ปัพพโตปมคาถา
คาถาเปรียบความตายดังภูเขาใหญ่ บดขยี้สัตว์โลกให้ตายไปหมดสิ้น นิยมสวดในงานศพ
(นำ) (หันทะ มะยัง ปัพพะโตปะมะคาถาโย ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดคาถาว่าด้วยข้ออุปมาด้วยภูเขากันเถิด.)
(รับ) ยะถาปิ เสลา วิปุลา นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา, สะมันตา อะนุปะริเยยยุง นิปโปเถนตา จะตุททิสา,
ภูเขาหินล้วนสูงจรดฟ้า, กลิ้งบดสัตว์มาใน ๔ ทิศ หมุนเวียนโดยรอบ แม้ฉันใด ;
เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ อะธิวัตตันติ ปาณิโน
ความแก่ด้วย, ความตายด้วย, ย่อมเป็นไปทับ, คือครอบงำสัตว์ทั้งหลายก็เหมีอนฉะนั้น ;
ขัตติเย พ๎ราห๎มะเณ เวสเส สุทเท จัณฑาละปุกกุเส,
คือกษัตริย์และพราหมณ์, และชนพวกเวสสะพ่อค้า, และชนพวกสุททะพ่อครัว, และชนจัณฑาลพันทาง, และปุกกุสะคนเทหยากเยื่อ ;
นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ สัพพะเมวาภิมัททะติ,
ความแก่ความตายไม่ละเว้นใครไปเลย, ย่อมย่ำยีครอบงำให้อยู่ในอำนาจทั้งสิ้น. เหมือนภูเขาหินล้วนกลิ้งบดสัตว์มาใน ๔ ทิศ ฉะนั้น ;
นะ ตัตถะ หัตถีนัง ภูมิ นะ ระถานัง นะ ปัฅติยา,
พื้นดินที่จะยกทหาร ช้าง ม้า รถ พลเดินเท้า, ไปสู้ความแก่ความตายนั้นไม่มีเลย ;
นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ สักกา เชตุง ธะเนนะ วา,
อนึ่ง บุคคลไม่อาจสู้รบชนะความแก่ความตายด้วยมนต์คาถาวิชาต่าง ๆ, และทรัพย์สมบัติมีวิญญาณและไม่มีวิญญาณได้ ;
ตัส๎มา หิ ปิณฑิโต โปโส สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน,
เพราะเหตุนั้นผู้มืป้ญญาหาประโยซ'น์แก่ตน, เมื่อจำทรงคิดเข้าใจแล้ว ;
พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ ธีโร สัทธัง นิเวสะเย,
ผู้มีปัญญาพึงตั้งศรัทธา, ความเชื่อเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าท่านผู้รู้จักของจริง, และในพระธรรมคำสั่งสอนคือ ศีล สมาธิ ปัญญา, ในพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญาดีชอบแล้ว ;
โย ธัมมะจารี กาเยนะ วาจายะ อุทะ เจตะสา,
อนึ่ง, บุคคลใดมีปกติประพฤติธรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ ;
อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะติ.
ประชุมชนนักปราชญ์ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้, ผู้นั้นไปในโลกหน้าแล้ว ย่อมบันเทิงยินดีสุขสบายใจ.