โรค ๓ ประจำใจ

วันที่ 24 มีค. พ.ศ.2564

โรค ๓ ประจำใจ

 

640324_b.jpg

 


            การที่ใจมีโรค ๓ ประจำใจ เพราะใจถูกธาตุชนิดหนึ่งที่สกปรกมาก ละเอียดมาก และมีพิษร้ายแรงมาก ฝังตัวเข้าไปอยู่ในใจตั้งแต่ เกิด ธาตุร้ายนี้ บีบคั้นบ่อนทำลายใจไม่เคยหยุด จนกระทั่งสัตว์โลก นั้นตายไป ด้วยการทำให้ใจขุ่นมัวและมืดบอด อันเป็นเหตุให้ การเห็น จำ คิด และรู้ในสิ่งต่าง ๆ ไม่ถูกต้องตรงตามความจริง ใจ จึงเห็นผิด ๆ จำผิด ๆ คิดผิด ๆ รู้ผิด ๆ แล้วทำกรรมชั่วในรูปแบบต่าง ๆ โดยแบ่งกรรมชั่วออกได้เป็น ๓ รูปแบบ จึงตั้งชื่อโรคตาม ลักษณะการทำกรรมชั่วประเภทนั้น ๆ ว่า


             ๑. โรคโลภะ โดยทำให้ใจขุ่นมัว เกิดความอยากได้ไม่รู้จบ มีความกำหนัดยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น อยากได้ของผู้อื่นในทางมิชอบร่ำไป


             ๒. โรคโทสะ โดยทำให้ใจขุ่นมัว เกิดความขัดเคืองใจ โกรธ คิดทำลาย หงุดหงิด และเดือดร้อนใจไม่รู้สร่าง


             ๓. โรคโมหะ โดยทำให้ใจขุ่นมัว เกิดความหลง ความมืดบอด ขลาดเขลา ไม่คำนึงถึงเหตุผล รวมทั้งเป็นเหตุให้เกิดโลภะและโทสะอีกด้วย

 

             เพราะถูกโรคประจำใจทั้ง ๓ ประเภทนี้บีบคั้น ใจจึงชอบหนี เตลิดออกจากกลางกายอันเป็นบ้านของใจ และเป็นศูนย์กลางที่ ช่วยให้ใจรู้เห็นความจริงของโลกและชีวิตได้ถูกต้อง ใจเตลิดหนี เที่ยวไปเมื่อใด ก็ไปเสพคุ้นติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ อารมณ์น่าใคร่ น่าพอใจ จากคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ ภายนอก เมื่อนั้น


               หากถูกใจ ชอบใจสิ่งใดหรือผู้ใด โรคโลภะก็กำเริบ อยากได้ สิ่งนั้นหรือผู้นั้น แม้มิใช่ของ ๆ ตน แต่ก็จ้องจะเอามาให้ได้แม้ ในทางที่ไม่ชอบ

 

               หากไม่ถูกใจสิ่งใดหรือผู้ใด โรคโทสะก็กำเริบ จ้องจะทำลาย สิ่งนั้นหรือผู้นั้นให้เสียหายเดือดร้อน

 

              หากหลงใหลสิ่งใดหรือผู้ใด โรคโมหะก็กำเริบ ไม่คำนึงถึง เหตุผล ประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งนั้นหรือผู้นั้นอย่างโง่เขลา ทำให้ ต้องเดือดร้อนในภายหลัง

 

               เพราะโรค ๓ ประจำใจกำเริบ ไมย่อมหยุด ความทกุข์ต่าง ๆ จึง ถาโถมเข้าทำลายบีบคั้นสัตว์โลกไม่ว่างเว้น เมื่อทุกข์มากเท่าไร ใจก็ขุ่นมากเท่านั้น เพียงแค่จะเห็นใจตัวเองก็แสนยาก ต้องเพียร ตั้งสติ เจริญสมาธิชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันเท่านั้น จึงจะเห็นใจ ตนเองได้ แต่การที่จะรู้เห็นโรค ๓ ซึ่งฝังลึกภายในใจยิ่งแสนยาก ขึ้นไปอีก

 


               เพราะโรคทั้ง ๓ นี้ เป็นธาตุสกปรกที่ละเอียดมาก ๆ ละเอียด จนแทรกเข้าไปในเนื้อใจซึ่งแสนละเอียดอยู่แล้วได้ จึงไม่ต้องพูด ถึงว่า การรู้เห็นวิธีการควบคุมโรค ๓ ประจำใจ จะยากแสนเข็ญยิ่ง ขึ้นเพียงไหน แต่บรรพชนผู้รู้ ก็ได้ค้นคว้าหาความรู้เหล่านี้เตรียม ไว้ให้เราเรียบร้อยแล้ว

 

               การควบคุมรักษาโรค ๓ ประจำใจ กระทำได้ดังนี้

 


               ๑. เราต้องฝึกตนให้มีสามัญสำนึกความเป็นมนุษย์อย่างมั่นคง คือ สามารถเตือนตนเองได้เสมอว่า สิ่งใดที่เราไม่อยากให้ใครทำ กับเรา เพราะมันทำให้เราเดือดร้อน เราเองก็ต้องไม่ไปทำสิ่งนั้น กับผู้อื่น หรืออย่าพูด อย่าทำกับผู้อื่น ในสิ่งที่เราไม่ชอบนั้น ๆ


               ๒. เราต้องหมั่นเข้าหากัลยาณมิตรเพื่อให้ท่านชี้ทางสว่าง แก้โรค ๓ ให้เรา


               ๓. เราต้องมีความกตัญญูกตเวทิตาและความเคารพต่อ กัลยาณมิตรผู้มีอุปการคุณ แก่เราเสมอ เป็นการตอบแทนพระคุณท่าน และเป็นกำลังใจให้ท่านได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรต่อชาวโลกให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป


              ๔. เราต้องตั้งใจฟังคำสอนของกัลยาณมิตร และตรองแล้ว ตรองอีกให้เข้าใจคำสอนของท่าน แล้วนำคำสอนนั้นมาปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดให้ได้ผลดีเช่นเดียวกับท่านด้วย


              ๕. เราต้องหมั่นเจริญสมาธิรักษาใจไว้กลางกายเป็นนิจ ให้เป็น นิสัยประจำตน เพื่อรู้เห็นความจริงให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

 

 

สัจจะต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

พระเผด็จ ทตฺตชีโว

คณะวิพากษ์ คณะจัดทำต้นฉบับและหนังสือ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0052905837694804 Mins