ความหมายและการแสดงออก

วันที่ 06 พค. พ.ศ.2564

ความหมายและการแสดงออก

 

640506_b.jpg

                   สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบประพฤติ คือ ความตั้งใจจริงในการรักษา ใจให้ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไปเป็นนิจ ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใด เช่น ขณะยืน เดิน นั่ง นอน ทำงาน ฯลฯ ซึ่งแสดงออกเป็นนิสัย ๓ คือ


                           ๑. นิสัยรักการพูดจริง
                           ๒. นิสัยรักการทำจริง
                           ๓. นิสัยรักการแสวงหาความจริงและความดี


                    เพราะบรรพชนผู้รู้ได้ค้นพบว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จมาจากใจ ถ้าใจดี ใจผ่องใส การทำ การพูด ก็ต้องดีไปด้วย ความดี ความสุข ย่อมติดตามมาเหมือนเงาตามตน

 

๑. นิสัยรักการพูดจริง

                   ๑. นิสัยรักการพูดจริง แสดงออกได้ ๓ ลักษณะ คือ


                           ๑.๑ ความตั้งใจพูดตามความจริงที่เห็นอยู่ ที่รู้อยู่ ที่เกิด ขึ้นอยู่ทั่วไป โดยไม่มีการบิดเบือนไปจากความจริงนั้นๆเพื่อความ เข้าใจถูกของทุกฝ่าย เช่น นายแดงขับรถหรูชนนายเขียวซึ่งขับรถ จักรยานยนต์ถึงแก่ความตาย นายแดงก็ต้องสารภาพกับตำรวจว่า ตนเป็นผู้ขับรถชนนายเขียวตาย ไม่ใช่บิดเบือนว่า นายเขียวขับรถ จักรยานยนต์มาชนรถหรูของตนแล้วรถล้มคว่ำ ศีรษะฟาดถนน เสียชีวิตเอง เพราะนั่นเป็นความเท็จ การทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาท แล้วยังโยนความผิดให้ผู้ตายอีก นับว่าขาดสัจจะอย่างมาก


                           ๑.๒ ความตั้งใจพูดตรงความจริงตามธรรมชาติ แม้ใน เรื่องที่รู้เห็นได้ยาก เช่น นรกสวรรค์ ฯลฯ ในเมื่อนรกสวรรค์มีจริง ก็ต้องพูดว่า มีจริง เพราะผู้ที่ทั้งรู้ทั้งเห็นนรกสวรรค์นั้นมีอยู่จริง ทั้งท่านผู้รู้ก็ได้บอกวิธีปฏิบัติให้เข้าไปรู้ไปเห็นนรกสวรรค์เช่นท่าน ไว้แล้ว เพียงแต่เรายังปฏิบัติไม่ถึงเช่นท่านเท่านั้น เพราะฉะนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า นรกสวรรค์ไม่มีจริง เพราะ การที่เราไม่รู้ หรือไม่เห็นนรกสวรรค์นั้น เป็นความไม่สามารถ ของเราเอง แต่ไม่ได้หมายความว่า นรกสวรรค์ไม่มี ส่วนการพูด ให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่า นรกสวรรค์ไม่มี ย่อมเกิดโทษอย่างมหันต์ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น คือ

 

                                 ๑) ตนเองเป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ซึ่งนับว่าทำความ เสียหายมากแล้ว
                                 ๒) เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่นให้เชื่อหรือโง่ตามอีกด้วย ส่วนผู้เข้าใจผิดย่อมเกิดโทษ คือ
                                         - เกิดความเห็นผิดว่า นรกสวรรค์ไม่มี
                                         - เกิดความดำริผิด ไม่คิดจะทำความดีต่อไป
                                         - เกิดคำพูดผิด ๆ ขึ้นในสังคมตามมา
                                         - ผู้นั้นย่อมละทิ้งศีล ตั้งตนเป็นคนทุศีล ออกหน้า เป็นศัตรูกับคนดีมีศีล ตนเองก็มีใจขุ่นมัว ไม่เห็น ความจริงเป็นนิจ นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

 

                    เมื่อเราพูดความจริงว่า นรกสวรรค์มีจริง พร้อมกับอธิบาย เหตุผล หากใครยอมรับฟังเหตุผลจากเรา เขาย่อมได้ประโยชน์อเนก อนันต์ตามมา คือ


                                ๑) ย่อมมีความเห็นถูกว่า นรกสวรรค์มีจริง ทำให้เชื่อ เรื่องบุญ-บาปและชีวิตหลังความตาย
                                ๒) ย่อมมีความดำริถูก คือ คิดจะทำแต่สิ่งดี ๆ ต่อไป
                                ๓) ย่อมมีคำพูดถูก ช่วยกันพูดขยายความจริงให้รู้ถูก ทั่วสังคม เพื่อให้เกิดกำลังใจในการทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปทั่วสังคม

                               ๔) ทั้งสังคมย่อมตั้งใจทำความดีตามบรรพชนผู้รู้ เป็นผลให้ใจผ่องใสยิ่งขึ้น สามารถไปรู้ไปเห็นนรกสวรรค์ตามท่านผู้รู้ได้ทั่วหน้ากัน


                           ๑.๓ ความตั้งใจพูดยืนยันความจริงที่เป็นประโยชน์ส่วนตน และส่วนรวมอย่างถูกกาลเทศะ เพื่อให้เกิดความดีตามมา เช่น ความหนาว-ร้อน ความหิว-กระหาย และความปวดอุจจาระ-ปัสสาวะ ความจริงแล้วเป็นโรคประจำกายของทุกคน เราก็ต้องกล้ากล่าว ยืนยันว่า อาการทั้ง ๖ ประการนี้ เป็นอาการของโรคจริง ไม่ใช่พูด เฉไปตามคนมักง่ายว่า ไม่ใช่โรค เป็นเพียงเรื่องปกติเพราะทุกคน ก็เป็นกันทั้งนั้น เพราะคำพูดมักง่ายที่ผิดความจริงเรื่องโรค ๖ ประจำกายนี้ ทำให้คนทั้งโลกปล่อยปละละเลย ดูเบาไม่ควบคุม ตนเองเท่าที่ควร อันเป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาจนท่วมโลก


                            ความตั้งใจพูดยืนยันความจริงดังกล่าวข้างต้น เป็นความตั้งใจ ที่ประกอบด้วยความเมตตา เพื่อรักษาตนและทุกคนไม่ให้ทำกรรมชั่วทางวาจา ช่วยให้ผู้อื่นไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ทำให้สิ่งแวดล้อม เสียหาย นับว่าเป็นความดีอย่างยิ่ง


                             อย่างไรก็ตาม ถ้าความจริงในบางเหตุการณ์ บางเรื่องมี ผลกระทบต่อส่วนรวม หรือนำไปสู่ความแตกแยก ความเดือดร้อนเสียหายอย่างมากขณะนั้น ก็ต้องพูดความจริงด้วยความระมัดระวัง ซึ่งบรรพชนผู้รู้ได้ให้หลักในการพูดยืนยันความจริงที่ไม่มีบาป เกิดตามมาในยามวิกฤติไว้ด้วยว่า

 

                                ๑) เรื่องนั้นต้องเป็นเรื่องจริง
                                ๒) เรื่องนั้นต้องเป็นประโยชน์จริง
                                ๓) ต้องพูดเรื่องนั้นด้วยถ้อยคำไพเราะ น่าฟัง ร้อยเรียงให้เข้าใจได้ง่าย
                                ๔) ต้องพูดเรื่องนั้นด้วยเมตตาจิต
                                ๕) ต้องพูดเรื่องนั้นถูกกาลเทศะเท่านั้น มิฉะนั้นไม่ยอมพูดเด็ดขาด

 

บุคคลพูดจริงที่ควรสรรเสริญ ๔
ไตร่ตรองแล้ว กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน
ไตร่ตรองแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะ
ที่ไม่ควรเลื่อมใส
ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะ

ที่ควรเลื่อมใส


๒. นิสัยรักการทำจริง


                  ๒. นิสัยรักการทำจริง คือ มีความระมัดระวังตั้งใจที่จะทำ การงานใด ๆ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับธรรมชาติความจริงของงาน นั้น ๆ ขณะทำก็แสดงออกถึงธาตุแท้ความเป็นผู้เอาจริง คือ เป็นคน ทำอะไรก็ทำจริง ทำตรง และทำแท้
 

                 ทำจริง คือ มุ่งมั่นทำให้สำเร็จโดยไม่หวั่นเกรงต่ออุปสรรคใด ๆ


                 ทำตรง คือ มีเจตนามุ่งตรงต่อความจริงและความดีของงาน ที่ทำนั้น ๆ ไม่คิดคด ไม่หลอกลวง ไม่เอาเปรียบ ไม่มีอะไรแอบแฝง แต่อย่างใด


                  ทำแท้ คือ ตั้งใจทำให้ผลงานมีคุณภาพได้มาตรฐานอย่าง สุดความรู้ความสามารถ ตามสภาพการณ์ที่อำนวย ไม่มีการปิดบัง ไม่มักง่าย กดคุณภาพให้ต่ำลง แต่มุ่งให้เกิดความดีความสงบสุข แท้จริง
 

                  นิสัยรักการทำจริง แสดงออกได้ ๒ ลักษณะ คือ


                          ๒.๑ ความตั้งใจทำตามคำพูด คำสัญญา คำปฏิญาณ ที่ไตร่ตรองแล้วว่าถูกต้อง ตรงต่อความจริงของเรื่องนั้น อันจะ ก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อส่วนตนและส่วนรวม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ปฏิญาณตนเป็นพระภิกษุ เป็นสามเณร ในการบรรพชา อุปสมบท ก็ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุ ของสามเณร เป็นการทำจริง คือ ประพฤติปฏิบัติทุกอย่างตามปฏิญญาที่ให้ไว้แล้ว ต่อหน้าพระประธานในโบสถ์ และต่อพระอุปัชฌาย์


                        ๒.๒ ความตั้งใจทำตามหน้าที่ หน้าที่ คือ สิ่งที่ต้องรับผิด ชอบ ซึ่งมี ๒ ประเภท คือ


                                 ๑) หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นทางการ มีการแต่งตั้ง ไว้แล้ว เช่น หน้าที่ตำรวจ ทหาร นายอำเภอ กำนัน ประธานบริษัทพนักงาน ลูกจ้าง เป็นต้น


                                 ๒) หน้าที่ที่ได้รับโดยสังคม เช่น ชายหญิงเมื่อแต่งงาน ก็มีหน้าที่ต้องเป็นสามีภรรยาที่ดีต่อกัน และเมื่อมีบุตรก็มีหน้าที่เพิ่มอีก คือ หน้าที่เป็นพ่อแม่ที่ดีของบุตร ส่วนบุตรที่เกิดมาก็มี หน้าที่ติดตัวมาทันที คือ หน้าที่เป็นบุตรที่ดี ส่วนพ่อแม่เมื่อมีหลาน เพิ่มขึ้นมา ตนเองก็ต้องดำรงตนทำหน้าที่เป็นปู่ย่าตายายที่ดีทันทีด้วย

 

                         สำหรับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยสังคม อันได้แก่ หน้าที่ระหว่างพ่อแม่กับบุตร สามีกับภรรยา ครูอาจารย์กับศิษย์ เพื่อนกับเพื่อน นายจ้างกับลูกจ้าง และพระภิกษุสามเณรกับคฤหัสถ์ บรรพชนผู้รู้ได้บัญญัติไว้แล้ว จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราคนรุ่นหลังที่ จะต้องศึกษาและพิจารณาปฏิบัติตามอย่างรอบคอบ และทำด้วย ความตระหนักในเรื่องนั้น ๆ ด้วย ดังตัวอย่างเช่น
 

                                   • หน้าที่พ่อแม่พึงปฏิบัติต่อลูก คือ สิทธิที่ลูกพึงได้ จากพ่อแม่ ได้แก่

                                            ๑) ห้ามลูกทำความชั่ว
                                            ๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี
                                            ๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา
                                            ๔) หาคู่ครองที่เหมาะสมให้
                                            ๕) มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันสมควร


                                  • หน้าที่บุตรที่พึงปฏิบัติต่อพ่อแม่ คือ สิทธิที่พ่อแม่ พึงได้จากบุตร ได้แก่


                                             ๑) เลี้ยงดูท่าน
                                             ๒) ช่วยทำการงานของท่าน
                                             ๓) ดำรงวงศ์ตระกูล
                                             ๔) ประพฤติตนสมควรรับมรดก
                                             ๕) เมื่อท่านล่วงลับก็ทำบุญอุทิศให้


                      การรักษาสัจจะซึ่งเป็นการทำดีจริงของพ่อแม่ในเชิงปฏิบัติ ก็คือ พ่อแม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อบุตรให้ถูกต้องสมบูรณ์ ตรงต่อความจริงของการเป็นพ่อแม่ ด้วยการเป็นกัลยาณมิตรแก่ลูก เริ่มจากสั่งสอนอบรมให้ลูกรู้จักพิถีพิถันในเรื่อง ๑) ควบคุมโรค ๖ ประจำกาย ๒) รู้ประมาณในการเก็บ การใช้ และการรักษาปัจจัย ๔ ตั้งแต่ยังเล็ก เข้มงวดกวดขันไม่ให้มีนิสัยมักง่ายอย่างเด็ดขาด

 

                      โดยยึดหลักความจริงว่า ต้องให้ลูกรีบรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ๕ และความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติให้เกิดเป็นนิสัยรักความสะอาด และรักความมีระเบียบ ตามสมควรแก่เพศและวัย นับเป็นการช่วย ถนอมรักษาคุณค่าการได้เกิดเป็นมนุษย์ของลูก ซึ่งได้มาแสนยาก เอาไว้ อีกทั้งเพื่อป้องกันใจไม่ให้ชอบหนีเที่ยว เพราะทารกใดหาก เสพคุ้นกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์อันน่าใคร่ น่าพอใจจาก บุคคล สัตว์ สิ่งของต่าง ๆ เมื่อเติบใหญ่ใจก็ยิ่งกวัดแกว่ง ยิ่งดิ้นรน ตะเกียกตะกาย หนีเที่ยวออกนอกตัวไม่รู้จบ หวังว่าจะได้พบความ น่าใคร่ น่าพอใจที่ตนเองคิดว่าเป็นความสุขให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้ง ๆ ที่ก็ ยังไม่รู้ว่าความสุขจริง ๆ เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน


                       ส่วนผู้เป็นบุตร ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ถูกต้องตั้งแต่เล็ก คือ ตั้งใจน้อมรับคำสั่งสอนของพ่อแม่ ด้วยการปฏิบัติตามสัจจะที่มนุษย์ต้องรีบรู้ และสัจจะที่มนุษย์ต้องรีบประพฤติปฏิบัติ ที่พ่อแม่ ทุ่มเทพร่ำสอน พาทำซ้ำแล้วซ้ำอีกทั้งเช้าเย็น เพื่อตนจะได้รู้กระจ่าง ชัดในธรรมชาติความจริงแห่งคุณค่าชีวิตมนุษย์ของตน รวมทั้งของ พ่อแม่ สมาชิกครอบครัว เพื่อนบ้าน ตลอดจนเพื่อนร่วมโลก

 

                      ครั้นบุตรเติบใหญ่ บุตรเองก็ต้องมีสัจจะต่อความดี คือ ต้อง ตระหนักว่า ตนมีหน้าที่ต้องแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ผู้เป็นบุพการีของตน เพราะสิ่งที่ตนตำเหล่านี้คือสิทธิที่พ่อแม่ พึงได้รับโดยชอบธรรมจากตน

 

                     ด้วยการจัดแบ่งเวลาไปเยี่ยมเยียน ช่วยดูแลรักษาสุขภาพ ของท่าน ช่วยแบ่งเบาภารกิจการงานของท่าน ให้เต็มกำลังความรู้ความสามารถ เพื่อให้ท่านปลอดกังวล ได้โอกาสบั้นปลายชีวิต ในการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และทำบุญกุศลต่าง ๆ ให้เต็มอิ่ม เป็นการเตรียมเสบียงบุญไปภพชาติหน้าของท่าน


                    หากตนเองมีครอบครัวมีลูกแล้ว ก็ต้องพาคู่ครองพร้อม ลูกน้อยของตนไปกราบเยี่ยมปู่ย่าตายายของพวกเขาด้วย ซึ่งการพา ลูกน้อยไปด้วยนี้ย่อมเป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ


                            ๑) เป็นการฝึกลูกของตนให้รู้เห็นตั้งแต่เล็กว่า ลูกมีหน้าที่ ต้องปฏิบัติต่อพ่อแม่ของตนเองอย่างไรในอนาคต เพราะการปฏิบัติ เช่นนี้ เป็นการรักษาสัจจะแห่งความเป็นมนุษย์ ลูกทุกคนจะละเลย มิได้


                             ๒) เป็นการสร้างความปลื้มใจและมั่นใจแก่พ่อแม่ตนเองว่า เรา สามารถรักษาชื่อเสียงเกียรติยศวงศ์ตระกูลของท่านไว้ได้แน่นอน เพราะความน่ารักฉลาดเฉลียวของลูกเรา ซึ่งเป็นหลานของท่าน ที่ปรากฏต่อหน้า ย่อมเป็นการยืนยันได้ว่า เราสามารถสร้าง ความเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ตัวเราเอง และถ่ายทอดความเป็น กัลยาณมิตรของท่านที่ได้ให้ไว้แก่เราสู่หลานของท่านได้แล้ว ซึ่งจัดได้ว่า เป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อท่าน และกตเวที ประกาศคุณความดี ความเป็นกัลยาณมิตรของท่านให้โลกรู้ และ ถือเป็นแบบอย่างต่อไปได้เต็มภาคภูมิ

 

๓. นิสัยรักการแสวงหาความจริงและความดี


                ๓. นิสัยรักการแสวงหาความจริงและความดี คือ การตั้งใจ ฝึกฝนตนเองให้สามารถกำจัดโรค ๓ ประจำใจ คือ โรคโลภะ โรคโทสะ และโรคโมหะได้เด็ดขาด โดยเริ่มจากฝึกฝนตนเองให้มีนิสัย รักการทำจริงซึ่งแสดงออกเป็นนิสัยรักการทำตามคำพูด คำสัญญา และคำปฏิญญา กับนิสัยรักการทำตามหน้าที่ ซึ่งเป็นการประพฤติ ปฏิบัติตามความจริงที่บรรพชนผู้รู้ได้บัญญัติสั่งสอนไว้ เพื่อให้เรา เป็นผู้มีสัจจะต่อความดีขั้นต้น ทุกคนจะได้อยู่ร่วมกันบนโลกนี้ อย่างเป็นสุข อันเป็นรากฐานที่จะนำไปสู่นิสัยรักการแสวงหา ความจริงและความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ซึ่งเป็นสัจจะต่อความดีขั้นสูง คือ กำจัดโลภะ โทสะ และโมหะให้หมดจากใจได้เด็ดขาด


               การแสวงหาความจริงและความดี เป็นการทำงาน ๒ ขั้นตอน คือ


               ขั้นตอนที่ ๑ ตั้งใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ และควรเห็น เพื่อหาความรู้จริงในเรื่องนั้น ๆ จากกัลยาณมิตร


