บทสวดมนต์ หลังทำวัตรเช้า

วันที่ 28 ตค. พ.ศ.2563

บทสวดมนต์ หลังทำวัตรเช้า ปุพพภาคะนะมะการะ

บทสวดมนต์ หลังทำวัตรเช้า
ปุพพภาคะนะมะการะ

(นำ) (หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย, ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น, แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.)
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ;
อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ; 
สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(ว่า ๓ ครั้ง)

 

สรณคมนปาฐะ
บทว่าด้วยการอ้างพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
(นำ) (หันหะ มะยัง ติสะระณะคะมะนะปาฐัง ภะณามะ เส.)
 
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย, จงกล่าวคาถาเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยทั้ง ๓ เถิด.)
(รับ) พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ;
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ;
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ;
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ;
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ;
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ;
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ;
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ;
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ. แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก.

 

อัฏฐสิกขาปทปาฐะ บทว่าด้วยศีล ๘ ข้อ

อัฏฐสิกขาปทปาฐะ
บทว่าด้วยศีล ๘ ข้อ
(นำ) (หันทะ มะยัง อัฏฐะสิกขาปะทะปาฐัง ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย, จงกล่าวคาถาแสดงสิกขาบท ๘ ประการเถิด.)
(รับ) ปาณาติปาตา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต ;
อะทินนาทานา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว ;
อะพ๎รัห๎มะจะริยา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติอันมิใช่พรหมจรรย์ ;
มุสาวาทา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง ;
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการดื่มสุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท ;
วิกาละโภชะนา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ;
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฟ้อนรำ, การขับเพลง, การดนตรีการดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล, การทัดทรงสวมใส่, การประดับ การตกแต่งตน, ด้วยพวงมาลา ด้วยเครื่องหอม และเครื่องผัดทา ;
อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการนั่งนอนบนที่นอนสูง และที่นอนใหญ่.

 

631028_03.jpg

ท๎วัตติงสาการปาฐะ
บทนี้ใช้สวดพิจารณาส่วนประกอบของร่างกาย ๓๒ ส่วน
(นำ) (หันทะ มะยัง ท๎วัฅติงสาการะปาฐัง ภะณามะ เส.)
 
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย, จงกล่าวคาถาแสดงอาการ ๓๒ ใน ร่างกายเถิด.)
(รับ) อะยัง โข เม กาโย, กายของเรานี้แล ; 
อุทธัง ปาทะตะลา,
เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา ;
อะโธ เกสะมัตถะกา, เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ; 
ตะจะปะริยันโต, มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ;
ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน, เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ;
อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย, มีอยู่โนกายนี้ :- 
เกสา, ผมทั้งหลาย ;
โลมา, ขนทั้งหลาย ;
นะขา, เล็บทั้งหลาย ;
ทันตา, ฟันทั้งหลาย ;
ตะโจ, หนัง ;
มังสัง, เนื้อ ;
นะหารู, เอ็นทั้งหลาย ;
อัฏฐี, กระดูกทั้งหลาย
อัฏฐิมิญชัง, เยื่อในกระดูก ;
วักกัง, ม้าม ;
หะทะยัง, หัวใจ ;
ยะกะนัง, ตับ ;
กิโลมะกัง, พังผืด ;
ปิหะกัง, ไต ;
ปัปผาสัง, ปอด ;
อันตัง, ไส้ใหญ่ ;
อันตะคุณัง, ไส้น้อย ;
อุทะริยัง, อาหารใหม่ ;
กะรีสัง, อาหารเก่า;
ปิตตัง, นํ้าดี ;
เสมหัง, นํ้าเสลด ;
ปุพโพ, นํ้าหนอง ;
โลหิตัง, นํ้าเลือด ;
เสโท, นํ้าเหงื่อ ;
เมโท, น้ำมันขัน ;
อัสสุ, น้ำตา ;
วะสา, น้ำมันเหลว ;
เขโฬ, น้ำลาย ;
สิงฆาณิกา, น้ำมูก ;
ละสิกา, น้ำไขข้อ ;
มุตตัง, น้ำมูตร ;
มัตถะเก มัตถะลุงคัง, เยื่อมันสมองในกะโหลกศีรษะ ;
เอวะมะยัง เม กาโย, กายของเรานี้อย่างนี้ ;
อุทธัง ปาทะตะลา, เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา ;
อะโธ เกสะมัตถะกา, เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ;
ตะจะปะริยันโต, มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ;
ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน. เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ อย่างนี้แล.

 

อภิณหปัจจเวกขณะ ๕
การพิจารณาเนือง ๆ ถึงความแก่, เจ็บ, ตาย, ความพลัดพราก และกรรมเพื่อไม่ให้ประมาทในชีวิต
(นำ) (หันทะ มะยัง อะภิณหะปิจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย, มาสวดบทอภิณหปัจจเวกขณปาฐะกันเถิด.)
(รับ) ชะราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต, เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ;
พ๎ยาธิรัมโมมหิ พ๎ยาธิง อะนะตีโต, เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ;
มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต, เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ;
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว, เราจะละเว้นเป็นต่าง ๆ คือว่าจะพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง ;
กัมมัสสะโกมหิ, เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน ; 
กัมมะทายาโท, เราเป็นผู้รับผลของกรรม ;
กัมมะโยนิ, เรามีกรรมเป็นกำเนิด ; 
กัมมะพันธุ, เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ ;
กัมมะปะฏิสะระโณ, เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ; 
ยัง กัมมัง กะริสสามิ, เราจักทำกรรมอันใดไว้ ;
กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา, ดีหรือชั่วก็ตาม ;
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ, เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นไป ;
เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง. เราทั้งหลายพึงพิจารณาอย่างนี้ทุกวัน ๆ เทอญ.

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.020851067701976 Mins