กรณียเมตตสูตร
สูตรว่าด้วยการเจริญเมตตาและอานุภาพแห่งเมตตา ใช้สวดเพื่อให้เทวดาเมตตารักใคร่
(นำ) (หันทะ มะยัง กะระณียะเมตตะสุตตะคาถาโย ภะณามะเส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดคาถากรณียเมตตสูตรกันเถิด.)
(รับ) กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ, ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ,
กิจอันภิกษุ(ผู้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่า) ผู้ฉลาดในประโยชน์ใคร่จะบรรลุสันตบทอยู่เสมอ พึงกระทำก็คือ :-
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ, พึงเป็นผู้อาจหาญ เป็นคนตรง และเป็นคนซื่อ ;
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี, เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง ;
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ, เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย ;
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ, เป็นผู้มีกิจน้อย มีความประพฤติเบาพร้อม (คือไม่สะสม) ;
สันตินท๎ริโย จะ นิปะโก จะ, มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญารักษาตน ;
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ, เป็นผู้ไม่คะนอง เป็นผู้ไม่พัวพันกับชาวบ้าน ;
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ, เยนะ วิญณู ปะเร อุปะวะเทยยุง, ไม่พึงประพฤติในสิ่งที่เลวทรามใด ๆ ที่เป็นเหตุให้คนอื่น ซึ่งเป็นผู้รู้ติเตียนเอาได้ ;
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ, สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา, จงเจริญเมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจ มีแต่ความเกษมสำราญเถิด ;
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ, สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ทุกเหล่าทั้งหมดบรรดามี ;
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา, ที่เป็นประเภทเคลื่อนไหวได้ก็ดี ประเภทอยู่กับที่ก็ดี ;
ทีฆา วา เย มะหันตา วา, มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา, เป็นสัตว์มีขนาคลำตัวยาว ปานกลาง หรือสั้นก็ดี, เป็นสัตว์มีลำตัวใหญ่ ปานกลาง หรือเล็กก็ดี, เป็นชนิดมีลำตัวละเอียดหรือมีลำตัวหยาบก็ดี ;
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา, เป็นจำพวกที่ได้เห็นแล้ว หรือไม่ได้เห็นก็ดี ;
เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร, เป็นผู้อยู่ในที่ไกล หรือในที่โกล้ก็ดี ;
ภูตา วา สัมภะเวสี วา, เป็นผู้ที่เกิดแล้ว หรือกำลังแสวงหาที่เกิดอยู่ก็ดี ;
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา, ขอสัตว์ทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจเถิด ;
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ, บุคคลไม่พึงข่มเหงกัน ;
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ, ไม่พึงดูหมิ่นเหยียดหยามกัน ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ;
พ๎ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา, นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ, ไม่พึงคิดก่อทุกข์ให้แก่กันและกัน เพราะความโกรธ และเพราะความเคียดแค้น ;
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง, อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข, มารดาถนอมบุตรคนเดียว ผู้เกิดในตน ด้วยการยอมสละชีวิตของตนแทน ฉันโด ;
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ, มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง, บุคคลพึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาประมาณมิได้ในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้นเถิด ;
เมตตัญจะ สัพพะโลกัส๎มิง, มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ, อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง, บุคคลพึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาขอบเขตมิได้, อันไม่มีเวร ไม่มีศัตรูคู่ภัย ไปในสัตว์โลกทั้งสิ้น, ทั้งในทิศ เบื้องบน ในทิศเบื้องต่ำ และในทิศขวาง ;
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา, สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ, ผู้เจริญเมตตาจิตอย่างนี้นั้น ปรารถนาจะตั้งสติในเมตตาฌานให้นานเพียงใด ท่านผู้นั้นไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง หรือนอนก็ตาม ย่อมเป็นผู้ปราศจากความท้อแท้ ;
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ, ก็พึงจะตั้งสตินั้นไว้ได้นานตามต้องการ ;
พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ, บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวการปฏิบัตินี้ว่าเป็นความประพฤติที่ประเสริฐในพระศาสนานี้ ;
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ, บุคคลผู้นั้นละความเห็นผิด คือ สักกายทิฐิเสียได้ ;
สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน, เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้ว ด้วยญาณทัสสนะ (คือการเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยญาณ ซึ่งเป็นองค์โสดาปัตติมรรค) ;
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง, สามารถกำจัดความยินดี ในกามทั้งหลายเสียได้ (ด้วยอนาคามิมรรค) ;
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ. ย่อมไม่ถึงซึ่งการนอนในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียวแล.