วิธีบรรพชาอุปสมบทแบบอุกาสะ
หลังจากถวายเครื่องสักการะแก่พระอุปัชฌาย์ กราบ ๓ หน แล้วให้อุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นโดยความเคารพเปล่งวาจาขอบรรพชา หยุดตามจุดจุลภาค ดังนี้
คำขอบรรพชา
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
อุกาสะ การุญญัง กัต๎วา, ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต, เสร็จแล้วนั่งลงคุกเข่าประนมมือว่ากล่าวต่อไป
อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ.
สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง กาสาวัง คะเหต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ. คำที่ขีดเส้นใต้ให้ว่า ๓ จบ เสร็จแล้วพระอุปัชฌาย์จะรับผ้าไตรแล้วว่าต่อไป
สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, เอตัง กาสาวัง ทัต๎วา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ. (ว่า ๓ จบ)
ลำดับนั้น พระอุปัชฌาย์จะให้โอวาทและบอกตจปัญจกกัมมัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท โดยว่าตามลำดับและทวนลำดับดังนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา.
จากนั้น พระอุปัชฌาย์จะดึงอังสะออกจากไตรสวมเฉวียงบ่าให้ แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าไตรจีวร ครั้นเสร็จแล้วเข้ามารับเครื่องสักการะ เข้าไปหาพระอาจารย์ ประเคนถวายแด่ท่านแล้วกราบลง ๓ หน ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีล ดังนี้
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะทุโมทามิ.
อุกาสะ การุญญัง กัต๎วา, ติสะระเณนะ สะหะ, สีลานิ เทถะ เม ภันเต,
เสร็จแล้วนั่งลงคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังด่อไปนี้
อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
ลำดับนั้น พระอาจารย์จะกล่าวคำนมัสการนำ ให้ผู้ขอบรรพชาว่าตาม ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า เอวัง วะเทหิ. หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ. พึงรับว่า อามะ ภันเต.
ครั้นแล้วท่านจะนำให้เปล่งวาจารับสรณคมน์ พึงว่าตามไปทีละวรรค ดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
พระอาจารย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง.
พึงรับว่า อามะ ภันเต.
ลำดับนั้นพระอาจารย์จะบอกให้รู้ว่า การบรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยสรณคมน์เพียงเท่านี้ ต่อแต่นั้นพึงสมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการ ว่าตามท่านไป ดังนี้
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๓. อะพ๎รัห๎มะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๘. มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๙. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
๑๐. ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
จบลงแล้วกราบลง ๑ หน ยืนขึ้นกล่าวคำว่า
วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เมกันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
เสร็จแล้วคุกเข่ากราบ ๓ หน
ลำดับต่อไป สามเณรพึงรับเอาบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบลง ๓ หน ยืนประนมมือกล่าวคำขอนิสสัย ดังนี้
คำขอนิสสัย
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
อุกาสะ การุญญัง กัต๎วา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต,
เสร็จแล้วนั่งคุกเข่ากล่าวต่อไปว่า
อะทัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะทัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ.
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ.
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ.
เมื่อพระอุปัชฌาย์ว่า โอปายิกัง, ปะฏิรูปัง, ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ, แล้วสามเณรพึงกล่าวรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ. เป็นตอน ๆ จนครบ ๓ หน แล้วกล่าวต่อไปว่า
อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะภาโร. (๓ จบ)
แล้วกราบลง ๑ หน ยืนขึ้นกล่าวต่อไปว่า
วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง หาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
จบแล้วคุกเข่ากราบ ๓ หน
(ตั้งแต่ อุปัชฌาโย ฯลฯ เถรัสสะ ภาโร. ๓ วรรคนี้ พระอุปัชฌาย์บางท่านให้ว่ารวดเดียวตามที่กล่าวมาก็มี ให้ว่าเป็นตอน ๆ ไปดังนี้ คือ
เมื่อสามเณรว่า อุปัชฌาโย เม ภันเต โทหิ. ๓ หน
แล้วพระอุปัชฌาย์กล่าวรับว่า โอปายิกัง, ปะฏิรูปัง, ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ. บทใดบทหนึ่งพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ. ทุกบทไป แล้วผู้อุปสมบทพึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่านว่า อัชชะตัคเคทานิ ฯลฯ ภาโร. ๓ หน ก็มี)
ลำดับนั้น พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์ เอาบาตรมีสายโยกคล้องตัวผู้อุปสมบท แล้วบอกบาตร และจีวร ดังนี้
ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตัพโพ, อุปัชฌัง คาหาเปต๎วา ปัตตะจีวะรัง อาจิกขิตัพพัง,
คำบอกบาตรจีวร ผู้บวชรับว่า
อะยันเต ปัตโต. อามะ ภันเต.
อะยัง สังฆาฏิ. อามะ ภันเต.
อะยัง อุตตะราสังโค. อามะ ภันเต.
อะยัง อันตะระวาสะโก. อามะ ภันเต.
ต่อจากนั้น ท่านจะบอกให้ออกไปยืนข้างนอกด้วยคำว่า...
คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ.
ผู้อุปสมบทพึงคุกเข่าถอยหลังออก แล้วลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ พระอาจารย์ท่านสวดสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรายิกธรรม พึงรับว่า นัดถิ ภันเต.
๕ หน, อามะ ภันเต. ๘ หน ดังนี้
คำถาม คำตอบ
๑. กุฏฐัง. นัตถิ ภันเต.
๒. คัณโฑ. นัตถิ ภันเต.
๓. กิลาโส. นัตถิ ภันเต.
๔. โสโส. นัตถิ ภันเต.
๕. อะปะมาโร. นัตถิ ภันเต.
๑. มะนุสโสสิ. อามะ ภันเต.
๒. ปุริโสสิ. อามะ ภันเต.
๓. ภุชิสโสสิ. อามะ ภันเต.
๔. อะนะโณสิ. อามะ ภันเต.
๕. นะสิ ราชะภะโฏ. อามะ ภันเต.
๖. อะนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ. อามะ ภันเต.
๗. ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ. อามะ ภันเต.
๘. ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง. อามะ ภันเต.
กินนาโมสิ. อะหัง ภันเต....
นามะ.
โก นามะ เต อุปัชฌาโย. อุปัชฌาโย เม ภันเต
อายัส๎มา ........ นามะ.
ช่องที่.......ไว้ช่วงแรกนั้น ให้บอกชื่อบาลีของตน ซึ่งพระอุป้ซฌาย์ หรืออาจารย์ท่านกรอกไว้ให้ก่อนวันบวช
และช่องที่......ไว้ช่วงที่สอง ให้บอกชื่อภาษาบาลีของพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านจะบอกและกรอกให้ไว้ก่อนวันบวชแล้วเช่นเดียวกัน เสร็จแล้ว พระอาจารย์ท่านจะกลับเข้ามาสวดขอเรียกผู้บวชเข้าไปในประชุมสงฆ์ อุปสัมปทาเปกขะพึงเข้าไป กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ หน แล้วนั่งคุกเช่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบท ดังนี้
คำขออุปสมบท
สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มังภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะส้มปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
เสร็จแล้ว พระอุปัชฌาย์จะกล่าวคำเผดียงสงฆ์แล้ว พระอาจารย์ สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชพึงรับว่า นัตถิ ภันเต. ๕ หน, อามะ ภันเต. ๘ หน บอกชื่อตนและชื่อพระอุปัชฌาย์ อย่างที่กล่าวมาแล้ว
จากนั้นพึงนั่งฟังพระอาจารย์สวดกรรมวาจาอุปสมบทจบ แล้วท่านนำบาตรออกจากตัวพึงกราบลง ๓ หน จากนั้นนั่งพับเพียบประนมมือ ฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วรับว่า อามะ ภันเต. เป็นเสร็จพิธีอุปสมบท กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ หน
ถ้ามีเครื่องไทยทานถวายก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับเสร็จแล้ว คอยฟังพระท่านอนุโมทนา
พระอนุโมทนาขึ้น ยถา พึงกรวดน้ำตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ท่านผู้มีพระคุณ เมื่อพระว่า สัพพีติโย เทนํ้าให้หมด ประนมมือฟังอนุโมทนาไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี
จบพิธีอุปสมบทแบบอุกาสะ.