่ชั่วคราวที่ดอนแคสเตอร์ นับจากนั้นมาที่ต้องวิ่งเต้นช่วยกันหาบ้านที่จะมาทำเป็นวัดถาวรและแล้วก็หาสถานที่ที่เหมาะสมได้ ณ บ้านเลขที่ ๔๙๘ ถนน เอลการ์โรด เขตบอกซิล



.....ไม่นานนักที่หลวงพ่อเดินทางกลับเมืองไทยเพราะเพียงชั่ว ๖ เดือนเท่านั้น ก็มีโอกาสได้กราบหลวงพ่ออีกครั้งหนึ่ง หลวงพ่อเดินทางมาเมลเบิร์นเป็นครั้งที่ ๒ มารูปเดียว วัดไทยนครเมลเบิร์น ยุคนั้นไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อวัดได้ตามลำพัง แรงสนับสุนทางด้านการเงินจากหลวงพ่อเท่านั้น คือ หนทางเดียวที่เหลือรอดอยู่ หรือมิฉะนั้นก็ตองกู้ยืมเงินมาจากธนาคาร ทราบมาว่าหลวงพ่อได้เงินสนับสนุนจำนวนหนึ่งมาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ เพื่อการซื้อวัดไทยนครเมลเบิร์นนี้ โดยเฉพาะและเงินก้อนอื่น ๆ อีกที่พอจะมีรวบรวมได้ รวมเป็นเงินค่าซื้อวัดไทยแห่งแรก เพื่อให้เป็นที่พักถาวรของคณะสงฆ์ไทย ...

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0034535129865011 Mins