ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

วันที่ 07 มิย. พ.ศ.2564

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก


อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ* โส ภะคะวา,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ;

*บางฉบับเป็น วัจจะ ที่ถูกตามบาลีควรเป็น วะตะ

อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุธโธ วะตะ โส ภะคะวา,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ;

อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ;

อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว ;

อิติปิ โส ภะคะวา โสกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก ;

อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ;

อะระหันตัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ด้วยเศียรเกล้า ;

สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง ;

สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบด้วยเศียรเกล้า ;

วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้ และความประพฤติว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ;

วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้ และความประพฤติด้วยเศียรเกล้า ;

สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ;

สุคะตัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้วด้วยเศียรเกล้า ;

โลกะวิทุง* สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ;

*บางแห่งเป็น โลกะวิทัง ตามหลักไวยากรณ์เป็น โลกะวิทุง ศัพท์เดิมว่า โลกะวิทู

โลกะวิทุง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า ;

อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมไม่มีใครยิ่งกว่า ;

อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ;

อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ;

อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ;

อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยมไม่มีใครยิ่งกว่า ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ;

อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า ;

ปุริสะทัมมะสาระถิง* สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ;

*ปุริสะทัมมะสาระถิง ในที่นี้ประกอบศัพท์ตามหลักไวยากรณ์บางแห่งเป็น ปุริสะทัมมะสาระถิ

ปุริสะทัมมะสาระถิง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถี ผู้ฝึกบุรุษด้วยเศียรเกล้า ;

สัตถารัง** เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ;

**สัตถารัง ในที่นี้ประกอบศัพท์ตามหลักไวยากรณ์บางแห่งเป็น สัตถา

สัตถารัง เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ด้วยเศียรเกล้า ;

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ว่าเป็นที่พึ่ง ที่กำจัดภัยได้จริง ;

พุทธัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยเศียรเกล้า ;

อิติปิ โส ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น กอปรด้วยดังว่ามานี้แล ;

อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้จะมีรูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ คือไม่เที่ยงแท้ แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี ;

อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้จะมีเวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ คือไม่เที่ยงแท้ แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี ;

อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมีจะ สัมปันโน,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้จะมีสัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ คือไม่เที่ยงแท้ แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี ;

อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้จะมีสังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ คือไม่เที่ยงแท้ แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี ;

อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะสักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้จะมีวิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ คือไม่เที่ยงแท้ แต่ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี ;

อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณะ*สัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในปฐวีธาตุ ;

*ญาณ คือการหยั่งรู้ มาคู่กับสมาธิ มีความหมายเท่ากับ ปัญญา

อิติปิ โส ภะคะวา อาโปธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในอาโปธาตุ ;

อิติปิ โส ภะคะวา เตโชธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในเตโชธาตุ ;

อิติปิ โส ภะคะวา วาโยธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรูปในวาโยธาตุ ;

อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในอากาสธาตุ ;

อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในวิญญาณธาตุ ;

อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในจักรวาลธาตุ ;

อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ;

อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ;

อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นยามา ;

อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นดุสิต ;

อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นนิมมานรดี ;

อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในธาตุอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ;

อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือการหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในเทวโลกชั้นกามาวจร ;

อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในพรหมโลกชั้นรูปาวจร ;

อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในพรหมโลกชั้นอรูปาวจร ;

อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปโนธาตุที่เป็นโลกุตตระ คืออยู่เหนือโลกทั้งปวง ;

อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในปฐมฌาน ;

อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรูในธาตุที่เป็นไปในทุติยฌาน ;

อิติปิ โส ภะคะวา ฅะติยะณานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในตติยฌาน ;

อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในจตุตถฌาน ;

อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุที่เป็นไปในปัญจมฌาน ;

อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คืออากาสานัญจายตนะ ;

อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือวิญญาณัญจายตนะ ;

อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คืออากิญจัญญายตนะ ;

อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือเนวสัญญานาสัญญายตนะ ;

อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มิพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุคือพระโสดาปัตติมรรค ;

อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุคือพระสกิทาคามิมรรค ;

อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มิพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุคือพระอนาคามิมรรค ;

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตฅะมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุคือพระอรหัตตมรรค ;

อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ คือพระโสดาปัตติผล ;

อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ คือพระสกิทาคามิผล ;

อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ คือพระอนาคามิผล ;

อิติปิ โส ภะคะวา ยะระหัตตะผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยสมาธิและปัญญา คือความหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นธาตุ คือพระอรหัตตผล ;

กุสะลา ธัมมา,
ธรรมะฝ่ายกุศล ;

อิติปิ โส ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระคุณดังพรรณนามานี้แล ;

อะอา,
(มนต์คาถา) ;

ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ;

ชัมพูทีปัญจะอิสสะโร กุสะลา ธัมมา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสระแห่งชมพูทวีป ธรรมฝ่ายกุศล เป็นใหญ่เหนือชมพูทวีป ;

นะโม พุทธายะ,
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ;

นะโม ธัมมายะ,
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ;

นะโม สังฆายะ,
ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ;

ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง,
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ;

อา ปา มะ จุ ปะ,
หัวใจพระวินัยปิฎก ;

ที มะ สัง อัง ขุ,
หัวใจพระสุตตันตปิฎก ;

สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ,
หัวใจพระอภิธรรมปิฎก ;

อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ โส,
(มนต์คาถา) ;

โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ,
หัวใจโลกุตตรธรรม คือ มรรคสี่ ผลสี่ นิพพานหนึ่ง ;

เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว,
หัวใจพระเจ้าสิบชาติแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ ;

อะ สัม วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ,
หัวใจพระพุทธคุณเก้า (นวหรคุณ) ;

อิ สวา สุ สุ สวา อิ,
หัวใจคุณของพระรัตนตรัย ;

กุสะลา ธัมมา จิฅติ วิอัตถิ,
ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยวิจิตรพิสดาร ;

อิติจ โส ภะคะวา อะระหัง,
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ;

อะอา,
(มนค์คาถา) ;

ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ;

สา โพธิ ปัญจะ อิสะโร ธัมมา,
(มนต์คาถา) ;

กุสะลา ธัมมา,
ธรรมะฝ่ายกุศล ;

นันทะวิวังโก,
(มนต์คาถา) ;

อิติ สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วแล ;

สุ คะ ลา โน,
(มนต์คาถา) ;

ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ;

จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา,
ธรรมะฝ่ายกุศล เป็นใหญ่เหนือเทวโลกชั้นจาตุมมหาราช ;

อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน,
พระองต์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ;

อุ อุ,
(มนต์คาถา) ;

ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ;

ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา,
ธรรมะฝ่ายกุศล เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ;

นันทะ ปัญจะ,
(มนต์คาถา) ;

สุคะโต โลกะวิทู,
พระพุทธเจ้า ผู้เสด็จไปดีแล้ว ผู้รู้แจ้งโลก ;

มะหาเอโอ,
(มนต์คาถา) ;

ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ;

ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา,
ธรรมะฝ่ายกุศล เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นยามา ;

พ๎รัห๎มะสัททะ ปัญจะ สัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร,
พระโพธิสัตว์ห้า (และ) บารมีของพระโพธิสัตว์ ยอดเยี่ยมกว่าเสียงแห่งพระพรหม ;

ยะมะกะขะ,
(มนต์คาถา) ;

ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต :

ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา รมมา,
ธรรมะฝ่ายกุศล เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นดุสิต ;

ปุ ยะ ปะ กะ,
(มนต์คาถา) ;

ปุริสะทัมมะสาระถิ,
พระพุทธเจ้า พระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบรุษ ;

ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ;

นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา,
ธรรมะฝ่ายกุศล เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ;

เหตุโปวะ,
(มนค์คาถา) ;

สัตถา เพวะมะนุสสานัง,
พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ;

ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ;

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา,
ธรรมะฝ่ายกุศล เป็นใหญ่เหนือสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ;

สังขาระขันโธ,
ขันธ์ที่เกิดจากการปรุงแต่ง ;

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา*,
เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ;

*ไตรลักษณ์ แปลความตามที่เรียงลำดับโดยทั่วไป คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในที่นี้เรียง ทุกขัง ก่อน

รูปะขันโธ พุทธะปะผะ,
แม้รูปขันธ์ของพระพุทธเจ้า (ก็ไม่เที่ยงแปรเปลี่ยนไปและเป็นอนัตตา) ;

ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต ;

พ๎รัห๎มา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา,
ธรรมะฝ่ายกุศล เป็นใหญ่กว่าพระพรหม ;

นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา,
แม้ธรรมะที่กล่าวถึงความไม่มีเป็นปัจจัยพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ ไม่มียกเว้น ;

ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ;

นะโม พุทธัสสะ,
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ;

นะโม ธัมมัสสะ,
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ;

นะโม สังฆัสสะ,
ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ;

พุทธิลา โภกะลา กะระกะนา,
(มนต์คาถา) ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด ;

หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
(มนต์คาถา).

นะโม พุทธัสสะ,
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ;

นะโม ธัมมัสสะ,
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ;

นะโม สังฆัสสะ,
ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ;

วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ,
(มนต์คาถา) ;

มัยหัง สุวัตถิ โหตุ,
ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด ;

หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ,
(มนต์คาถา) ;

อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พ๎รัห๎มะสาวัง มะหาพ๎รัห๎มะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสานัง อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง, 
(มนต์คาถาจากพระคาถามหาทิพยมนต์) ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.

สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตซัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สิลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติ เทสะนัง,
(มนต์คาถาจากพระคาถามหาทิพยมนต์) ;

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด ;

หุลู หุลู หุลู สะวาพายะ. 
(มนต์คาถา).

นะโม พุทธัสสะ,
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ;

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ,
รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิโช่ตัวตนของเราจริง ;

นะโม อิติปิ โส ภะคะวา,
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ;

นะโม ธัมมัสสะ,
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ;

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ,
รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ;

นะโม ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ;

นะโม สังฆัสสะ,
ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ;

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ,
รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ;

นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ;

วาหะปะริตตัง,
พระปริตรที่นำสิ่งดีงามมาให้ ;

นะโม พุทธายะ,
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ;

มะอะอุ,
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ;

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะ ตัสสะ หาโย,
ตราบใดที่มีความเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และความมิใช่ตัวตนของเราจริงมีอยู่เช่นนี้ ทุกสิ่งก็มีความสิ้นไปและเสื่อมไปเป็นธรรมดาอยู่ตราบนั้น ;

โม นะ อุอะมะ,
ขอนอบน้อมพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ;

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา,
ความเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ;

อุ อะ มะ อะ วันทา,
ขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ;
 
นะโม พุทธายะ,

ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ;

นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ ณะ,
(มนต์คาถา) ;

อา ระ ปะ ขุท ธัง,
(มนต์คาถา) ;

มะ อะ อุ,
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ;

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา.
ความเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิโช่ตัวตนของเราจริง.
 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.031371283531189 Mins