กรวดน้ำตอนเช้า
สัพพปัตติทานคาถา
บทนี้ใช้สวดเพื่ออุทิศบุญกุศลให้สรรพสัตว์ มีส่วนได้ทั่วหน้ากัน
(นำ) (หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคาถาอุทิศส่วนบุญให้สรรพสัตว์กันเถิด)
(รับ) ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม, เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาประมาณะกา,
สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ, จงมีส่วนแห่งบุญที่ ข้าพเจ้าได้ทําในบัดนี้, และแห่งบุญอื่นที่ได้ทําไว้ก่อนแล้ว ;
เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย, ทิฏฐา เม จาป๎ยะทิฏฐา วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน,
คือจะเป็นสัตว์เหล่าใด, ซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญคุณ เช่น มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นต้นก็ดี, ที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว หรือไม่ได้เห็นก็ดี, สัตว์เหล่าอื่นที่เป็นกลาง ๆ หรือเป็นคู่เวรกันก็ดี ;
สัตตา ติฏฐนติ โลกัส๎มิง เต ภุมมา จะตุโยนิกา, ปัญเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว,
สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในโลก, อยู่ในภูมิทั้งสาม, อยู่ในกําเนิด ทั้งสี่, มีขันธ์ห้าขันธ์ มีขันธ์ขันธ์เดียว มีขันธ์สี่ขันธ์, กําลังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ก็ดี :
ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง, เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง,
สัตว์เหล่าใดรู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว, สัตว์เหล่านั้น จง อนุโมทนาเองเถิด, ส่วนสัตว์เหล่าใดยังไม่รู้ส่วนบุญนี้, ขอเทวดาทั้งหลายจงบอกสัตว์เหล่านั้นให้รู้ ;
มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะเหตุนา, สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน, เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา.
เพราะเหตุที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว, สัตว์ ทั้งหลายทั้งปวง, จงเป็นผู้ไม่มีเวร อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ, จงถึงบท อันเกษม กล่าวคือพระนิพพาน, ความปรารถนาที่ดีงามของ สัตว์เหล่านั้น จงสําเร็จเถิด.
ปัฏฐนฐปนคาถา
บทนี้ใช้สวดเพื่อตั้งความปรารถนาให้ประสบกับสิ่งที่ดีงามในชีวิต จนถึงพระนิพพาน
(นำ) (หันทะ มะยัง ปัฏฐะนะฐะปะนะคาถาโย ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคาถาว่าด้วยการตั้งความ ปรารถนากันเถิด)
(รับ) ยันทานิ เม กะตัง ปุญญัง เตนาเนนุททิเสนะ จะ, ขิปปัง สัจฉิกะเรยยาหัง ธัมเม โลกุตตะเร นะวะ,
บุญใดที่ข้าพเจ้าได้ทําในบัดนี้, เพราะบุญนั้น และการอุทิศ แผ่ส่วนบุญนั้น, ขอให้ข้าพเจ้าทําให้แจ้งโลกุตตรธรรมเก้าในทันที ;
สะเจ ตาวะ อะภัพโพหัง สังสาเร ปะนะ สังสะรัง,
ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้อาภัพอยู่ ยังต้องท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร ;
นิยะโต โพธิสัตโต วะ สัมพุทเธนะ วิยากะโต, นาฏฐาระสะปิ อาภัพพะ ฐานานิ ปาปูเณยยะหัง,
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นเหมือนโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้ ได้รับพยากรณ์ แต่พระพุทธเจ้าแล้ว, ไม่ถึงฐานะแห่งความอาภัพ ๑๘ อย่าง ;
ปัญจะเวรานิ วัชเชยยัง ระเมยยัง สีละรักขะเน, ปัญจะกาเม อะลัคโคหัง วัชเชยยัง กามะปังกะโต,
ข้าพเจ้าจึงเว้นจากเวรทั้งห้า, พึงยินดีในการรักษาศีล, ไม่เกาะเกี่ยวในกามคุณทั้งห้า, พึงเว้นจากเชือกตมกล่าวคือกาม ;
ทุททิฏฐิยา นะ ยุชเชยยัง สังยุชเชยยัง สุทิฏฐิยา, ปาเป มิตเต นะ เสเวยยัง เสเวยยัง ปัณฑิเต สะทา,
ขอให้ข้าพเจ้าไม่พึงประกอบด้วยทิฏฐิชั่ว, พึ่งประกอบด้วยทิฏฐิที่ดีงาม, ไม่พึงคบมิตรชั่ว, พึ่งคบแต่บัณฑิตทุกเมื่อ ;
สัทธาสะติติโรตตัปปา- ตาปักขันติคุณากะโร, อัปปะสัยโห วะ สัตตูชิ เหยยัง อะมันทะมุยหะโก,
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ, คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ ความเพียร และขันติ, พึงเป็นผู้ที่ศัตรูครอบงําไม่ได้, ไม่เป็นคนเขลา คนหลงงมงาย ;
สัพพายาปายุปาเยสุ เฉโก ธัมมัตถะโกวิโท, เญยเย วัตสัตวะสัชชัง เม ญาณัง อะเมวะ มาลุโต,
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งความเสื่อม และความ เจริญ, เป็นผู้เฉียบแหลมในอรรถและธรรม, ขอให้ญาณของ ข้าพเจ้าเป็นไปไม่ข้องขัดในธรรมที่ควรรู้, ดุจลมพัดไปในอากาศฉะนั้น ;
ยา กาจิ กุสะลา มะยา สา สุเขนะ สิชฌะตัง สะทา, เอวัง วุตตา คุณา สัพเพ โหนตุ มัยหัง ภะเว ภะเว,
ความปรารถนาใด ๆ ของข้าพเจ้าที่เป็นกุศล, ขอให้สําเร็จ โดยง่ายทุกเมื่อ, คุณที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วทั้งปวงนี้, จงมีแก่ข้าพเจ้าทุก ๆ ภพ ;
ยะทา อุปปัชชะติ โลเก สัมพุทโธ โมกขะเทสะโก, ตะทา มุตโต กุกัมเมหิ ลัทโธกาโส ภะเวยยะหัง,
เมื่อใด, พระสัมพุทธเจ้าผู้แสดงธรรมเครื่องพันทุกข์เกิดขึ้นแล้ว ในโลก, เมื่อนั้น, ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากกรรมอันชั่วช้าทั้งหลายเป็นผู้ได้โอกาสแห่งการบรรลุธรรม ;
มะนุสสัตตัญจะ ลิงคัญจะ ปัพพัชชัญจุปะสัมปะทัง ละภิต๎วา เปสะโล สีลี ธาเรยยัง สัตถุสาสะนัง,
ขอให้ข้าพเจ้าจึงได้ความเป็นมนุษย์, ได้เพศบริสุทธิ์ ได้บรรพชา อุปสมบทแล้ว, เป็นคนรักศีล, มีศีล, ทรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระศาสดา ;
สุขาปะฏิปะโท ขิปปา- ภิญโญ สัจฉิกะเรยยะหัง, อะระหัตตัปผะลัง อัคคัง วิชชาทิคุณะลังกะตัง,
ขอให้เป็นผู้มีการปฏิบัติโดยสะดวก, ตรัสรู้ได้พลัน, กระทํา ให้แจ้งซึ่งอรหัตผลอันเลิศ, อันประกอบด้วยธรรม มีวิชชาเป็นต้น ;
ยะทิ นุปปัชชะติ พุทโธ กัมมัง ปะริปูรัญจะ เม. เอวัง สันเต ละเภยยาหัง ปัจเจกะโพธิมุตตะมันติ.
ถ้าหากพระพุทธเจ้าไม่บังเกิดขึ้น แต่กุศลกรรมของข้าพเจ้า เต็มเปี่ยมแล้ว, เมื่อเป็นเช่นนั้น, ขอให้ข้าพเจ้าจึงได้ญาณ เป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุดเทอญ.
ปัตติทานคาถา
บทนี้ใช้สวดเพื่ออุทิศบุญกุศลให้สรรพสัตว์มีส่วนได้ทั่วกัน
(นำ) (หันทะ มะยัง ปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงสวดคาถาแผ่ส่วนบุญกันเถิด)
(รับ) ยา เทวะตา สันติ วิหาระวาสินี, ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง,
เทพยดาทั้งหลายเหล่าใด, มีปกติอยู่ในวิหาร สิงสถิตที่เรือนพระสถูป ที่เรือนโพธิ์ ในที่นั้น ๆ ;
ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา, โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระมัณฑะเล,
เทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น, เป็นผู้อันเราทั้งหลายบูชาแล้วด้วยธรรมทาน, ขอจงทําซึ่งความสวัสดี ความเจริญในมณฑลวิหารนี้ ;
เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว, สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา,
พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระก็ดี, ที่เป็นปานกลางก็ดี, ที่เป็น ผู้บวชใหม่ก็ดี, อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นทานาธิบดีก็ดี, พร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี ;
คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา, สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต,
ชนทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นชาวบ้านก็ดี, ที่เป็นชาวต่างประเทศก็ดี, ที่เป็นชาวนิคมก็ดี, ที่เป็นอิสระเป็นใหญ่ก็ดี, ขอชนทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้มีสุขเถิด ;
ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา, สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา,
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นชลาพุชะกําเนิดก็ดี, ที่เป็นอัณฑชะกําเนิดก็ดี, ที่เป็นสังเสทชะกําเนิดก็ดี, ที่เป็นโอปปาติกะกําเนิดก็ดี ;
นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต, สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง,
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐ เป็นนิยานิกธรรม, ประกอบในอันนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากสังสารทุกข์, จงกระทําซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด ;
ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา,
ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายจงตั้งอยู่นาน, ขอบุคคลทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม จงดํารงอยู่นาน ;
สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ อัตถายะ จะ หิตายะ จะ,
ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน, ในอันทําซึ่งประโยชน์และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด ;
อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโน,
ขอพระธรรมจงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลาย, แล้วจงรักษาไว้ซึ่งบุคคลผู้ประพฤติซึ่งธรรมแม้ทั้งปวง ;
วุฑฒิง สัมปาปูเณยยามะ ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต,
ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อมซึ่งความเจริญในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศไว้แล้ว ;
ปะสันนา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน พุทธะสาสะเน,
ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, จงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ;
สัมมา ธารัง ปะเวจฉันโต กาเล เทโว ปะวัสสะตุ,
ขอฝนทั้งหลายจงหลั่งลงตกต้องตามฤดูกาล ;
วุฑฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง,
ขอฝนจงนําความสําเร็จมาสู่พื้นปฐพี, เพื่อความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย ;
มาตา ปิตา จะ อัต๎ระชัง นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง,
มารดาและบิดา ย่อมรักษาบุตร ที่เกิดในตนเป็นนิจ ฉันใด ;
เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน ปะชัง รักขันตุ สัพพะทา.
ขอพระราชาจงปกครองประชาชน, โดยชอบธรรมในกาลทุกเมื่อ ฉันนั้น ตลอดกาลเทอญ.