รัตนสูตร สูตรว่าด้วยการพรรณนาคุณของพระรัตนตรัย ใช้สวดเพื่อขับไล่เสนียดจัญไร ภูตผีปีศาจ โรคภัย ไข้เจ็บ

วันที่ 04 มค. พ.ศ.2564

6410104_01.jpg

รัตนสูตร
สูตรว่าด้วยการพรรณนาคุณของพระรัตนตรัย
ใช้สวดเพื่อขับไล่เสนียดจัญไร ภูตผีปีศาจ โรคภัย ไข้เจ็บ

(นิยมสวดเฉพาะวรรคที่มีเครื่องหมาย ๐ )

(นำ) (หันทะ มะยัง ระตะนะสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดรัตนสูตรกันเถิด.)

(รับ) ยานีธะ ภูตานี สะมาคะตานิ, ภุมมานิวา ยานิวะ อันตะลิกเข, เหล่าภูตทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี, ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี, ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี ;

สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ, ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดี ;

อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง, และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย อันข้าพเจ้ากล่าวโดยเคารพเถิด ;

ตัส๎มา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ, ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้า ;

เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ, ขอท่านทั้งหลาย จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด ;

ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง, ซึ่งเขาทั้งหลาย ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวัน และกลางคืน ;

ตัส๎มา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา. เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท, ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด.

ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา, ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น ;

สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง, หรือรัตนะใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์ ;

นะ โน สะมัง อิตถิ ตะถาคะเตนะ, ทรัพย์หรือรัตนะนั้น ๆ ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า มิได้มีเลย ;

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง, ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต, พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น, ได้บรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง ;

นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัฅถิ กิญจิ, สิ่งใด ๆ ที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี ;

อิทัมปิ ธัมเม ระฅะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง, พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด ;

สะมาริมานันตะริกัญญะมาหุ, บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงสมาธิใด ว่าให้ผลไม่มีสิ่งใดคั่นได้ ;

สะมารินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ, สมาธิอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี ;

อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้ ก็จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา, จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ, บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น ๘ นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ;

เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา, บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ;

เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ, ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก ;

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้ จัดเป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ, นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ, บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ประกอบความเพียรอย่างดี ดำเนินไปในศาสนา ของพระโคดมเจ้า ด้วยใจอันมั่นคง ;

เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ, บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ได้บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือ พระอรหัตผลแล้ว ;

ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา, จึงได้เสวยอมตรส คือ ความสงบเย็น จากความเร่าร้อนทั้งปวง ;

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ ;

เยเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา, จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย, เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน อย่างมั่นคงแล้ว ลมทั้ง ๔ ทิศ ไม่พึงทำ ให้หวั่นไหวได้ ฉันใด ;
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ, โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ, เราตถาคตกล่าวว่า สัตบุรุษผู้หยั่งเห็นอริยสัจธรรมก็มีอุปมาฉันนั้น นั่นแล (หมายถึงพระอริยบุคคลทีไม่หวั่นไหวเพราะอำนาจกิเลส) ;

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ, คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ, บุคคลเหล่าใด กระทำอริยสัจธรรมทั้งหลาย ที่พระบรมศาสดา ผู้มีพระปัญญาอันลึกซึ้ง ทรงแสดงดีแล้ว ให้แจ่มแจ้งแก่ตนได้ ;

กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา, บุคคลเหล่านั้น ถึงจะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก (หมายถึงพระโสดาบัน) ;

นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาพิยันติ, แต่ท่านก็ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งภพที่ ๘ (คือเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ) ;

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ, ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ, สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ, สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ, สังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีสัพพตปรามาส, ซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ, อันพระโสดาบันละได้แล้ว เพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะ ;

จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต, อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้ว จากอบายภูมิทั้ง ๔ ;

ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง, ทั้งไม่อาจที่จะทำอภิฐาน คือ ฐานะอันหนัก ๖ ประการ (คืออนันตริยกรรม ๕ และถือศาสดาอื่น) ;

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง, กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา, แม้พระโสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย ทางวาจาหรือทางใจ อยู่บ้างก็ตาม ;

อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ, แต่เมื่อทำแล้ว ท่านเปิดเผย ไม่ปกปิดความผิดนั้นไว้ ;

อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา, ความที่บุคคลผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว เป็นผู้ไม่ปกปิดความผิดไว้นี้ อันเราตถาคตกล่าวแล้ว ;

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค, คิมหานะ มาเส ปะฐะมัส๎มิง คิมเห, พุ่มไม้ในป่า แตกยอดในเดือนต้นคิมหันต์แห่งคิมหันตฤดูฉันใด ;

ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ, พระตถาคตเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ;

นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ, ซึ่งเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ก็มีอุปมาฉันนั้น ;

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง, แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

วะโร วะรัญณู วะระโท วะราหะโร, พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐ, ทรงเป็นผู้รู้สิ่งอันประเสริฐ, ทรงเป็นผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ, ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ ;

อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ, ทรงเป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ ;

อทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง, แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง, กรรมเก่า ของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว, กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี ;

วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัส๎มิง, พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป ;

เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา, พระอรหันต์เหล่านั้น มีพืชคือวิญญาณสิ้นไปแล้ว ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป ;

นิพพันติ* ธีรา ยะถายัมปะฑีโป, เป็นผู้มีปัญญา ย่อมนิพพาน เหมีอนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั้น ;

*เมื่อสวดถึงคำว่า นิพพันติ นี้ใหัดับเทียนนํ้ามนต์ทันที

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, แม้ข้อนี้ ก็เป็นรัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์ ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด.

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.034176051616669 Mins