               ขั้นตอนที่ ๒ ตั้งใจปฏิบัติฝึกฝนตน ตามความรู้จริงที่ได้ ศึกษามาจากกัลยาณมิตรอย่างไม่ลดละ ให้ตนเองสามารถรักษาใจ ผ่องใสได้เป็นนิจ แล้วรู้เห็นความจริงทั้งปวงได้จริง เหมือนดังที่ บรรพชนผู้รู้ท่านได้ไปรู้ไปเห็นมาก่อนแล้ว เพื่อตนเองจะได้พ้นทุกข์ พบสุขแท้จริง

 

                ในระหว่างแสวงหาความจริงตามขั้นตอนทั้งสอง ผู้ปฏิบัติ ย่อมได้ความดีที่เกิดขึ้นมาตามลำดับ บรรลุความสุข ความเจริญ ตามส่วนแห่งการฝึกฝนตน พร้อมกับหมดความสงสัยลังเลในเรื่อง ชาติหน้ามีจริง ตายแล้วไม่สูญ การเวียนว่ายตายเกิดมีจริง บุญบาป มีจริง นรกสวรรค์มีจริง อริยมรรคมีองค์แปดมีจริง บรรพชนผู้รู้จริง มีจริง พระนิพพานมีจริง ฯลฯ เพื่อเป็นปัญญาติดตัวข้ามภพข้ามชาติ ของเราต่อไป โดยตระหนักแก่ใจเสมอว่า


                      ผู้ตั้งใจแสวงหาความจริง ย่อมเป็นผู้มีธรรมคือ ความดี ความถูกต้องที่ตนปฏิบัติได้ เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง ดังนี้


                               ๑) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้มีศีล ย่อมได้กายและวาจา สะอาด เป็นผู้น่าไว้ใจ ไว้เป็นที่พึ่ง
                               ๒) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้เป็นพหูสูต ย่อมได้ความรู้ ที่ขวนขวายหามา ไว้เป็นที่พึ่ง
                               ๓) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้หมั่นคบหากัลยาณมิตร ย่อม ได้ผู้รู้จริง ดีจริง ไว้เป็นที่พึ่ง
                               ๔) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้เป็นผู้ว่าง่าย ย่อมได้รับฟัง คำสอนจากท่านผู้รู้ได้ลุ่มลึกมากมาย ไว้เป็นที่พึ่ง
                               ๕) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้ขยันช่วยมิตร ย่อมได้ผู้มีใจ โอบอ้อมอารีน่ารักไว้สนับสนุน ไว้เป็นที่พึ่ง

                               ๖) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้ใคร่ในธรรม ย่อมได้นิสัย รักแต่ความถูกต้องดีงาม ไว้เป็นที่พึ่ง
                               ๗) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้หมั่นประกอบความเพียร ย่อม ได้นิสัยมีความพยายามปรับปรุงตนเอง ไว้เป็นที่พึ่ง
                               ๘) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้มีสันโดษ ย่อมมีความพอใจ เฉพาะสิ่งที่ตนมีตนได้ ไว้เป็นที่พึ่ง
                               ๙) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้มีสติ ย่อมได้ความเป็นผู้หมั่น เก็บรักษาใจไว้ในกลางกายตนไม่ให้เผลอไผลเป็นนิจ ไว้เป็นที่

พึ่ง                          ๑๐) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้มีปัญญา ย่อมได้ใจผ่องใส เป็นนิจ ได้รู้เห็นความจริงที่ลึกซึ้ง ไว้เป็นที่พึ่ง


                  นิสัยแสวงหาความจริงและความดีตามเยี่ยงอย่างบรรพชน ผู้รู้ทั้ง ๑๐ ประการดังกล่าว ย่อมทำให้เราสามารถพึ่งความดีของตนเอง อย่างเต็มภาคภูมิ ตามหลักการพึ่งตนเองที่ว่า

 

ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่า จะพึงเป็นที่พึ่งได้
บุคคลมีตน ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง ซึ่งได้โดยยาก

 

สัจจะต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

พระเผด็จ ทตฺตชีโว

คณะวิพากษ์ คณะจัดทำต้นฉบับและหนังสือ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.043853398164113 Mins