ทำวัตรเย็น
เมื่อประธานจุดธูปเทียน พึงนั่งคุกเข่าประนมมือพร้อมกัน ประธานนำ ว่าตามพร้อมกัน
บทนำทำวัตรเย็น
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, เป็นพระอรหันค์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้ใดยพระองค์เอง ;
ส๎วากฃาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว ;
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว ;
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูซะยามะ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่ง, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร ;
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ;
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา,
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้าอันเป็นชนรุ่นหลัง ;
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะอันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้ ;
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ.
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.
(กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไวัดีแล้ว ;
ธัมมัง นะมัสสามิ.
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ;
สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.
(กราบ)
ปุพพภาคนมการ
(นำ) (หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.)
(รับ) นะโม หัสสะ ภะคะวะโต,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ;
อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(๓ ครั้ง)
พุทธานุสสติ
(นำ) (หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งความตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าเถิด.)
(รับ) ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า :-
อิติปิ โส ภะคะวา, เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ;
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ;
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ;
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ;
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ;
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ;
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่ม ผู้เบิกบานด้วยธรรม ;
ภะคะวาติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.
พุทธาภิคีติ
(นำ) (หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด.)
(รับ) พุทธ๎วาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น ;
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์ ;
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน ;
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง.
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย ;
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า ;
พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสี*) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า ;
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ;
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า ;
วันทันโตหัง (ตีหัง*) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า ;
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า ;
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา ;
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ*) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้ ;
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(กราบหมอบลงว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ;
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า ;
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น ;
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.
ธัมมานุสสติ
(นำ) (หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด.)
(รับ) ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ;
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ;
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ;
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ;
โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
ธัมมาภิคีติ
(นำ) (หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถาพรรณนาเฉพาะพระธรรมเถิด.)
(รับ) ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณ คือ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น ;
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน ;
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสูโลกที่ชั่ว ;
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระซัมมะเมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด ;
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย ;
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สอง ด้วยเศียรเกล้า ;
ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสี*) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า ;
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ;
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระธรรม ;
วันทันโตหัง (ตีหัง*) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม ;
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า ;
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา ;
ธัมนัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ*) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้ ;
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวง อย่าไดัมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(กราบหมอบลงว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ;
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม ;
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น ;
กาสันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป.
สังฆานุสสติ
(นำ) (หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งความตามระลึกลึงพระสงฆ์เถิด.)
(รับ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ;
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ;
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ* ;
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ;
อาหุเนยโย**, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ;
ปาหุเนยโย**, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ;
ทักขิเณยโย**, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ;
อัญชะลีกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญขลี ;
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. เป็นเนี้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
สังฆาภิคีติ
(นำ) (หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถาพรรณนาเฉพาะพระสงฆ์เถิด.)
(รับ) สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดีเป็นต้น ;
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ, เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก ;
สิลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต, มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น อันบวร ;
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง, ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี ;
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย ;
ตะติยามุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง, ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า ;
สังฆัสสาหัส๎มิ ทาโส (ทาสี*) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร, ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า ;
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม, พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ชึ๋งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ;
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์ ;
วันทันโตหัง (ตีหัง*) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์ ;
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า ;
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน, ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา ;
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (มานายะ*) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ, ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้ ;
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา. อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(กราบหมอบลงว่า)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ;
สังโฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระสงฆ์ ;
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น ;
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป.