โรค ๖ ประจำกาย
มนุษย์ทุกคนบนโลก ต่างมีโรคประจำกายที่ตามบั่นทอนกาย ให้เสื่อมอยู่ทุกลมหายใจตั้งแต่เกิด จนกระทั่งแก่ เจ็บ และตายในที่สุดโรคเหล่านั้นก็คือ ๑) โรคหนาว ๒) โรคร้อน ๓) โรคหิว ๔) โรคกระหาย ๕) โรคปวดอุจจาระ และ ๖) โรคปวดปัสสาวะ
แต่โดยทั่วไปมักมองว่า โรค ๖ ประจำกายเป็นเพียงอาการ กระสับกระส่ายทางกายธรรมดาประจำวันของมนุษย์ เช่นเดียวกับ การหายใจเข้าออก จึงมักปล่อยปละละเลยไม่เฉลียวใจว่า โรค ๖ ประจำกายนี้ มีพิษสงร้ายกาจทำลายโลกทั้งโลกได้ ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อม โดยมีสาเหตุคือ
๑. ทำให้ทุกคนเกิดมากายก็เปื้อนสกปรกออกมาจากครรภ์ มารดา ซึ่งมารดาก็เป็นโรค ๖ ประจำกายอยู่ก่อนแล้ว
๒. ทันทีที่เกิดมาต่างคนต่างก็ผลิตขยะออกมาจากกาย ตั้งแต่หายใจออกเป็นอากาศเสีย พร้อมกับผลิตน้ำตา น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ ฯลฯ ก่อความสกปรกเปื้อนเปรอะทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมไปตลอดชีวิต
๓. หากผู้ใดมักง่ายดูเบาในการกำจัดความสกปรกที่ตนเอง ผลิตขึ้นมาย่อมส่งผลให้
๓.๑) สุขภาพย่อมทรุดโทรมง่าย เป็นโรคอื่นนานาชนิด ตามมาได้ง่าย
๓.๒) เกิดนิสัยเสียต่าง ๆ ตามมาจากความมักง่ายในการ กำจัดความสกปรกชนิดนั้น ๆ
๓.๓) ต้องทำกรรมชั่ว เนื่องจากความมักง่ายทุกชนิดแม้ใน เรื่องเล็กน้อยล้วนเป็นการทำกรรมชั่วทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้การอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ บ้านเรือน ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น กรรมชั่วของชาวโลกทุกคน จึงเริ่มต้นที่ความมักง่ายในการ ทำความสะอาดหรือการกำจัดความสกปรก ซึ่งเกิดจากโรค ๖ ประจำกายของแต่ละคนทั้งสิ้น
๓.๔) ทันทีที่เกิดค่าใช้จ่ายในครอบครัว การใช้และ ทำลายทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมก็เกิดตามมา ยิ่งใครมักง่าย ใช้จ่าย สิ้นเปลือง ยิ่งทำลายสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น อันเป็นที่มาของปัญหา เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม การเมือง ฯลฯ ไม่รู้จบ
ด้วยเหตุดังกล่าวความร้ายกาจของโรค ๖ ประจำกาย จึงน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก แต่ทั้งโลกหาใครมองออกได้ยาก
ตรงกันข้าม ผู้ใดได้รับการอบรมสั่งสอน ชี้ทางถูกจาก กัลยาณมิตรให้มีความสำรวมในการทำความสะอาด ความสำรวม ในการจัดระเบียบไว้ดีแล้ว ย่อมสามารถควบคุมโรค ๖ ประจำ กายได้ดี สุขภาพกายย่อมแข็งแรง โรค ๓ ประจำใจก็บรรเทา ความสำรวมในการทำความสะอาดและจัดระเบียบ จึงเป็นรากฐาน ของความดีทั้งปวง จัดเป็นการทำกรรมดีที่ต้องฝึกอย่างยิ่งยวด กวดขันจนตลอดชีวิตทั้งหญิงชายตั้งแต่ยังเยาว์
เพราะโรค ๖ ประจำกายนี้ เป็นโรคที่ไม่มียารักษาให้หายขาด หมอทั้งโลกก็รักษาไม่ได้ ทำให้ต้องคอยควบคุมดูแลโรค ๖ ประจำกาย ด้วยตัวเองไปตลอดชีวิต ด้วยการปฏิบัติตนอย่างน้อย ดังนี้
๑. มีความช่างสังเกต ไม่มักง่าย ไม่ขาดสติในทุกเรื่องราว ที่ต้องเกี่ยวข้อง
๒. รู้ประมาณการบริโภคอาหาร ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน แต่กินเพื่ออยู่ อยู่เพื่อปราบกิเลส แก้ไขนิสัยไม่ดีของตัวเอง และตั้งใจสร้างบุญ
๓. ทำความสะอาด ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม สิ่งของเครื่องใช้ และที่อยู่อาศัยให้สะอาดเป็นนิจ
๔. จัดระเบียบ พื้นที่บริเวณที่ตนอยู่อาศัยให้อากาศถ่ายเท สิ่งของเครื่องใช้ต้องแยกให้ชัดว่า สิ่งไหนจำเป็น สิ่งไหนส่วนเกิน จัดวางถูกที่ถูกวิธี เพื่อหยิบก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา รวมทั้งจัดระเบียบ อิริยาบถ ๔ ของตน คือ ยืน เดิน นั่ง และนอนให้ถูกต้อง
๕. สุภาพ กิริยาท่าทางสุภาพ ตามแบบแผนและวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม มีการเคลื่อนไหวอิริยาบถที่นุ่มนวล จะเปิด-ปิด ประตูหน้าต่าง หยิบจับล้างถ้วยชาม หรือข้าวของเครื่องใช้ทั้งหลาย ก็ไม่เสียงดังโครมคราม โพล้งเพล้ง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ยาก
๖. ตรงตามเวลา กิน นอน ตื่น และขับถ่ายถูกเวลา ตรงเวลา
๗. ใจเป็นสมาธิ หมั่นเก็บรักษาใจให้หยุดนิ่งมั่นคงไว้ในตัว ด้วยการนึกถึงองค์พระ ดวงแก้ว หรือกำหนดลมหายใจเป็นนิจ
ความสำรวมในการทำความสะอาด
และจัดระเบียบ จึงเป็นรากฐาน
ของความดีทั้งปวง
จัดเป็นการทำกรรมดีที่ต้องฝึก
อย่างยิ่งยวดกวดขันตลอดชีวิต
ทั้งหญิงชายตั้งแต่ยังเยาว์
สัจจะต่อความดี อานุภาพพลิกโลก
พระเผด็จ ทตฺตชีโว
คณะวิพากษ์ คณะจัดทำต้นฉบับและหนังสือ