วิธีบรรพชาอุปสมบทแบบเอสาหัง
กุลบุตรผู้มีศรัทธาจะบรรพชาอุปสมบท พึงรับผ้าไตรอุ้มประนมมือ เข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ วางผ้าไตรไว้ข้างลำตัวด้านซ้ายรับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ แล้วกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วนั่งคุกเข่าอุ้มผ้าไตรประนมมือเปล่งวาจาขอบรรพชา หยุดตามจุดจุลภาค ดังนี้
คำขอบรรพชา
เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง.
ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง.
ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง.
อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะมุกัมปัง อุปาทายะ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะมุกัมปัง อุปาทายะ.
(ถ้าในกรณีที่บวชเป็นสามเณรอย่างเดียว ไม่บวชพระ ไม่ต้องกล่าวคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง)
ลำดับนั้น พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้ชอบวชวางไว้ตรงหน้าตัก แล้วกล่าวสอนถึงพระรัตนตรัยเป็นต้น และบอก ตจปัญจกกัมมัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลมและปฏิโลมดังนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ. (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา. (ปฏิโลม)
เสร็จแล้วพระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ แล้วบอกให้ออกไปครองไตรจีวร ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ หน นั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขอสรณะ และศีล ดังนี้
อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ลำดับนั้น พระอาจารย์กล่าวคำนมัลการนำให้ผู้บวชว่าตามไปดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ดัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า เอวัง วะเทหิ.หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ. พึงรับว่า อามะ ภันเต.
ลำดับนั้น ท่านจะกล่าวคำรับไตรสรณคมน์นำ ให้ว่าตามไปทีละตอน ดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
จบแล้ว เมื่อท่านบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง.
พึงรับว่า อามะ ภันเต.
ลำดับนั้นพระอาจารย์จะบอกให้รู้ว่า การบรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยสรณคมน์เพียงเท่านี้ ทีนั้นพึงสมาทานศีล ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไป ดังนี้
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี.
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี.
๓. อะพ๎รัพ๎มะจะริยา เวระมะณี.
๔. มุสาวาทา เวระมะณี.
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี.
๖. วิกาละโภชนา เวระมะณี.
๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี.
๘. มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานาเวระมะณี.
๙. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี.
๑๐. ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี.
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
การบวชเป็นสามเณรจบแต่เพียงเท่านี้ ถ้าจะบวชพระต่อให้ปฏิบัติดังนี้ สามเณรพึงรับบาตร อุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่าน แล้วกราบ ๓ หน นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอนิสสัย ว่าดังนี้
คำขอนิสสัย
อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ. (ว่า ๓ หน)
อุปัชฌาย์ว่า พึงรับว่า
โอปายิกัง. สาธุ ภันเต.
ปะฏิรูปัง. สาธุ ภันเต.
ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ. สาธุ กันเต.
แต่นั้นสามเณรพึงกล่าวคำฝากตัวกับพระอุปัชฌาย์ ดังนี้
อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร. (ว่า ๓ หน)
เสร็จแล้วกราบลง ๓ หน พระอุปัชฌาย์กล่าวสอนสามเณรไปตามระเบียบแล้ว พระอาจารย์ผู้เป็นกรรมวาจานำสายบาตรคล้องตัวสามเณรแล้วบอกบาตรและจีวร พึงรับไปทีละตอน ดังนี้
คำบอกบาตรจีวร คำรับ
๑. อะยันเต ปัตโต. อามะ ภันเต.
๒. อะยัง สังฆาฏิ. อามะ ภันเต.
๓. อะยัง อุตตะราสังโค. อามะ ภันเต.
๔. อะยัง อันตะระวาสะโก. อามะ ภันเต.
ต่อจากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกด้วยคำบาลีว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ. พึงคุกเข่าถอยหลังแล้วลุกเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ พระอาจารย์ท่านสวดสมมติ ตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรายิกธรรม พึงรับว่า
นัตถิ ภันเต. ๕ หน อามะ ภันเต. ๘ หน ดังนี้
คำถาม คำตอบ
๑. กุฏฐัง. นัตถิ ภันเต.
๒. คัณโฑ. นัตถิ ภันเต.
๓. กิลาโส. นัตถิ ภันเต.
๔. โสโส. นัตถิ ภันเต.
๕. อะปะมาโร. นัตถิ ภันเต.
๑. มะนุสโสสิ. อามะ ภันเต.
๒. ปุริโสสิ. อามะ ภันเต.
๓. ภุชิสโสสิ. อามะ ภันเต.
๔. อะนะโณสิ. อามะ ภันเต.
๕. นะสิ ราซะภะโฏ. อามะ ภันเต.
๖. อะนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ. อามะ ภันเต.
๗. ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ. อามะ ภันเต.
๘. ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง. อามะ ภันเต.
กินนาโมสิ. อะหัง ภันเต..
นามะ.
โก นามะ เต อุปัชฌาโย. อุปัชฌาโย เม ภันเต
อายัส๎มา.....นามะ.
ช่องที่.....ไว้ พระอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ท่านจะตั้งชื่อของผู้บวชที่เป็นภาษาบาลี โดยเขียนลงในช่องไว้ก่อนวันบวช และช่องที่.....ไว้ในช่องชื่อของพระอุปัชฌาย์ ก็เช่นเดียวกัน ให้กรอกชื่อของพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านจะบอกและกรอกให้ไว้ก่อนวันบวช
ครั้นสวดสอนซ้อมแล้ว ท่านกลับเข้ามาสวดขอเรียกผู้บวชเข้ามา ผู้บวชพึงเข้ามาในประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ หน แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบท ดังนี้
คำขออุปสมบท
สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มังภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ในลำดับนั้น พระอุปัชฌาย์กล่าวเผดียงสงฆ์แล้ว พระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวขพึงรับว่า นัตถิ ภันเต. ๕ หน อามะ ภันเต. ๘ หน ตอบซื่อตนและชื่ออุปัชฌาย์เหมือนที่กล่าวมา จากนั้นพึงนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ
ครั้นจบแล้วท่านเอาบาตรออกจากตัว แล้วพึงกราบ ๓ หน นั่งพับเพียบประนมมือฟังพระอุปัชฌาย์ บอกอนุศาสน์ไปจนจบแล้วรับว่า อามะ ภันเต. แล้วกราบ ๓ หน ถวายไทยทานเสร็จแล้วพระสงฆ์สวดอนุโมทนาพึงกรวดนั้า รับพรเป็นอันเสร็จพิธี
จบวิธีอุปสมบทแบบเอสาหัง